Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เห็นได้ชัดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้ทวีคูณความรุนแรงขึ้น “ยุคโลกร้อนสิ้นสุดลงแล้ว และยุคโลกเดือดมาถึงแล้ว (Era of Global Boiling)” คำแถลงของเลขาธิการสหประชาชาติ โดยมีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นของมนุษย์ที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลายภาคส่วนเริ่มตระหนักถึงผลกระทบและพร้อมสนับสนุนการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ หนึ่งในนั้นคือ ธนาคารกสิกรไทย ที่มีบทบาทสำคัญและรู้ดีว่าการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่สำคัญ จึงจัดงาน “EARTH JUMP 2024 : The Edge of Action” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่รวมผู้นำองค์กรชั้นนำระดับโลกและไทยกว่า 40 ท่านร่วมให้ความรู้ในทุกมิติและแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อเตรียมภาคธุรกิจไทยให้พร้อมรับมือและปรับตัวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน

ภาคการเงิน เครื่องยนต์สำคัญผลักดันเศรษฐกิจยั่งยืน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษในงาน EARTH JUMP 2024: The Edge of Action โดยกล่าวถึงทิศทางของประเทศในเรื่องการแก้ปัญหาโลกร้อนว่า รัฐบาลให้ความสำคัญและพูดถึงปัญหาโลกร้อนมาโดยตลอด เพราะจากการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเชิญชวนให้นักลงทุนทั่วโลกมาลงทุนในประเทศไทยมักจะพบ 3 เรื่องแรกที่นักลงทุนถามถึงเสมอคือ สิทธิประโยชน์จากการการลงทุน, ความเป็นกลางทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงการให้บริการพลังงานสะอาด 

โดยปัจจุบันภาครัฐได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนศึกษาการใช้พลังงานทางเลือกในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น และขอให้มั่นใจว่าประเทศไทยมีแหล่งผลิตเพียงพอที่จะสร้างพลังงานสะอาด

นอกจากนี้ ปัญหาอากาศสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญ รัฐบาลพยายามให้ความรู้และสนับสนุนประชาชนในเรื่องการทำการเกษตรที่ลดมลภาวะให้ได้มากที่สุด รวมถึงการศึกษาและพัฒนาในอนาคตอย่างการพัฒนาสายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงเชิงเศรษฐกิจให้มีการปล่อยก๊าซมีเทนในระดับที่ต่ำลง

ซึ่งภาคการเงินเป็นภาคส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นได้ ธนาคารกสิกรไทยได้มีการสนับสนุนทางการเงินด้านพลังงานสะอาดมานานและต่อเนื่องนับเป็นสิ่งที่ดี รวมถึงรัฐบาลก็มีการออก Sustainability-Linked Bond เพื่อเป็นอีกหนึ่งแหล่งเงินทุนที่จะพัฒนาสังคมโลกเขียว ร่วมกันผลักดันให้องค์กรและภาคธุรกิจสร้างความยั่งยืนต่อไป

“ปัจจุบันบริษัทขนาดใหญ่มีความตระหนักถึงเรื่องนี้ดี แต่ความน่าเป็นห่วงอยู่ที่ Supply Chain ถ้าไม่ทำให้กลุ่มนี้ตระหนักถึงเรื่องนี้เหมือนกันได้ สินค้าที่ผลิตออกไปขายต่างประเทศก็จะถูกปฏิเสธเช่นกัน นับเป็นความท้าทายอีกด้านหนึ่ง ดังนั้น การปล่อยสินเชื่อสีเขียว รวมถึงการระดมทุนด้านตลาดทุนจึงมีความสำคัญที่ช่วยเร่งให้ธุรกิจปรับตัวได้ทัน เพราะเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

KBank เดินหน้าสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank กล่าวเปิดงานว่า เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีของการเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคการเปลี่ยนผ่านนี้ เห็นได้จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายประเทศมีการเติบโตที่ดี ซึ่งสวนทางกับอัตราการปลดปล่อยมลภาวะคาร์บอนที่ต่ำใน 4 ประเทศที่มีความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างอังกฤษ สหรัฐฯ เยอรมัน และฝรั่งเศส

ขณะเดียวกันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราการปล่อยมลภาวะคาร์บอนและมีแนวโน้มที่จะสวนทางกันอย่างเช่นประเทศอื่นๆ

สะท้อนให้เห็นว่ามีการตระหนักถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการปรับตัว และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ประกอบกับศักยภาพด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นเรื่องดีที่ทุกภาคส่วนเริ่มให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมชัดเจน การจะนำพาประเทศก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำได้ เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน

ในฐานะที่ KBank เป็นสถาบันการเงิน ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่ Net Zero ได้ทำงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายใน Ecosystem อาทิ การทำงานร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. เพื่อพัฒนาระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิตและการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต มีการทำงานร่วมกับ Startup และ SME ด้านพลังงานสะอาด อีกทั้งร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Declaration) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

พร้อมทั้งสนับสนุน 3 แนวคิดที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย

  1. What are good at? เราเก่งอะไร?
  2. What work need doing? เราต้องทำอะไรเพิ่ม?
  3. What bring you joy? เราสนุกกับการทำอะไร?

“การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (Climate Action) ต้องอาศัย 3 แนวคิดร่วมกัน เราเก่งอะไร เราต้องทำอะไรเพิ่ม และเราสนุกกับการทำอะไร เพราะเรื่องนี้ไม่ได้ทำสำเร็จโดยง่าย มีการเดินทางระยะยาวพอสมควร และต้องทำไปเรียนรู้ไป”นอกจากนี้ KBank และบริษัทในเครือมีเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การเป็น Net Zero สำหรับการดำเนินการขององค์กรภายในปี 2573 โดยตั้งเป้าสนับสนุนสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนอย่างน้อย 2 แสนล้านบาทภายในปี 2573 ซึ่งปัจจุบันมียอดสะสมรวม 73,397 ล้านบาท และคาดว่าจะมียอดสะสมรวมเป็น 1 แสนล้านบาท ภายในปี 2567 นี้ พร้อมทั้งสนับสนุนองค์ความรู้และเครื่องมือให้แก่ลูกค้า เพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและเป็นส่วนหนึ่งในการพาประเทศไทยสู่ Net Zero

เปิดแนวคิดองค์กรใหญ่ เพิ่มโอกาสก้าวข้ามขีดความสามารถไทย

นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของ ปตท. คือการให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนเป็นหลัก มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เติบโตควบคู่ไปกับสังคมไทยภายใต้กติกาใหม่ของโลก

ปตท. กำหนด 3 แนวทางการดำเนินงานสำคัญ เพื่อเอื้ออำนวยให้ประเทศไทยมีความสามารถในการลดการปล่อยคาร์บอน และเดินทางไปสู่ Net Zero ร่วมกันได้ ดังนี้

  1. Portfolio Transformation การปรับธุรกิจให้ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำลง โดยมองหาโอกาสทางธุรกิจที่มีคาร์บอนต่ำเสมอ
  2. Efficiency Clean Energy การปรับกระบวนการการดำเนินงาน เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดและนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน
  3. CCS Hydrogen Offsetting ปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุน Net Zero ทั้งอุตสาหกรรมในประเทศไทย ผ่านการใช้เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (CCS) และการสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดจากไฮโดรเจน นับเป็นเรื่องที่สำคัญที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้น

“ทั้ง 3 องค์ประกอบเป็นบริบทที่สำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนให้ประเทศมีความพร้อมและความสามารถในการแข่งขันในยุคการเปลี่ยนผ่านนี้”

ในขณะเดียวกัน พลังงานสะอาดก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ โดย นายนพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Reforming Thai Electricity Towards Power Market ว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่พลังงานสะอาดนั้น ต้องประกอบด้วย 3 เรื่องสำคัญหลัก ได้แก่

  1. Security การเปลี่ยนผ่านพลังงานยังคงมุ่งเน้นให้เกิดความสม่ำเสมอและมีเสถียรภาพของพลังงานไฟฟ้า
  2. Sustainability การพัฒนาพลังงานทดแทนเข้ามาเสริมในระบบไฟฟ้า จะช่วยตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero
  3. Affordability การพัฒนากระบวนการของระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความพร้อมและมีราคาที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

“สิ่งที่ BGRIM มุ่งเน้นเสมอคือการทำอย่างไรให้ตอบโจทย์สังคม ประเทศ และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเห็นได้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมให้มีพลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell เพื่อรองรับความต้องการพลังงานทดแทน โดยแผนในอีก 10 ปีข้างหน้า เราตั้งเป้าที่จะสร้างพลังงานทดแทน 10,000 เมกกะวัตต์ และพร้อมพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเปิดเสรีการซื้อขายไฟฟ้าจากพื้นที่ Sand Box ในนิคมอุตสาหกรรม ไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศต่อไป”

ด้าน นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานนี้จะมีประสิทธิภาพเมื่อมีราคาที่แข่งขันได้และทำให้ทุกภาคส่วน Win-Win

ประเด็นสำคัญของภาคพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน คือประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิม (Conventional Energy) สูงกว่าความต้องการใช้และมีเงื่อนไขสัญญาระยะยาว การที่จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนจะยิ่งทำให้มีพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นตาม

Solution ที่จะเข้ามาแก้ปัญหานี้คือการเพิ่มความต้องการใช้ให้มากกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ หากเปลี่ยนระบบการขนส่งของประเทศไทยไปสู่การใช้ไฟฟ้าทั้งหมดได้ จะทำให้เกิด Demand เพิ่มอีกกว่า 40,000 เมกกะวัตต์ ซึ่งจะเกินกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ตอนนี้ ทำให้มีพื้นที่เหลือที่จะขยายโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเติมได้

“ถ้าเราเพิ่มความต้องการใช้ไฟฟ้าให้มากกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันได้ และมีนโยบายภาครัฐเข้ามาสนับสนุนเพิ่มเติม ก็จะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่จะทำให้ประเทศเดินไปสู่เป้าหมาย Net Zero ตามที่ตั้งไว้”

ความท้าทายที่ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นายยุทธนา เจียมตระการ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อมหอการค้าไทย กล่าวว่า ความท้าทายของ SMEs ในยุคการเปลี่ยนผ่านความยั่งยืนนี้สืบเนื่องมาจากบริบทของ SMEs ที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนในระดับที่ต่ำอยู่แล้ว ทำให้ได้รับผลกระทบจากกติกาโลกในช่วงหลังๆ ซึ่งนับเป็นดาบสองคม หอการค้าไทยได้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากสมาชิก ทำให้พบว่า SMEs มี 4 ความท้าทายหลัก ดังนี้

  1. SMEs ยังขาดความตระหนักในเรื่องของความยั่งยืน มีเพียง 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดที่เคยได้ยินเรื่องนี้ และมีคำถามต่อว่าควรทำอย่างไรต่อไป
  2. บุคลากรมีอย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องของความยั่งยืนที่มีความซับซ้อนและต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นที่จำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีความชำนาญและดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
  3. การลงทุนในความยั่งยืนยังได้รับผลตอบแทนที่ต่ำ ในขณะที่ SMEs มีทรัพยากรทางการเงินอย่างจำกัด
  4. ขาดความเข้าใจในการนำเครื่องมือ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนการเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ

ทั้งนี้ หอการค้าไทยทราบถึงความท้าทายของภาค SMEs เป็นอย่างดี จึงได้จัดตั้งสถาบันวิทยาการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค (CE Academy) ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มุ่งเน้นการเป็นแหล่งสร้างเสริมองค์ความรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรม และยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของสมาชิกภายใต้แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

ด้าน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ของยุคการเปลี่ยนผ่าน นับเป็นความท้าทายอย่างมากภายใต้กติกาใหม่ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกติกาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลัก และมีสัดส่วนกว่า 60% ของ GDP การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อเข้าสู่กติกาใหม่เป็นสิ่งที่นอกเหนือจากการปรับตัวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในอดีต

ส.อ.ท. จึงมีนโยบายสำคัญคือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทยให้มีความเข้มแข็งขึ้น โดยจัดตั้งสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ Climate Change Includes (CCI) ควบคู่ไปกับการเดินหน้าปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของไทย 

CCI มีหน้าที่ในการให้ความรู้และส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ มีการจัดทำแพลตฟอร์มซื้อขายคาร์บอนเครดิต ชื่อว่า FTIX เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถชดเชยทางคาร์บอนเพื่อทำการส่งออกต่อไป

ในขณะเดียวกัน ส.อ.ท. อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของไทย โดยจะมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนไปสู่ 12 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (S-Curve) ที่เรียกว่า Next Gen Industries ขับเคลื่อนด้วย BCG Model และ Climate Change พร้อมทั้งเร่งยกระดับภาค SMEs ไปสู่ Smart SMEs ที่มีศักยภาพในด้าน Go Digital, Go Innovation, Go Global และ Go Green

“ส.อ.ท. ให้ความสำคัญในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน เมื่ออุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของประเทศยังคงพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ไม่ปรับตัวไม่ได้ เราต้องปรับเปลี่ยนให้ดีที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมในการดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนจากอุตสาหกรรมใหม่ๆ ภายใต้กติกาใหม่ของโลก”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า