SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้างและเร็วกว่าระลอกแรก แต่คาดว่าผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่รุนแรงเท่า เนื่องจากภาครัฐใช้มาตรการควบคุมไวรัสเข้มข้นน้อยกว่า และภาคการส่งออกสินค้าของไทยยังขยายตัวได้ตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า

ผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและผลของมาตรการควบคุม COVID-19

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ เอาไว้ 3 กรณี ตามความเข้มข้นและผลของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด

กรณีที่ 1 ใช้มาตรการเข้มงวด ควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว (เหมือนระลอกแรก) คาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ 2 – 2.5% ของ GDP

กรณีที่ 2 ใช้มาตรการปานกลาง ควบคุมการระบาดได้ผล (คล้ายกับปัจจุบัน) คาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ 1 – 1.5% ของ GDP หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

กรณีที่ 3 ใช้มาตรการปานกลาง ควบคุมการระบาดไม่ได้ผล จนต้องใช้มาตรการเข้มงวด คาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ 3 – 4% ของ GDP ซึ่งหากสถานการณ์เป็นแบบที่ 3 นี้ เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบมากที่สุด

 

ในแต่ละสาขาธุรกิจ กลุ่มแรงงาน และพื้นที่ จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากน้อย แตกต่างกันมาก

พื้นที่สีแดง หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ รุนแรงที่สุด โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน 28 จังหวัดนี้ คิดเป็น 3 ใน 4 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งประเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการแต่ละประเภทในพื้นที่ต่างๆ พบว่า

ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่งผู้โดยสาร ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบคราวก่อน และยังถูกซ้ำเติมจาก COVID-19 ระลอกใหม่ เช่นเดียวกันกับธุรกิจค้าปลีก ที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่กลับมาเท่าเดิมก่อน COVID-19 แพร่ระบาด จึงน่ากังวลว่าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 เดือน ธุรกิจบริการและค้าปลีกอาจประสบปัญหาสภาพคล่องเพิ่มขึ้น และถ้าสถานการณ์ยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน

ขณะที่ภาคการผลิตและอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ แม้อาจมีโรงงานบางแห่งต้องหยุดผลิตชั่วคราวเนื่องจากพบผู้ติดเชื้อ แต่โดยรวมแล้วยอดคำสั่งซื้อและกระบวนการผลิตยังดำเนินไปตามปกติ สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริโภคอาจเยี่ยมชมโครงการลำบากขึ้น และการขอสินเชื่อจากธนาคารอาจเป็นไปด้วยความเข้มงวด

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจทั้ง 2 ประเภทนี้ (การผลิตและอสังหาริมทรัพย์) มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่พึ่งพาแรงงานข้ามชาติ

 

แรงงานประมาณ 4.7 ล้านคน เสี่ยงได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้รายได้ลดลง และจำนวนหนึ่งอาจตกงานเพิ่ม

แรงงานในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีแดง) และทำงานอยู่ในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรงด้วย เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ค้าปลีก และบริการอื่นๆ มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะเสมือนว่างงานหรือมีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ เนื่องจากถูกลดวันทำงาน มีงานจ้างน้อยลง ส่งผลให้รายได้ลดลง และอาจมีแรงงานประมาณ 3.5 แสนคน ที่รายได้ลดลงอย่างรุนแรง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า ลูกจ้างรายวัน (นอกภาคเกษตร) มีอยู่ทั้งสิ้น 5.1 ล้านคน เป็นแรงงานที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด ทั้งสิ้น 2.8 ล้านคน ในจำนวนนี้อาจมีแรงงานประมาณ 5 แสนคน ตกอยู่ในภาวะเสมือนว่างงาน และอีกประมาณ 5 แสนคน มีรายได้ลดลงอย่างรุนแรง

ขณะที่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (นอกภาคเกษตร) มีอยู่ทั้งสิ้น 8.2 ล้านคน เป็นแรงงานที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด ทั้งสิ้น 4.2 ล้านคน ในจำนวนนี้อาจมีแรงงานประมาณ 6 แสนคน ตกอยู่ในภาวะเสมือนว่างงาน และอีกกว่า 3 ล้านคน มีรายได้ลดลงอย่างรุนแรง

ส่วนลูกจ้างในสาขาโรงแรม มีความเสี่ยงจะตกงานเพิ่มประมาณ 1 แสนคน รวมแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 4.7 ล้านคน

โดยในระยะต่อไป เศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาด ว่าประเทศไทยสามารถควบคุมได้ผลแค่ไหน จะยังมีการระบาดระลอกใหม่ๆ อีกหรือไม่ การกระจายวัคซีน และมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่รัฐต้องมุ่งเน้นช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางอย่างทั่วถึง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า