SHARE

คัดลอกแล้ว

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมียนมา เมื่อวันที่ 28 มี.. 2568 อาจเป็นประสบการณ์สัมผัสกับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งแรกในชีวิตของคนไทยหลายๆ คน แต่อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ตามมาจากเหตุการณ์ในวันนั้น คือการย้ำเตือนให้ต้องเปลี่ยนต้องเปลี่ยนความคิดว่าแผ่นดินไหว ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา หากสังเกตดีๆ จะเห็นคำว่าแผ่นดินไหวปรากฏขึ้นมาทั้งในรายงานของสื่อหลัก และถูกพูดถึงในโซเซียลมีเดียเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้จะเป็นเรื่องดีที่แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยเริ่มมีความตระหนักต่อภัยธรรมชาติมากขึ้น ในทางกลับกัน บทสนทนาต่างๆ เกี่ยวกับแผ่นดินไหวในโลกออนไลน์ก็อาจยิ่งเป็นการตอกย้ำความรู้สึกตื่นเต้นกังวลที่ยังไม่เลือนหาย

แต่เมื่อเราหลีกหนีจากภัยธรรมชาติไม่ได้ การเรียนรู้และทำความเข้าใจปรากฏการณ์นี้ อาจช่วยให้ความกังวลลดน้อยลง ในวันครบ 1 เดือน แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเมียนมาสะเทือนถึงประเทศไทย สำนักข่าวทูเดย์ขอเป็นอีกหนึ่งสื่อกลาง พาไปทำความเข้าใจปรากฏการณ์แผ่นดินไหว พร้อมตอบทุกคำถามที่หลายคนอยากรู้

แผ่นดินไหวเกิดประจำทุกวัน สักที่ในโลก

แม้แผ่นดินไหวเมื่อเดือนที่แล้วจะเป็นครั้งแรกที่คนไทยหลายๆรับรู้แรงสั่นสะเทือนด้วยตัวเองแต่จริงๆแล้วแผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดเป็นประจำทุกวันในพื้นที่ต่างๆทั่วโลกเพียงแต่หากเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กแรงสั่นเทือนอาจจะไม่มากจนทำให้มนุษย์สัมผัสได้

สาเหตุของแผ่นดินไหวเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรืออาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่นการทดลองระเบิดปรมาณูหรือการระเบิดเหมืองแร่อย่างรุนแรง

แต่ที่เราจะอธิบายวันนี้ คือแผ่นดินไหวตามธรรมชาติ ดังที่เกิดกับเมียนมาเมื่อเดือนที่ผ่านมา สาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในลักษณะนี้ เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก

โลกที่เราอาศัยอยู่กันทุกวันนี้ ประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกหลายๆ แผ่นปะติดปะต่อกัน คล้ายจิ๊กซอ โดยมีแผ่นเปลือกโลกหลักๆ ประกอบด้วย แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate), แผ่นอเมริกาเหนือ (North American Plate), แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate), แผ่นอินเดียออสเตรเลีย (Indian-Australian Plate), แผ่นแอฟริกา (African Plate), แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctica Plate) และแผ่นอาหรับ (Arabian Plate)

แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ที่เป็นที่ตั้งของประเทศหรือทวีปต่างๆบางประเทศอาจจะตั้งอยู่ในแผ่นเปลือกโลกแผ่นเดียวอย่างประเทศไทยอยู่ในแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียหรือบางประเทศก็อาจจะอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกพอดีเช่นจีนอินโดนีเซียตุรกีอินเดียญี่ปุ่นซึ่งจะสังเกตได้ว่าประเทศเหล่านี้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเพราะเปลือกโลกจะมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลาพอมีการขยับตัวแรงๆบริเวณรอยต่อก็ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นแผ่นดินไหวขึ้นมา

ทำไมประเทศไทยถึงมีแผ่นดินไหว

แม้ประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกมองว่าโชคดีมากๆ เพราะไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก จึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวน้อยมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเลย เพราะในแผ่นเปลือกแต่ละแผ่น ก็ยังมีรอยร้าวเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วทั้งแผ่น

ซึ่งบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศ ก็มีรอยร้าวของแผ่นเปลือกโลกพาดผ่านอยู่ รอยร้าวที่ว่านี้ หรือที่เรียกว่ารอยเลื่อนก็ยังแบ่งออกเป็น รอยเลื่อนที่ไม่มีพลัง คืออยู่นิ่งๆไม่เคลื่อนไหวมานานมากเป็นหมื่นๆ ปีแล้ว กับรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง หรือคือรอยเลื่อนที่ยังมีการเคลื่อนไหว สะสมพลังงานอยู่ ซึ่งในไทยมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่ 16 รอยเลื่อนที่ยังคงมีการเคลื่อนไหวเพียงแต่อาจจไม่ใช่การเคลื่อนตัวแบบแรงๆอย่างการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกเลยทำให้ไม่ได้มีการสั่นสะเทือนรุนแรงมาก

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.. เป็นเพราะเกิดการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกายซึ่งเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนที่ยังทีพลังและมีขนาดใหญ่ที่สุดที่พาดผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าจะรอยเลื่อนนี้จะไม่ได้พาดผ่านประเทศไทยโดยตรงแต่ก็ไม่ได้อยู่ไกลจากประเทศไทยมากนักเมื่อมีการเคลื่อนที่อยากรุนแรงจึงส่งผลให้แรงสั่นสะเทือนส่งมาถึงประเทศไทยด้วย

รอยเลื่อนในไทยน่ากลัวแค่ไหน

แต่ถึงแม้ว่ารอยเลื่อนในประเทศไทยจะเป็นรอยเลื่อนเล็กๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าไทยไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวเลยซะทีเดียว เพราะต้องไม่ลืมว่า ไทยเองก็มีรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่ถึง 16 รอยเลื่อน พาดผ่านพื้นที่ 23 จังหวัดได้แก่

รอยเลื่อนแม่จันเชียงราย, เชียงใหม่

รอยเลื่อนแม่อิงเชียงราย

รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนแม่ฮ่องสอน, ตาก

รอยเลื่อนเมยตาก, กำแพงเพชร

รอยเลื่อนแม่ทาเชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย

รอยเลื่อนเถินลำปาง, แพร่

รอยเลื่อนพะเยาพะเยา, เชียงราย, ลำปาง

รอยเลื่อนปัวน่าน

รอยเลื่อนอุตรดิตถ์อุตรดิตถ์

รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์กาญจนบุรี

รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์กาญจนบุรี, อุทัยธานี, สุพรรณบุรี

รอยเลื่อนระนองระนอง, ชุมพร, ประจวบฯ, พังงา

รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยสุราษฎร์ฯ, กระบี่, พังงา, ภูเก็ต

รอยเลื่อนเพชรบูรณ์เพชรบูรณ์, เลย

รอยเลื่อนแม่ลาวเชียงราย

รอยเลื่อนเวียงแหงเชียงใหม่

รอยเลื่อนเหล่านี้ล้วนแต่สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคตเพียงแต่มีการประเมินว่าโอกาสเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนเหล่านี้ยังน้อยอยู่

แผ่นดินไหว พยากรณ์ล่วงหน้าไม่ได้

ถึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวน้อยมากในประเทศไทยแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะชะล่าใจกันได้อย่างเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วแสดงให้เห็นว่าต่อให้แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนที่อยู่ในประเทศไทยแต่ไทยก็ยังมีโอกาสได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศเพื่อนบ้านด้วยเหมือนกัน

ที่สำคัญคือ แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ที่ไหน เวลาใด แต่สิ่งที่ทำให้ล่วงหน้าก็คือการเตรียมพร้อมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหวที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น การเตรียมการระบบเตือนภัย ออกแบบก่อสร้างอาคารให้ทนทานต่อแผ่นดินไหว และที่สำคัญคือการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว 

วิธีการเหล่านี้อาจช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวให้น้อยลงได้ เช่นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ อย่างที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นประจำ จึงมีการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า ให้สามารถเตือนภัยประชาชนได้ก่อนเกิดแผ่นดินไหว แม้จะเป็นการเตือนภัยได้ล่วงหน้าแค่ในเวลาสั้นๆ เป็นหลักวินาที แต่หลายครั้งระบบเตือนภัยก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ช่วยลดความเสียหายได้จริง

สังเกตุแผ่นดินไหวได้จากพฤติกรรมสัตว์

แม้แผ่นดินไหวจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไม่มีสัญญาณเตือนแต่การสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวรวมถึงพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆก็อาจช่วยบอกเหตุเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ซึ่งตอนนี้มีหลายประเทศกำลังทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง

โดยปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อาจสังเกตได้ก่อนเกิดแผ่นไหวอย่างเช่นอยู่ดีๆพื้นดินอาจจะยกตัวหรือยุบตัวขึ้นมาอย่างผิดปกติระดับน้ำในทะเลหรือในแหล่งน้ำธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงหรือพฤติกรรมที่แปลกไปของสัตว์ต่างๆเช่นสุนัขแมวแสดงอาการกระวนกระวายมีท่าทางผิดปกติไปหรือนกบินไปมาในทิศทางที่ดูแปลกๆ

ผ่านมา 1 เดือนเต็ม หลายคนอาจยังตระหนกกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.. 2568 แต่เรื่องสำคัญที่ต้องไม่ลืมคือการเรียนรู้จากอดีตที่ผ่านไปแล้วเพื่อเตรียมรับมือในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า