SHARE

คัดลอกแล้ว

รายงานล่าสุดจากสมาคมสุราและไวน์นานาชาติแห่งเอเชียแปซิฟิก (APISWA) และ Oxford Economics ที่เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของประสบการณ์อาหารและเครื่องดื่มระดับพรีเมียมในการดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงให้มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยการวิจัยได้สำรวจนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ 1,800 คนจาก 5 ตลาดหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างประเทศจีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร พบว่า 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับประสบการณ์อาหารและเครื่องดื่มในการเลือกจุดหมายปลายทาง

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มที่จะเลือกมาเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น 2.5 เท่า หากมีประสบการณ์ในอาหารและเครื่องดื่มระดับที่พรีเมียม และยังยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 250 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวันให้กับธุรกิจเหล่านี้

สำหรับอาหารและเครื่องดื่มระดับพรีเมียม หมายถึง อาหารและเครื่องดื่มคุณภาพสูง ที่มักมาพร้อมกับประสบการณ์พิเศษที่แตกต่างจากอาหารทั่วไป

อาหารตัวอย่างเช่น เนื้อวากิว ทรัฟเฟิล รวมถึงวัตถุดิบหายากตามฤดูกาล และอาหารที่ปรุงโดยเชฟระดับโลก ส่วนเครื่องดื่ม ก็เช่น ไวน์และแชมเปญชั้นเลิศ เหล้าและวิสกี้ระดับสูง กาแฟชาเกรดพรีเมียม และค็อกเทลซิกเนเจอร์

ซึ่งในรายงานฉบับนี้ Oxford Economics และ APISWA ได้แนะนำให้ผู้กำหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประสบการณ์อาหารและเครื่องดื่มคุณภาพสูง

โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และความคุ้มค่า เพื่อเสริมสร้างความน่าสนใจของภูมิภาคและเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวให้มากขึ้น

ขณะเดียวกัน ต้องช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงตัวเลือก F&B ที่หลากหลายและบริการที่มีคุณภาพได้สะดวกมากขึ้น เช่น ขยายเวลาเปิดให้บริการของสถานประกอบการ และพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะเพื่อการบริการที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว

แน่นอนว่า จากผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องของประสบการณ์ด้านอาหารและเครื่องดื่มมากๆ แต่ในส่วนของเครื่องดื่ม เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในประเทศไทยยังค่อนข้างมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร

ทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องมีแนวคิดที่ต้องการการผ่อนปรนกฎระเบียนบ้างอย่าง เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยและไม่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ F&B จนเกินไป

หนึ่งในประเด็นนโยบายสำคัญที่ควรได้รับการพิจารณา คือ การจำกัดการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลา 14.00-17.00 น. การปรับปรุงข้อจำกัดนี้สามารถช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยจะช่วยให้ธุรกิจภาคบริการสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับการจำกัดการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลา 14.00-17.00 น. เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และลดผลกระทบทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มสุรา หลักเกณฑ์สำคัญ

  • ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลา 14.00 – 17.00 น. ทุกวัน
  • มีผลบังคับใช้กับ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้า
  • สามารถขายได้ในช่วงเวลา 11.00 – 14.00 น. และ 17.00 – 24.00 น.

ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเสวนาให้หัวข้อนี้ได้เสนอแนวคิดไว้มากมาย อาทิเช่น

นายกสมาคมโรงแรมไทย ‘เทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์’ กล่าวว่า  รัฐบาลของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังมุ่งเน้นในการดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนมากขึ้น

ดังนั้นอย่างที่เราทราบกันดีว่ากฏหมายบ้างเรื่องเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ ซึ่งถ้ารัฐบาลปลดล็อกกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องดื่มให้เหมาะสมกับปัจจุบันได้ ก็จะช่วยให้ไทยเป็นตัวเลือกของนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นได้

‘ธิปไตร แสละวงศ์’ นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)  กล่าวว่า รัฐบาล รวมถึงผู้นำอุตสาหกรรม และคณะกรรมการการท่องเที่ยวจำเป็นต้องร่วมมือกันในการดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมธุรกิจ F&B ในประเทศไทยให้มากขึ้น

สิ่งนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าภาคธุรกิจ F&B ของประเทศไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

‘อัญชลี ภูมิศรีแก้ว’ จาก APISWA กล่าวว่า ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญและการต่อยอดทางธุรกิจที่รออยู่มากมายในวงการ F&B ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นและสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับการท่องเที่ยวได้มากขึ้น

โดยสิ่งสำคัญ คือ การที่ผู้กำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวต้องส่งเสริมปัจจัยแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการเติบโตของภาคธุรกิจ F&B ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนแนวทางการประกอบการใหม่ ๆ และส่งเสริมการเติบโตการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ต้องสอดรับกับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวด้วย

‘เรวัตร คงชาติ’ กรรมการสมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหารกลางคืน กล่าวว่า ประเทศไทยได้เปรียบเรื่องอาหารที่อร่อยหลากหลายและโดดเด่น และยิ่งถ้าได้รับนโยบายสนับสนุนที่ดีและเหมาะสมต่อธุรกิจ F&B จะทำให้ธุรกิจเติบโตและสามารถสร้างประสบการณ์ที่พรีเมียมในภาคการท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้ได้

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจการท่องเที่ยวจำเป็นจะต้องมีนโยบายและข้อบังคับที่สร้างบรรยากาศทางธุรกิจที่เอื้อต่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีราคาเหมาะสมแข่งขันได้ เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายมากขึ้น

เช่น ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ลดภาษีสินค้าประเภทไวน์ เช่นเดียวกันกับที่รัฐบาลฮ่องกงได้ปรับอัตราภาษีสำหรับสุราในบางช่วงราคา เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมสถานบันเทิงยามค่ำคืนและส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับพรีเมียม นโยบายเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรม F&B ให้เติบโตยิ่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า