SHARE

คัดลอกแล้ว

ท่ามกลางสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่เข้ามาซ้ำเติมหลายๆ ประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนักจากการระบาดของโควิด-19 ภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ประชาชนมีค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่้งเกิดจากราคาต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงขึ้นทั้งวัตถุดิบและพลังงาน ตลอดจนราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยล่าสุด มีอย่างน้อย 30 ประเทศ ประกาศนโยบายงดส่งออกอาหาร ด้วยความหวาดหวั่นต่อวิกฤตขาดแคลนอาหารที่อาจเกิดขึ้น หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ในระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะต้องประสบกับสภาวะเงินเฟ้อ แต่ก็ถือได้ว่ายังมีแต้มต่อในการผลิตอาหาร ด้วยการมีซัพพลายวัตถุดิบที่ไม่ขาดแคลนแม้จะมีราคาที่สูงขึ้นก็ตาม เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการจับตาจากบรรดาผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทั่วโลก

คุณเจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และที่ปรึกษาอาวุโสคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพีแรม จำกัด เปิดเผยว่า “สถานการณ์สงครามรัสเซีย-สงครามรัสซียน – ยูเครน อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารอย่างยาวนาน โดยสหประชาชาติ (UN) ประเมินว่าจะมีจำนวนคนอดอยากถึง 440 ล้านคน ใน 2-3 ปีข้างหน้า และที่สำคัญอาหารไม่ฟื้นเร็วเหมือนอย่างอื่น แม้สงครามเลิก แต่ภาคการผลิตอาหารต้องใช้เวลาฟื้นตัว 1-2 ปี หันกลับมามองประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ประกอบการอาหาร 1 แสนโรงงาน ทั้งขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก มีสมาชิกในกลุ่มอาหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีสมาชิกกว่า 400 ราย ประกอบกับบริษัทด้านอาหารระดับโลกที่เข้ามาร่วมลงทุน ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารสร้างรายได้ถึง 20% ของ GDP ของไทย  และมองว่าไทยสามารถใช้ความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหาร ที่เริ่มต้นตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างความได้เปรียบในวิกฤตอาหารนี้ได้”

คุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารสำนักกิจการเพื่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ สงครามรัสเซียและยูเครน ที่ต่อเนื่องมาค่อนข้างยาวนานแน่นอนว่าส่งผลกระทบทุกอย่าง โดยเฉพาะวงการปศุสัตว์ สิ่งแรกที่กระทบคือวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งที่ผ่านมาข้าวโพดปรับราคาขึ้นมากว่า 30%  ข้าวสาลีปรับราคา 20% รวมถึงต้นทุนค่าขนส่งที่พุ่งสูงขึ้น จากเดิมต้นทุนค่าขนส่ง 15% ของสินค้าที่ผลิตแต่ปัจจุบันขึ้นเกือบ 40% ทั้งหมดนี้ส่งผลไปถึงเนื้อหมู ไข่ไก่ แพงขึ้น เบทาโกรได้ใช้การวางแผนและการจัดการทั้งปรับสูตรอาหารสัตว์ หาวัตถุดิบทดแทน เพื่อรักษาประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ให้มีคุณภาพเหมือนเดิม และจัดสรรโลจิสติกส์ให้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุดเพื่อช่วยพยุงราคาสินค้า”

คุณวิวรรยา ศิริมงคลเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  “รัสเซีย ที่มีทั้งแก๊สและน้ำมัน และยูเครนก็เป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับต้น ๆ ของโลก ย่อมกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก คำถามคือผู้ประกอบการไทยจะต้องจัดการอย่างไรกับเรื่องนี้ เรื่องของน้ำมัน ไทยคงยากที่จะบริหารจัดการสถานการณ์ให้ดีขึ้นเพราะเราเป็นผู้นำเข้า ขณะที่ต้นทุนอื่นๆ ยังพอรับมือได้ด้วยการบริหารจัดการ ตอนนี้ทุกบริษัทที่ผลิตอาหารต่างต้องหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาบริหารจัดการมากขึ้นเพื่อให้ต้นทุนไม่สูงจนเกินไป   คำแนะนำที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือการบริหารจัดการ Food Waste ให้เกิดน้อยที่สุด ไปจนถึงการนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบ Circular Economy อย่างการนำของเสียกลับมาใช้เป็นพลังงานอีกครั้ง”

ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  “ต้นทุนของสินค้าก้าวกระโดดขึ้นอย่างสูง เพราะได้รับผลกระทบทั้งจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน เป็นห่วงโซ่ที่ส่งผลกระทบให้อาหารขาดแคลนและราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น  ผู้ผลิตทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมต้องทำการบ้านเพิ่มขึ้นในการจัดการต้นทุน เพราะหากไม่ปรับตัวจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจนต้องเพิ่มราคาสินค้าก็จะกระทบต่อค่าครองชีพผู้บริโภคในที่สุด สำหรับความมั่นคงด้านอาหารแม้หลายคนมองว่าไทยมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องจัดการด้วย โดยมีระบบเก็บข้อมูลเพื่อประเมินว่าสินค้าเกษตรประเภทใดจะล้นตลาดและขาดตลาด ซึ่งรัฐและเอกชนต้องร่วมกันปรับโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเกษตรในประเทศไทย”

ทิ้งท้ายด้วย คุณทองดี ปาโส กรรมการผู้จัดการ บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “ภาคธุรกิจจำเป็นปรับตัวโดยใช้ R&D งานวิจัย และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ผู้ประกอบการรายใหญ่มักจะมีแผนกภายในที่ดูแลอยู่แล้ว แต่ในส่วนผู้ประกอบการรายย่อยยังต้องการการสนับสนุน และผลกระทบจากอาหารขาดแคลนจะส่งผลกระทบในด้านต้นทุนราคา ซึ่งในระยะสั้นนั้นอาจใช้การบริหารจัดการช่วยได้แต่ในระยะยาวภาครัฐต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนในส่วนนี้ด้วย นอกจากนี้ยังต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยโดยการใช้นวัตกรรม ซึ่งในปัจจุบันตลาดกำลังให้ความสนใจเรื่อง Future Food (อาหารแห่งอนาคต) เป็นอย่างมาก”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า