Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

งานเสวนาออนไลน์ Chula Econ Forum โดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย พูดคุยในหัวข้อ จับตาเศรษฐกิจไทย ปี 2564 มองภายใต้จีดีพีเป็นบวกปีหน้า ยังมีความเสี่ยงชุดใหญ่ รับเป็นปีที่คาดการณ์ยาก มีแนวโน้มใช้เวลาอีกสองปีเศรษฐกิจฟื้นกลับมาเหมือนก่อนเกิดโควิด-19 ระบาด

ผศ. ดร.นิพิฐ วงศ์ปัญญา รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวย้อนถึงสภาพก่อนเจอวิกฤตโควิด-19 จะเข้ามาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยว่า GDP ปี 2562 โตเพียง 2.4% จากที่ควรจะเป็น 3.7% แสดงว่ายังต่ำกว่าศักยภาพการผลิตที่ควรจะเป็น เรามีปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และเมื่อเจอโควิด-19 ในปี 2563 นักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปทั้งหมด ภาคครัวเรือนเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น อัตราการว่างงานสูงขึ้น ภาครัฐกู้ยืมเงินจำนวนมากเพื่อเยียวยาเศรษฐกิจ ประกอบกับโควิด-19ที่ระบาดระลอกใหม่ในไทยช่วงปลายปีนี้ยิ่งทำให้ประเมินตัวเลขยากยิ่งขึ้น จากข้อมูลจากแบงก์ชาติชี้ว่าแม้วัคซีนจะเข้ามาไทยปี 2564 แต่กว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาคือครึ่งหลังปี 2565 เป็นโจทย์สำคัญที่ผู้วางนโยบายต้องประคับประคองเศรษฐกิจภายในไปอีกสักพัก

“หากจะกลับไปที่ระดับปกติตามศักยภาพการผลิตของประเทศอาจใช้เวลาถึง 6-7 ปี เพราะสมัยต้มยำกุ้งก็ใช้เวลาถึง 8 ปี ตัวเลขฟื้นภายใน 2 ปีคือการฟื้นตัวให้เหมือนช่วงก่อนเกิดโควิดเท่านั้น การใช้จ่ายภาครัฐและอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ 0.5% ยังมีความจำเป็น” ผศ. ดร.นิพิฐ กล่าว

ด้าน ดร.อานันท์ชนก สกนธวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ตัวเลขของสภาพัฒน์ที่แถลงไปเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 มองจีดีพีปีหน้าบวก 3.5 – 4.5% ภายใต้เงื่อนไขไม่มีระบาดระลอกใหม่เป็นวงกว้าง ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุน 4 ด้าน ได้แก่ การบริโภคการลงทุนภายในประเทศฟื้นตัว การส่งออกสินค้าที่ได้รับอานิสงค์จากโควิด การใช้จ่ายจากภาครัฐ และ Technical Rebound จากฐานต่ำ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ปีถัดไปหลังเกิดวิกฤติ ตัวเลขจะกลับมาเป็นบวกได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงคือ สถานการณ์ความไม่แน่นอนของการระบาดระลอกใหม่และการกลายพันธุ์ ภัยแล้ง ความผันผวนในเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการค้าภายใต้การนำของประธานธิบดีสหรัฐคนใหม่ และ Brexit

“การประเมินตัวเลขเศรษฐกิจรอบนี้เป็นเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์หนักใจมาก เราแทบไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนกับโรคระบาดที่ยาวนานขนาดนี้ นอกจาการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ สภาพัฒน์ยังต้องหารือกับนักระบาดวิทยา จากกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย” ดร.อานันท์ชนก กล่าว

ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค กระทรวงการคลัง กล่าวถึง นโยบายภาครัฐที่ผ่านมา กระทรวงการคลังจัดทำมา 3 ระยะ ให้เงินช่วยเหลือผู้ที่ว่างงาน ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกรไปเกือบ 3.5 แสนล้านบาท ยังเหลือคงเม็ดเงินภายใต้กรอบเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เพื่อใช้ต่อในปี 64 อีกกว่า 6.5 แสนล้านซึ่งถือเป็นเงินนอกงบประมาณ ส่วนงบประมาณปี 64 ทำงบขาดดุล 6.08 แสนล้านบาท และยังมีงบดูแลฉุกเฉิน งบลงทุนรัฐสาหกิจ ที่มาเสริมทัพกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ส่วนหนึ่งต้องเป็นการนำงบไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหรือเพิ่มขีดความสามารถของประเทศที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เก็บภาษีมาชดเชยหนี้สาธารณะได้มากขึ้นในอนาคต

“โชคดีที่เราเริ่มต้นจากการมีหนี้ภาครัฐที่ต่ำ ปัจจุบันอยู่ที่ 49.5 % ของจีดีพี ซึ่งนับรวม 1 ล้านล้านบาทภายใต้พรก.กู้เงินแล้ว ต้องเน้นว่ารัฐบาลทั่วโลกขณะนี้ล้วนก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น IMF ประเมินว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะของรัฐบาลทั่วโลกโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 18% ของจีดีพี ส่วนของไทยใน 3-5 ปี ก็น่าจะยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังไม่เกิน 60% ของจีดีพี” ดร.พิสิทธิ์ ระบุ

ด้านปัญหาหนี้ครัวเรือน นายวศิน โรจยารุณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าแบงก์ชาติพยายามแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนโดวิด เช่น คลินิกแก้หนี้ การกำหนดเกณฑ์ LTV แต่เมื่อประสบวิกฤติครั้งนี้ จำเป็นต้องยอมให้ก่อหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อให้ธุรกิจและครัวเรือนอยู่รอดต่อไป ขณะนี้มาตรการพักชำระหนี้ที่ไกลสุดคือไปจนถึงกลางปี 2564 ลูกหนี้ที่ขอผ่อนผันประมาณ 70% กลับมาชำระได้แล้ว การพักชำระหนี้เป็นการซื้อเวลาชั่วคราว การฟื้นตัวไม่ได้ฟื้นเท่ากันทุกคน บางรายที่ยังเจ็บไปอีกนานโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวอาจต้องได้รับการช่วยเหลือแบบปรับโครงสร้างหนี้แทน สำหรับซอฟท์โลนที่ปล่อยออกไปได้ไม่มาก คาดว่าในปีหน้าผู้ประการจะต้องการสภาพคล่องเพื่อกลับมาลงทุน จึงได้มีการปรับเกณฑ์เพื่อให้เงินส่วนนี้เข้าสู่ระบบมากขึ้น

“เราไม่ได้อยากให้ลูกหนี้ออกจากโควิดไปพร้อมกับหนี้ที่ท่วมหัว อยากให้ลูกหนี้เข้ามาคุยเพื่อปรับหนี้ รวมหนี้ให้จัดการได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ช่วยไปได้กว่า 12 ล้านบัญชี และจะช่วยภาระหนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย เช่น ดอกเบี้ยของการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงเกินไปและไม่เป็นธรรม ก็ได้มีการปรับเกณฑ์ไปแล้ว” นายวศิน กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า