SHARE

คัดลอกแล้ว

คุ้นชินกันมานาน แต่จากนี้ต้องจำใหม่ กับการใช้ “ตัวย่อ” คำว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ที่เคยเป็น ส.ส. และ สมาชิกวุฒิสภา ย่อว่า ส.ว. แต่ล่าสุดทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้ประกาศชี้แจงเหตุผลและให้ใช้คำย่อเป็น สส. และ สว.

น.ส.กุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นักวรรณศิลป์ชำนาญการพิเศษ กองศิลปกรรม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวย่อ คำว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภา จาก ส.ส. และ ส.ว. เป็น สส. และ สว. เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 66 ไว้ดังนี้

ในภาษาเขียนควรเขียนคำต่างๆ เป็นคำเต็ม เพื่อให้สื่อสารได้ชัดเจน หากจำเป็นต้องย่อ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้กำหนดหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อไว้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำย่อให้ใช้เป็นแบบแผนเดียวกัน ดังปรากฏในหนังสือ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และเครื่องหมายอื่นๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 7 (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2541

เมื่อพิจารณาย่อคำว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” และ “สมาชิกวุฒิสภา” ตรงกับหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ข้อ 3 และ 9 คือ

3. ถ้าเป็นคำประสม ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ เช่น

ชั่วโมง = ชม.

โรงเรียน = รร.

9. ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ ตัวย่อตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ยกเว้นตัวที่ใช้มาก่อนแล้ว เช่น

ตำบล = ต.

รองศาสตราจารย์ = รศ.

พุทธศักราช = พ.ศ.

ดังนั้น คำว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” จึงย่อเป็น “สส.” และ “สมาชิกวุฒิสภา” จึงย่อเป็น “สว.” เนื่องจากคำว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” และ “สมาชิกวุฒิสภา” เป็นคำประสม จึงใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำมาเขียนเป็นคำย่อ และไม่ได้เป็นคำที่ใช้มาก่อน (เช่น “พุทธศักราช” ย่อว่า “พ.ศ.”) หรือเป็นชื่อเฉพาะ (เช่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ย่อว่า สำนักงาน ก.พ.) หรือเป็นคำย่อที่ใช้ตามกฎหมาย (เช่น อักษรศาสตรบัณฑิต ย่อว่า อ.บ.) โดยจุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว

อย่างไรก็ดี มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงมีการเขียนคำย่อเป็น “ส.ส.” และ “ส.ว.” ด้วย ในเรื่องนี้มีที่มาจากพัฒนาการในการใช้คำย่อ กล่าวคือ ก่อนที่จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อของราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) เพื่อเป็นแนวทางในการใช้คำย่อให้เป็นแบบแผนเดียวกัน พบการเขียนคำย่อในภาษาไทยทั้งแบบที่จุดคั่นทุกตัวอักษร และแบบที่จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ในทำนองเดียวกับการเขียนคำย่อในภาษาอังกฤษ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เดิมพบใช้ว่า U.S.A. และต่อมาใช้ USA. ซึ่งปัจจุบันมักใช้ USA แต่ด้วยการใช้เครื่องหมายจุดในคำย่อภาษาอังกฤษไม่มีผลต่อความหมายคำ เนื่องจากประโยคภาษาอังกฤษเขียนเว้นวรรคเป็นคำๆ ไม่ได้เขียนคำต่อเนื่องกันอย่างภาษาไทย

ส่วนการเขียนคำย่อในภาษาไทยจำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุดในคำย่อ โดยเว้นวรรคหน้าคำย่อ เพื่อให้ทราบว่าคำย่อนั้นเริ่มต้นจากตัวอักษรใด เช่น สวนสาธารณะของ กทม.หลายแห่งจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อของภาษาไทยให้ใช้เป็นแบบแผนเดียวกัน โดยเผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ รายงานประจำปี 2529 ราชบัณฑิตยสถาน และได้พิมพ์อยู่ในหนังสือ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค และหลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 5 (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2533 จนถึงฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2551 ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดมาแต่เดิมและใช้สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า