SHARE

คัดลอกแล้ว

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า หนี้ครัวเรือนไทยปี 2566 จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 84-86.5% ต่อ GDP ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แต่ภาระหนี้ที่ยังสูง จะเป็นตัวฉุดการบริโภคของไทยในอนาคต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นโจทย์เชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่นอกจากจะมีผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลต่อเนื่องไปยังเสถียรภาพของระบบการเงินไทยด้วย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายหน่วยงานพยายามร่วมมือกันแก้ปัญหาภาระหนี้สูงให้กับประชาชนรายย่อย ล่าสุด (14 ก.พ. 2566) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่เอกสารทิศทาง ‘แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน’ ซึ่งมีเป้าหมายในการดูแลให้หนี้ครัวเรือนให้ลดลงไปอยู่ในระดับที่ยั่งยืน (ต่ำกว่า 80% ของ GDP)

เพื่อลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน ลดแรงกดดันต่อศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว และทำให้ครัวเรือนมีความเป็นอยู่และสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบด้วยต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม

คาดว่าหลังจากนี้อาจเริ่มเห็นการทยอยออกมาตรการและแนวทางเพื่อดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างชัดเจนและต่อเนื่องมากขึ้น

เมื่อรวมผลของปัจจัยดังกล่าว เข้ากับทิศทางดอกเบี้ยในประเทศที่เป็นขาขึ้น และอาจคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าในอดีต รวมทั้งเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึงแล้ว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ในปี 2566 ชะลอลงต่อเนื่องเป็นปีที่สอง มาอยู่ที่กรอบ 84-86.5%

จากเอกสารทิศทางและนโยบาย (Directional Paper) แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนของ ธปท. คงทำให้เห็นมาตรการและโครงการต่างๆ เพิ่มเติม

ทั้งในส่วนของการแก้ไขหนี้เดิม (ที่เสียและยังไม่เสียแต่ปิดจบไม่ได้) ที่เน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการดูแลการก่อหนี้ก้อนใหม่ในปี 2566 ที่คงมุ่งเน้นไปที่การดูแลความสามารถในการชำระคืนและไม่กระตุ้นการก่อหนี้โดยไม่จำเป็น

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า สินเชื่อรายย่อยในระบบแบงก์ไทยในปี 2566 น่าจะเติบโตในกรอบประมาณ 3.7-4.8% ชะลอลงจากที่เคยเติบโตเฉลี่ยประมาณ 6% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทย อาจชะลอลงต่อเนื่องเป็นปีที่สองมาอยู่ที่กรอบประมาณ 84-86.5% ในปี 2566 เทียบกับตัวเลขคาดการณ์สิ้นปี 2565 ที่ 86.8% และระดับ 90.1% ในปี 2564

แนวโน้มหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยที่เริ่มมีทิศทางทรงตัวหรือปรับตัวลดลง จะเป็นภาพที่แตกต่างและให้ผลตรงข้ามจากในอดีต

แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่ทยอยลดลงอาจทำให้การบริโภคชะลอตัวในระยะสั้น แต่จะส่งผลในด้านบวกต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน ตลอดจนการเติบโตของการบริโภคและเศรษฐกิจในระยะยาว

แต่คงต้องยอมรับว่า สาเหตุหนึ่งที่หนี้ครัวเรือนลดลง ยังคงเป็นเพราะการเติบโตของหนี้ครัวเรือนที่ช้ากว่ามูลค่า GDP ขณะที่ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนยังคงเพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้น ความท้าทายของโจทย์ในการดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยจะไม่ได้อยู่ที่เป้าหมายของการลดระดับสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เพียงอย่างเดียว

แต่จะอยู่ที่การดูแลให้หนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นใหม่มีส่วนผสมของหนี้ที่มีคุณภาพ เพื่อทยอยปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ครัวเรือนในภาพใหญ่ให้มีส่วนผสมของหนี้ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพ

เช่น หนี้เพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยและหนี้เพื่อการประกอบธุรกิจ และไม่กระตุ้นการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคในส่วนที่เกินความจำเป็น

หากเปรียบเทียบไทยกับต่างประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจแล้ว จะพบว่า โครงสร้างหนี้ครัวเรือนในหลายๆ ประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ มาเลเซีย จีน และสิงคโปร์

ต่างก็มีสัดส่วนของหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยเกินครึ่งหนึ่งของหนี้โดยรวม ขณะที่หนี้เพื่อที่อยู่อาศัยของไทยมีสัดส่วนเพียง 34.7% ของหนี้ครัวเรือนโดยรวมเท่านั้น

ในทางกลับกัน หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคอื่นๆ ของไทยมีสัดส่วนประมาณ 24.5% เมื่อเทียบกับ GDP (แบ่งเป็น หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 7.4% และหนี้บริโภคอื่นๆ 17.1%)

ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ นิวซีแลนด์ (3.6%) มาเลเซีย (14.3%) จีน (12.3%) และสิงคโปร์ (2.0%)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า