Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในปี 2020 นี้ คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยจะมีมูลค่ากว่า 220,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอีกมาก แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมองดูโครงสร้างตลาดอีคอมเมิร์ซไทยตอนนี้ จะเห็นได้ว่าผู้เล่นรายใหญ่ที่ครองตลาดอยู่เป็นแพลตฟอร์มจากต่างชาติทั้งสิ้น ส่วนบริษัทไทยเองยังครองส่วนแบ่งตลาดได้ไม่มากนัก

ข้อมูลจากไพรซ์ซ่า (Priceza) ผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหาและเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ ได้เคยประเมินไว้ตั้งแต่เดือน พ.ค. ปีนี้ว่า ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซในประเทศไทยปีนี้ จะมีมูลค่ากว่า 220,000 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากปี 62 ถึงกว่า 35%  และให้เหตุผลว่าวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเป็นตัวผลักดันให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเติบโตเร็วขึ้น  อย่างไรก็ตาม ตัวเลข 220,000 ล้านบาทที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 3% ของตลาดค้าปลีกในไทยทั้งหมดเท่านั้น  นั่นหมายความว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยมีโอกาสเติบโตขึ้นได้อีกมากในอนาคต เพราะในตลาดประเทศอื่น เช่นจีน หรือเกาหลีใต้ ตลาดอีคอมเมิร์ซในตลาดค้าปลีกทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 20%

แต่เมื่อหันมาดูโครงสร้างการแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปัจจุบัน จะพบว่าผู้เล่นรายใหญ่ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอยู่ ล้วนเป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยทั้งสิ้น  โดยเจ้าที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้คือช้อปปี้ (Shopee) ซึ่งมีเจ้าของคือกลุ่ม Sea Group ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก  กลุ่ม Sea Group ยังมีความเกี่ยวข้องกับเทนเซ็นต์ (Tencent) บริษัเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนด้วย โดยเทนเซ็นต์เคยถือหุ้นของ Sea Group อยู่เกือบ 40%  ทั้งนี้ ปัจจุบันช้อปปี้ถือเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีผู้ใช้เฉลี่ยเดือนละกว่า 47.2 ล้านผู้ใช้

ในขณะที่ยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอย่างลาซาด้า (Lazada) ก็มีกลุ่มอาลีบาบา (Alibaba) จากจีนเป็นเจ้าของ โดยลาซาด้าเริ่มเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2555 และปัจจุบันถือเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในไทย โดยมีผู้ใช้เฉลี่ยเดือนละกว่า 35.2 ล้านผู้ใช้

ส่วนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ในไทยอีกเจ้าอย่างเจดี เซ็นทรัล (JD Central) ก็เกิดจากการร่วมทุนกันระหว่างกลุ่มเจดีดอทคอม (JD.com) จากจีน และกลุ่มเซ็นทรัลของประเทศไทย โดยทั้งคู่ได้ร่วมทุนกันเป็นมูลค่ากว่า 17,500 ล้านบาท ก่อตั้งแพลตฟอร์ม jd.co.th ขึ้น โดยเริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2561  อย่างไรก็ตาม ฐานผู้ใช้ของเจดี เซ็นทรัล ยังไม่ได้มากนัก โดยข้อมูลล่าสุดจาก ipricethailand ระบุว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของเจดี เซ็นทรัล มีผู้ใช้เฉลี่ยเพียงเดือนละ 2.9 ล้านผู้ใช้เท่านั้น ตามหลังเจ้าตลาดอย่างช้อปปี้และลาซาด้าอยู่นับสิบเท่า

ในขณะที่แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์อื่นๆ ของไทย ก็ยังมีฐานผู้ใช้ไม่ใหญ่นักเมื่อเทียบกับช้อปปี้หรือลาซาด้า เช่น Advice ที่มีผู้ใช้เฉลี่ยเดือนละ 2.5 ล้านราย, ShopAt24 ประมาณเดือนละ 1 ล้านราย, Tarad 7.2 แสนราย, Pomelo 6.7 แสนราย, Konvy 6 แสนราย และ We Love Shopping 1 แสนราย เป็นต้น

ดังนั้นจึงคงไม่ใช่การกล่าวเกินจริงไปนัก หากจะบอกว่าตอนนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยถูกครองโดยทุนจากต่างชาติ ที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย  อย่างไรก็ตาม ต้องขอให้ข้อมูลกับผู้อ่านไว้ตรงนี้ด้วยว่า แม้ว่าผู้นำตลาดอย่างช้อปปี้และลาซาด้าจะมีจำนวนผู้ใช้มากกว่าผู้เล่นเจ้าอื่นมาก แต่นับตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ 5 ปีและ 8 ปีที่แล้วตามลำดับ ทั้งคู่ยังไม่เคยทำกำไรจากตลาดอีคอมเมิร์ซไทยได้เลย  แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะถือเป็นกลยุทธ์ของธุรกิจแพลตฟอร์มเหล่านี้ ที่ถือปรัชญาโตก่อน ทำกำไรทีหลัง

อ้างอิงข้อมูล:
https://techsauce.co/news/priceza-thailand-e-commerce-market-2020
https://www.ft.com/content/eb264616-0eb1-4dc9-bfbe-5406f349a5fb
https://www.ft.com/content/109e7f6a-4ec9-11e9-9c76-bf4a0ce37d49
https://ipricethailand.com/insights/mapofecommerce/en/

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า