Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมพร้อมห้องปฏิบัติการ ‘ตรวจเชื้อไวรัสอีโบลา’ แม้องค์การอนามัยโลก ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีที่องค์การอนามัยโลก เปิดเผยข้อมูลการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศยูกันดาว่า การระบาดในครั้งนี้ ถึงแม้จำนวนผู้ป่วยยังไม่มากแต่เป็นที่จับตาอย่างใกล้ชิด โดยมีการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมการระบาดในประเทศยูกันดาอย่างเข้มข้น ซึ่งองค์การอนามัยโลก ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) 

สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้ยกระดับมาตรการป้องกันที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยดำเนินการตรวจคัดกรองผู้เดินทางมาจากประเทศยูกันดาทุกรายจะต้องได้รับการคัดกรองสุขภาพ และลงทะเบียน ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศก่อนเข้าประเทศไทย

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่าในส่วนของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของประเทศด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข มีหน้าที่ยืนยันสาเหตุและสถานการณ์ของโรคที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและเตรียมความพร้อมการตรวจวิเคราะห์เชื้ออีโบลาทางห้องปฏิบัติการ ด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยา ที่มีความไวและความจำเพาะสูง สามารถทราบผลภายใน 8 ชั่วโมง ช่วยให้การควบคุมโรคและการรักษาผู้ป่วยได้ทันเวลา มีห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 สำหรับการปฏิบัติงานกับเชื้อ           ที่ก่อให้เกิดโรคที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตที่ออกแบบพิเศษ ทำให้ความดันภายในห้องปฏิบัติการน้อยกว่าความดันภายนอก กรองอากาศเข้า-ออก เน้นการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไม่ให้หลุดออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก บุคลากรมีความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 ผ่านการฝึกอบรมความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ และมีความชำนาญในการตรวจวิเคราะห์เป็นอย่างดี รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการขนส่งตัวอย่างตรวจได้ผ่านการฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัย มีการสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ และสามารถทำลายเชื้อหากเกิดการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง 

“นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดทำคู่มือการตรวจวิเคราะห์และจัดการสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้ออีโบลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการอ้างอิงใช้เป็นคู่มือในการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ เนื้อหามีทั้งวิธีการตรวจวิเคราะห์และรายการทดสอบของงานประจำห้องปฏิบัติการโรงพยาบาล วิธีการเก็บ วิธีการนำส่งตัวอย่าง และการวิเคราะห์เชื้ออีโบลาสำหรับห้องปฏิบัติการอ้างอิง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อห้องปฏิบัติการโรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการอ้างอิงและบุคคลากรสาธารณสุขที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะนำไปปฏิบัติ โดยสามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ http://nih.dmsc.moph.go.th/login/filedata/ebola_prove_manual.pdf” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า