SHARE

คัดลอกแล้ว

ปี 2566 เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง นำพาเศรษฐกิจไทยไปอยู่ในจุดที่ไม่คุ้นเคย ภาคธุรกิจต้องเตรียมตัวอย่างน้อย 5 เรื่องสำคัญ ที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เรามาไล่เรียง 5 จุดเปลี่ยนผ่านกันไปในแต่ละเรื่องกัน

การก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

เตรียมพร้อมรับมาตรการปรับภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของยุโรป (CBAM)

  • CBAM จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป โดยช่วงแรก ปี 2566-2568 จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่บังคับแค่การรายงานข้อมูล ก่อนที่จะเริ่มมีการเก็บภาษีอย่างเต็มรูปแบบในปี 2569
  • ในระยะเปลี่ยนผ่านหรือ Transition Period มีอุตสาหกรรมที่ต้องเตรียมตัวหลักเลย 6 อุตสาหกรรม คือ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย กระแสไฟฟ้า และไฮโดรเจน ขณะที่ในระยะถัดไปจะครอบคลุมสินค้ามากขึ้นและนับรวมการปล่อยคาร์บอนทางอ้อมด้วย
  • ผู้ประกอบการไทยควรีบเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะด้วยการปรับกระบวนการผลิตและเริ่มประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์
  • กลุ่มสินค้าไทยที่เข้าข่าย CBAM ที่สำคัญ คือ เหล็กและเหล็กกล้ามูลค่าส่งออกที่ 1.6 หมื่นล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม ส่งออก 3.6 พันล้านบาท โดยมีมูลค่าส่งออกรวมไปสหภาพยุโรปไม่ต่ำกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 2.1% ของการส่งออกของไทยไปยุโรป

Taxonomy คืออะไร

  • ธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังจัดทำ Taxonomy หรือมาตรการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและมีจุดยึดโยงให้นำไปอ้างอิงต่างๆและลดปัญหา Greenwashing (การฟอกเขียว คือ การทำให้เข้าใจผิดด้วยการโฆษณาสินค้าหรือองค์กรให้มีภาพลักษณ์ว่ารับผิดชอบต่อสังคมโดยการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น)
  • ภายในต้นปี 2566 จะเริ่มในภาคพลังงานและภาคขนส่งเป็นลำดับแรก และนำมาใช้ในลักษณะภาคสมัครใจ
  • ในช่วงแรก Taxonomy จะมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ Climate Change Mitigation เป็นหลัก
  • โดยจัดกลุ่มกิจกรรมเศรษฐกิจเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (สีเขียว) 2.อยู่ระหว่างปรับตัว (สีส้ม) 3.ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (สีแดง)
  • แม้ว่า Taxonomy จะเป็นประโยชน์สำหรับภาคธุรกิจ แต่ในช่วงเริ่มแรกอาจสร้างความท้าทายได้ อาทิ ความท้าทายจากการปรับตัวในการจัดเก็บและรายงานข้อมูลที่สอดคล้องกับ Taxonomy

นอกจากนี้ รัฐบาลเดินหน้าผลักดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG หวังเพิ่มมูลค่าจีดีพี 1 ล้านล้านบาท ในอีก 5 ปี ข้างหน้า โดย BOI ได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 ปี (2566-2570) ซึ่งครอบคุม BCG มากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลตั้งทีมปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด Better and Green Thailand 2030 เพิ่มจีดีพี 1.7 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

OECD ประเมินเศรษฐกิจโลกปี 2566 อ่อนแอลง โดยปรับลดประมาณการเติบโตของโลก และเขตเศรษฐกิจหลักทั้ง สหรัฐฯ ยุโรป และจีน

  • เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัว และยังต่อสู้กับเงินเฟ้อ คาดเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องจนแตะ 5.25%
  • เศรษฐกิจยุโรปเสี่ยงเผชิญภาวะถดถอย ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตพลังงานเป็นหลัก จากผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั้งยังอาจฟื้นตัวในปีถัดไปได้อย่างล่าช้า
  • เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นในปี 2566 แต่การเติบโตอาจถูกจำกัดทั้งจากเรื่องโควิด ปัญหาเศรษฐกิจภายในจีนเองโดยเฉพาะประเด็นหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ และความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์

ภาคท่องเที่ยวฟื้น ส่งออกร่วง

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกระทบต่อการส่งออกชัดเจน ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ซึ่งภาคการท่องเที่ยวจะกลายเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยจะฟื้นและแตะระดับถึง 22.5 ล้านคนในปี 2566

แม้เศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง แต่คาดว่าหลายประเทศในเอเชียยังเติบโต ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาไทยส่วนใหญ่มาจากเอเชียตะวันออกถึง 70% ทำให้ภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจำกัดจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

อัตราการเข้าพักจากการท่องเที่ยวฟื้นตัว ซึ่งภาคธุรกิจต้องเตรียมตัวรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและเตรียมพร้อมเรื่องแรงงาน

ดอกเบี้ยขาขึ้นเต็มตัว

จากภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวทำให้มีการปรับเพิ่มดอกเบี้ย ยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นเร้วและแรงกว่าฝั่งประเทศในอาเซียน สำหรับประเทศไทย แบงกชาติมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 2.00-2.50% ในช่วง 2 ปีนี้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยของเฟด ตลาดคาดแตะ 5.00-5.25% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566

การถูกกดดันจากภาวะต้นทุนทำธุรกิจสูงขึ้น

ต้นทุนราคาพลังงานสูงขึ้นจากค่าไฟฟ้าเป็นหลัก เมื่อราคาก๊าซธรรมชาติในปี 2566 จะสูงต่อเนื่อง กดดันให้เป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยค่าไฟฟ้าในรอบเดือนมกราคม-เมษายน ปรับเพิ่มขึ้นไปถึง 5.33 บาทต่อหน่วย สูงสุดเป็นประวัติการณ์

ส่วนราคาน้ำมันมีแนวโน้มผันผวน คาดว่าราคาน้ำมันขายปลีกยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล เพราะภาครัฐจำเป็นต้องเก็บเงินชดเชยเข้ากองทุนน้ำมันฯ
ต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2565 กระทบภาคเกษตรกรรม ก่อสร้าง โรงแรม สันทนาการ ค้าปลีก และอุตสาหกรรม ที่เน้นการใช้แรงงานเเป็นหลัก เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าหรือเท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำ และมีสัดส่วนค่าจ้างต่อต้นทุนสูงถึง 10-20%

คาดว่าเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงตลอดปี 2566 จากต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นทั้งเรื่องค่าไฟและค่าแรงเป็นหลัก รวมๆต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นรอบด้านส่งผลให้ราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและกระจายไปหลายหมวดสินค้า ซึ่งสินค้าบางชนิดเมื่อราคาเพิ่มขึ้นแล้วจะไม่ค่อยปรับลดลง

 

ติดตามชมรายการ TOMORROW ข่าวธุรกิจและสาระความรู้ ทาง Youtube TODAY – สำนักข่าวทูเดย์ 

คลิกชมรายการ TOMORROW

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า