SHARE

คัดลอกแล้ว

ปลัดกระทรวงการคลัง ชี้แจงนายกฯ ระบุมีเงินจ่ายเยียวยาประชาชนพอ 1 เดือน เป็นการพูดตามข้อเท็จจริง เพราะเดือนต่อๆ ไป ต้องใช้เงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ ที่รัฐบาลจะออก “พันธบัตรรัฐบาล” ยืนยันมีเงินจ่ายผู้มีสิทธิ์ 9 ล้านคนได้แน่นอน ย้ำ 20 เม.ย. ประชาชนที่ตกหล่นขอให้ยื่นทบทวนสิทธิ์ ผ่านเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน”

นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยในรายการ Workpoint Today เมื่อวันที่ 15 เมษายนเรื่องการจ่ายเงินรายเดือน เดือนละ 5,000 บาท เพื่อเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 หลังนายกรัฐมนตรีแถลง ว่า ในการที่รัฐบาลมี นโยบายเยียวยาประชาชนเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เงินของงบกลางในปีงบประมาณ 2563 สามารถจ่ายได้ 1 เดือน แต่เมื่อจ่ายแล้วการจะใช้เงินกู้ จากการออก พ.ร.ก.เงินกู้ ต้องใช้เงินงบประมาณให้หมดก่อน แม้แต่การปรับเปลี่ยนงบมาเป็นงบกลางเพื่อใช้ดูแลประชาชนในกรณีวิกฤติเช่นนี้ เมื่อใช้แล้วจึงจะใช้เงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ต่อไป

ซึ่ง พ.ร.ก.เงินกู้ อยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ และการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นจึงจะหาเงินกู้เพื่อนำมาจ่ายเยียวยาประชาชนในเดือนที่ 2 และเดือนที่ 3 ต่อไปยืนยันมีเงินเพียงพอจ่ายประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ทั้งหมด 9 ล้านคน โดยจาก พ.ร.ก.กู้เงิน รัฐบาลต้องไปหาเงินกู้มาอาจเป็นวิธีออกพันธบัตรรัฐบาล โดยจะดำเนินการได้ทันทีที่ พ.ร.ก.เงินกู้ลงราชกิจจานุเบกษาไม่เกินต้นเดือนพฤษภาคม

“ท่านนายกฯ พูดในข้อเท็จจริงให้เราฟังแล้วท่านจะทำอะไรต่อ ซึ่งผมว่าท่านพูดชัดเจนในข้อเท็จจริงว่าเงินตอนนี้ของงบประมาณปี 2563 จะหมดแล้ว ต้องไปใช้ตาม พ.ร.ก.เงินกู้ ซึ่งท่านก็อธิบายชัดเจน ผมฟังก็ชัดเจน” ปลัดกระทรวงการคลังกล่าว

ปลัดกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า ประชาชนที่ได้เงินเยียวยา เดือนแรก 5,000 บาทแล้ว “ชัวร์ๆ ว่าได้ต่อเนื่องในเดือนที่ 2 และเดือนที่ 3” และถ้ากรณีประชาชนที่ตกหล่นก็จะได้รับย้อนหลังจนครบ 3 เดือน

ส่วนประชาชนที่ตกหล่นจากการพิจารณาของระบบจนทำให้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ได้รับเงินเดือนละ 5,000 บาทว่า ในวันจันทร์ที่ 20 เมษายน ให้ลงทะเบียนยื่น ทบทวนสิทธิ์ ได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com  สำหรับระบบคัดกรองประชาชนนั้นเห็นว่า เหมาะสมและละเอียด ซึ่งระบบนี้ไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน ที่ผ่านมาเราเคยแจกเงินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอาชีพอื่นไม่เคยแจก

ครม.เห็นชอบสำนักงบฯ ตัดงบปี 64 ทุกกระทรวง 25-50 %

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 เมษายน ได้เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณ เสนอปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 คือ

1.พิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณ ลดลงร้อยละ 25 ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา, การฝึกอบรม, การประชาสัมพันธ์, การจ้างที่ปรึกษา, ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในต่างประเทศ รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่อง เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าดำเนินกิจกรรม (อีเวนต์) ที่มีการจ้างผู้ดำเนินการ (ออแกไนซ์) หรือดำเนินการเอง

2.พิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณ ลดลงร้อยละ 50 ได้แก่ รายจ่ายลงทุน รายการปีเดียว ที่เป็นครุภัณฑ์ทดแทนหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สามารถชะลอได้

ตั้ง “10 ปลัด-ตัวแทน สตช.” ดูแลจ่ายเงินเยียวยา 5 พัน หลังเหตุปชช.ที่ตกหล่นบุกร้องเรียนคลัง

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงนาม คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 112/2563  แต่งตั้ง คณะกรรมการกำกับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีนายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะกรรมการฯ มีปลัด 9 กระทรวง , ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการ เพื่อกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินการมาตรการชดเชยรายได้ให้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส

(ชมคลิปสัมภาษณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง)

(คลิปนายกฯ แถลงเรื่องบเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท)

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า