SHARE

คัดลอกแล้ว

ผ่านไปแล้วครึ่งปีแรกในปี 2567ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงเปราะบางและมีปัจจัยกดดันจากความกังวลหลากหลายด้าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ทำให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยขยายตัวอยู่ที่ 1.6% โดยกลุ่มหลักๆ ที่ยังเติบโตและเป็นตัวช่วยผยุงเศรษฐกิจไว้ คือ การบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มอื่นๆ นั้นติดลบ

[ ครึ่งปีหลังอาจสดใสกว่า ]

สำหรับแนวโน้มช่วงครึ่งปีหลัง โดย ‘บุรินทร์ อดุลวัฒนะ’ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น ประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.6% ตามการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ รวมถึงส่งออกที่จะปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยฐานที่ต่ำในปี 2566 และครึ่งปีแรกที่ผ่านมาส่วนภาพรวมทั้งปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะอยู่ที่ 2.6% แม้ว่าในครึ่งปีหลังอาจจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ดี แต่จากภาพรวมครึ่งปีแรกที่ไม่ค่อยดีทำให้ภาพรวมทั้งปีการเติบโตของเศรษฐกิจจึงไม่ได้สูงมากนัก

เปรียบเทียบกับปี 2566 โดย GDP ขยายตัว 1.9% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ระดับ 2.0-2.2% อีกทั้งยังชะลอตัวลงจากการขยายตัว 2.5% ในปี 2565 ตามการลดลงต่อเนื่องของภาคการส่งออก รวมทั้งการลดลงของการใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐ 

[ แต่หลายปัจจัยยังกดดัน ]

ปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามอง โดยเฉพาะ ความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้า เกี่ยวกับนโยบายภาษีของสหรัฐฯ และยุโรปที่กีดกันอุตสาหกรรม Cleantech ของจีน ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และแผงโซลาร์ ซึ่งมองว่าจะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตในภูมิภาคยุโรป อาเซียน และอเมริกาใต้ 

ขณะที่ปีนี้สหรัฐฯ กำลังเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน หาก ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง กลยุทธ์ของจีนในการกระจายความเสี่ยงทางการค้า อย่างเช่น China+1 ที่ขยายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีทางการค้า ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบ ดังนั้น ไทยต้องจับกระแสประเด็นการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้ปรับตัวได้ทัน

ส่วนประเด็นเรื่องของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% ส่วนอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจมีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยลงในครึ่งปีหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้การคาดการณ์บางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้

ด้านค่าเงินบาทในช่วงครึ่งปีหลังยังคงมีแนวโน้มผันผวนในแดนอ่อนค่า เนื่องจากถูกกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าและเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่า และแรงขายหุ้น พันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ คาดสิ้นไตรมาส 3 เคลื่อนไหวในกรอบ 36-34 บาทต่อดอลลาร์

[ หุ้นไทยฝากความหวังที่ LTF ]

ด้าน ‘สรพล วีระเมธีกุล’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าทีมกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงมุมมองการลงทุนช่วงครึ่งปีแรกนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยไปแล้ว 6 แสนล้านบาท และหุ้นไทยทำผลจากได้ค่อนข้างแย่ (underperform) ตลาดหุ้นโลกถึง -50% 

โดยสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนและต่างชาติยังคงทยอยขายออกมาจาก 4 ปัจจัยที่กดดัน ได้แก่  1.การขายตัวของเศรษฐกินไทยที่โตช้า 2. Earnings Per Share (EPS) หรือ กำไรต่อหุ้น ที่ทำให้ราคาหุ้นยังคงแพง  3.การกระจุกตัวของแรงงานในภาคเกษตรและการบริการ  และ 4.การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม ในสิ้นปี 2567 ประเมินเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยที่ 1,450 จุด จะมีอัพไซด์เพิ่มขึ้น 10% จากดัชนีปัจจุบัน ส่วนปัจจัยบวกที่คาดว่าจะเข้ามาช่วย คือ การมาของกองทุนประเภท LTF ที่ทางกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณา 

[ เก็งเม็ดเงินไหลเข้า 5 หมื่นล้าน ]

แต่กองทุนใหม่นี้หากจะเข้ามากระตุ้นให้ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวได้จริง จะต้องมีการปรับลดระยะเวลาการถือให้น้อยลง เพิ่มวงเงินซื้อขาย และต้องลงทุนเฉพาะหุ้นไทยเท่านั้น จึงจะสามารถช่วยหนุนภาพรวมตลาดหุ้นไทยได้ เหมือนอดีตที่  LTF เคยสร้างเม็ดเงินเข้าตลาดหุ้นไทยได้มากกว่า 50,000 บาทต่อปี 

รวมถึงการได้บุคคลากรใหม่ๆ เข้ามาในตลาดทุน อย่าง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนใหม่ ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนกันยายนนี้ น่าจะเป็นอีกความหวังที่อาจทำให้ตลาดทุนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น 

โดยสรุป ในภาพรวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ที่ผ่านมาในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มที่โตช้ากว่าที่เคยประเมิน  แต่ครึ่งปีหลังจากปัจจัยบวกที่คาดการณ์ยังคงทำให้มีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับมาได้ แม้จะไม่ได้ดีแบบก้าวกระโดด แต่จะดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแน่นอนว่าจะส่งผลการลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วยเช่นเดียวกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า