SHARE

คัดลอกแล้ว

#Saveน้องกินขี้เลื่อย ขึ้นเทรนด์ทวิต หลังมีคลิปรุ่นพี่บังคับรุ่นน้องกินขี้เลื่อย เหตุเกิดที่โรงเรียนแห่งหนึ่งย่านฝั่งธน โดยในคลิปรุ่นพี่สั่งให้กินและบอกให้จินตนาการเป็นขนม รุ่นน้องก็กินทั้งน้ำตา กินน้ำตามเพราะกลืนไม่ลง จนมีกระแสในโลกออนไลน์

ด้านคนโพสต์คลิปแย้งว่า ขี้เลื่อยกินได้ ปลวกกินได้ คนก็ต้องกินได้ แค่นี้กินไม่ได้จะเป็นคนดีในสังคมได้อย่างไร ? จึงทำให้กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ซึ่งหลังเป็นกระแส รุ่นพี่จึงไลฟ์ชี้แจงในเฟซบุ๊กว่า รุ่นน้องคนดังกล่าวเอาหนูแฮมเตอร์มาเลี้ยง ระหว่างไปเข้าค่าย 5 วัน แล้วห้องเหม็น เลอะเทอะเต็มห้อง จึงลงโทษให้กินขี้เลื่อยเพราะไม่ทำตามสัญญา แต่สุดท้ายน้องไปบ้วนทิ้งหลังจากจบคลิป

ผศ.ดร.สมบัติ​ ตาปัญญา​ นักจิตวิทยาคลินิก​ และนักวิชาการด้านคุ้มครองเด็ก​​ เผยงานวิจัยว่ามีเด็กถูกรังแกในโรงเรียนถึง 40% เพราะวัฒนธรรมรุ่นพี่-รุ่นน้องที่ทำตามกันมา “อันนี้ก็เป็นวัฒนธรรมที่เขาเรียกว่าปฏิบัติตามๆ กัน โดยมีความรู้สึกว่าเป็นสิทธิถูกต้องชอบธรรมที่จะทำแบบนี้ การที่เด็กเหล่านี้ทำแบบนี้แล้วก็สนุก เพราะว่าเขาไม่รู้สึกเดือดร้อนหรือเป็นทุกข์ไปกับคนที่เขาทำ มันไม่สัมผัสถึงความทุกข์ของคนอื่น มันขาดตรงนี้ไป ก็อับอาย มีความกลัว มีความกังวลแล้วก็อาจจะฝังใจไปตลอดชีวิต ความทรงจำแบบนี้บางทีเขาเรียกการเกิดบาดแผลทางใจ มันจะไม่ลืมนะครับ กรณีที่ว่าเราสำรวจเรื่องการรังแกกัน มักจะเกิดขึ้นที่ไหน มันจะเกิดขึ้นเวลาที่ผู้ใหญ่ไม่ดูแล ที่เป็นแบบนี้สมมติว่าในหอพัก ครูอยู่ที่ไหน ปล่อยเด็กให้อยู่ตามลำพังใช่ไหม สิ่งที่เราควรจะทำก็คือ เราต้องดูแลเด็กด้วยความรักความอบอุ่น ใกล้ชิด ไม่ทำร้ายเขา ไม่ทำตัวอย่างให้เขาเห็น โรงเรียนก็ควรมีมาตรการดูแลให้รัดกุม”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า