Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ครม.เศรษฐกิจนัดแรก เคาะงบฯ 3.16 แสนล้าน เห็นชอบมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ผ่านอีวอลเลท 1,000 บาท หนุนท่องเที่ยวข้ามจังหวัด พร้อม cash back สูงสุด 4,500 บาท ส่วนผู้สูงอายุรับเงินช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มอีกเดือนละ 500 บาท และให้เงินดูแลเด็กแรกเกิด เพิ่มอีกเดือนละ 300 บาท มั่นใจดันจีดีพีไม่ต่ำกว่า 3%

วันนี้ (16 ส.ค.2562) นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม. เศรษฐกิจ) ครั้งที่ 1/2562 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณา สถานการณ์เศรษฐกิจโลกกระทบจีดีพีไตรมาส 2 ชะลอตัวต่ำต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปี ประกอบกับ ความผันผวนในตลาดเงิน และตลาดทุน หลังผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ระยะสั้น และระยะยาวติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ กว่า 10 ปี สร้างความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี

ขณะที่ ปัญหาภัยแล้งกระทบรายได้เกษตรกร กระทบเศรษฐกิจฐานราก คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจึงวางกรอบการทำงานรับมือสถานการณ์ดังกล่าว แบ่งเป็นงานเร่งด่วน 7 ด้าน เช่น การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เร่งรัดการเบิกจ่าย และสนับสนุนการส่งออก และยังมีงานปฏิรูปโครงสร้าง 2 ด้าน ได้แก่ ปฏิรูปโครงสร้างภาคเกษตร และปฏิรูปภาครัฐ พร้อมตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายเศรษฐกิจเพื่อติดตามประสานและเร่งรัดงานจากหลายพรรค หลายกระทรวงให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อขับเคลื่อนจีดีพีโตร้อยละ 2.7 – 3 และปีหน้าจีดีพีโตร้อยละ 3.5

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ขณะที่ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง  มั่นใจว่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 316,000 ล้านบาท โดยใช้เงินงบกลางไม่ถึง 5 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินจากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐราว 207,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินกองทุนต่าง ๆ 5 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าผลักดันเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 โดยเสนอชุดมาตรการแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง  2.มาตรการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนประเทศ และ 3. มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อย

มาตรการแรก คือ การเร่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่ 13 จังหวัด กว่า 900,9000 ราย ซึ่งเป็นหนี้อยู่กับ ธกส. โดยจะมีการช่วยลดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 1 ปี ขณะที่เกษตรกรรายย่อยจะได้รับสินเชื่อฉุกเฉิน 5 หมื่นบาทต่อราย โดยในปีแรกจะปลอดดอกเบี้ย วงเงินทั้งหมด 5 หมื่นล้านบาท  สินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูซ่อมแซมเสียหายจากภัยแล้ง วงเงินรายละไม่เกิน 5 แสนบาท รวมวงเงิน 5,000 ล้านบาท และขยายเวลาชำระเงินกู้พิเศษ  สำหรับมาตรการช่วยเหลือด้านต้นทุนการผลิตข้าวนาปี 62/63 ปัจจุบันมีเกษตรกรขึ้นทะเบียนเกือบ 3 ล้านราย

ภาพโดย Farsai Chaikulngamdee จาก Unsplash

สำหรับมาตรการกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคในประเทศนั้น สนับสนุนให้ประชาชนไทยท่องเที่ยว “ชิม ช้อป ใช้” ข้ามจังหวัด โดยให้ประชาชนลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารกรุงไทย วางเป้าหมาย 10 ล้านคน ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสำหรับการท่องเที่ยวผ่านอีวอลเลท 1,000 บาท สามารถใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นได้ทันที เพื่อใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ซื้อสินค้าท้องถิ่น รับประทานอาหาร พักโรงแรม ต่าง ๆ จำนวน 3 หมื่นบาท จะได้รับเงินคืน 15% เป็นต้น  มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากต่างประเทศไทย โดยเสนอการยกเว้นการตรวจลงตราวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจีนและนักท่องเที่ยวอินเดีย

มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ โดยเสนอให้หักค่าใช้จ่ายจากการซื้อเครื่องจักรจากการลงทุน สามารถหักภาษี 1.5 เท่า ภายใน 5 ปี และให้สินเชื่อผ่อนปรนกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระยะเวลากู้ 7 ปี

ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินรัฐ ให้เร่งปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี กรุงไทย และออมสิน รวม 1 แสนล้านบาท  และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ปล่อยสินเชื่อบ้าน 52,000 ล้านบาท และให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อโดยลดค่าธรรมเนียมให้เอสเอ็มอีในช่วง 2 ปีแรก

 

ส่วนมาตรการดูแลค่าครองชีพ ผ่านกลไกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเป็น 500 บาทต่อราย จากเดิมผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท ได้รับเงินช่วยเหลือ 300 บาทต่อเดือน และผู้มีรายได้ 3 หมื่นถึง 1 แสนบาท ได้รับเงินช่วยเหลือ 200 บาท ต่อเดือน ขณะที่ผู้สูงอายุจะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีกเดือนละ 500 บาท และให้เงินดูแลเด็กแรกเกิด เพิ่มอีกเดือนละ 300 บาท โดยการช่วยเหลือเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี้มีระยะเวลา 2 เดือน คือ สิงหาคมกับกันยายนนี้เท่านั้น

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแจงว่ามาตรการต่างๆเหล่านี้ ได้มีการหรือกับสำนักงบประมาณมาโดยตลอด โดยคำนึงถึงวินับการเงินการคลังเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังสามารถเดินหน้าเติบโต และบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP  ร้อยละ3 ทั้งปี

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า