SHARE

คัดลอกแล้ว

ETDA Sandbox เปิดสนามสร้างนวัตกรรมสู่ชีวิตดิจิทัล

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบดิจิทัลมีความสำคัญมาในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่ากังวลทั้งในส่วนของผู้ให้บริการและผู้รับบริการคือช่องว่างที่อาจทำให้เกิดการโจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้น ทำให้เรื่องมาตรฐานระบบบริการและการป้องกันถูกให้ความสำคัญอย่างมาก
เอ็ตด้า (ETDA) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงเปิดสนามทดสอบนวัตกรรม Sandbox ส่งเสริมภาครัฐและธุรกิจพัฒนานวัตกรรม ก่อนนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อรองรับโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่มีความมั่นคงปลอดภัยน่าเชื่อถือ ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการจัดงาน ‘Open ETDA Sandbox เปิดบ้าน แชร์ไอเดีย ร่วมสร้างนวัตกรรมสู่ชีวิตดิจิทัล’ เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงาน พร้อมทิศทางของ ETDA Sandbox ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมสู่การใช้งานจริงทั้งในภาครัฐและเอกชน

⚫️ ETDA Sandbox คืออะไร

ETDA ได้ดำเนินโครงการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Service Sandbox) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์เข้าร่วมทดสอบ เช่น ผู้ให้บริการหรือผู้ที่ประสงค์จะให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งรัฐ เอกชน สตาร์ทอัพ หรือ ผู้ให้บริการ สามารถนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในด้านต่างๆ และสามารถเข้าร่วมทดสอบนวัตกรรมหรือบริการที่มี ก่อนที่จะนำไปใช้บริการจริง เพื่อให้สามารถรองรับโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งประชาชนได้ใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กล่าวถึงเป้าหมายของ Digital Service Sandbox มีเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและบริการ โดยให้มีการให้บริการจริงภายใต้สภาพแวดล้อมที่จำกัด โดยนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าร่วมทดสอบประกอบด้วย บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาใช้ ทั้งนี้อาจเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีการนำมาใช้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาก่อน หรือมีความแตกต่างจากบริการที่มีอยู่แล้ว ตลอดจนการร่วมกันเป็นผู้ร่วมออกแบบ ในลักษณะของพาร์ทเนอร์ที่ช่วยกันคิดหรือเสนอแนะไอเดีย เพื่อการส่งเสริมนวัตกรรม ร่วมต่อยอดการใช้งานกับหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายการดำเนินงาน รวมถึง สิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับเจ้าของนวัตกรรม และผู้ประกอบการที่จะไปใช้บริการ

⚫️ความแตกต่างของ ETDA Sandbox

โดยหน่วยงานอย่าง ETDA จะมีบทบาทเสมือนเป็นพี่เลี้ยงในการทำหน้าที่ คอยให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่เจ้าของนวัตกรรม ในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐาน กฎหมายที่มีอยู่เดิมหรือกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. …. ที่อยู่ระหว่างพิจารณาของสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น

“การผลักดันในการนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและธุรกิจ หลายหน่วยงานต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรมทางดิจิทัล ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นตัวช่วยสำคัญสร้างให้เกิดความเชื่อมันด้านความปลอดภัย และ ETDA จะดูรายละเอียดในการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ ซึ่งในอนาคตคาดหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้ยังได้นำระบบ AI มาใช้ เพิ่มความราบรื่นในการใช้งานได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้กับงานด้านสาธารณสุข อย่างการออกใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผลตรวจโรคโควิด-19 แล้ว เชื่อว่าผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมจะร่วมขับเคลื่อนเต็มที่ Sandbox ของ ETDA เกิดขึ้นจากความต้องการของการใช้งานและความพร้อมของเทคโนโลยี ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานที่เหมาะสม และมีแนวทางที่สอดคล้องกับการใช้งานที่ถูกต้องตามกฎระเบียบข้อบังคับ ทำให้ผู้ใช้งานคลายความกังวล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยอมรับ” ดร.ชัยชนะ กล่าว

⚫️Sandbox เสริมศักยภาพผู้ประกอบการ

นางทิพยสุดา ถาวรามร คณะกรรมการกำกับ ETDA และที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า การดำเนินงานของผู้ใช้บริการมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่อง Digital ID เป็นเรื่องที่สำคัญในบริการหลายอย่างที่ต่อยอดได้ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่พบว่า ยังไม่มีการนำระบบใดๆ มาใช้ได้เต็มรูปแบบหรือรองรับ เช่น วัคซีนพาสปอร์ต จึงอยากให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการทดสอบ เมื่อออกไปแล้วสามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยคาดหวังว่า จะมีบริการที่เข้าแซนด์บ็อกซ์ได้นำไปใช้ในวงกว้างขึ้นไม่ใช่การใช้ประโยชน์เพียงการลดกระดาษ แต่จากที่ผ่านมาพบอุปสรรคทางด้านกฎหมาย เช่นการย้ายทะเบียนบ้าน จึงต้องอาศัยการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ

⚫️ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ เทคโนโลยีช่วยลดการโจรกรรมทางการเงิน
นางวิจิตรเลขา มารมย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้นำเทคโนโลยีใช้กับการทำธุรกรรม เช่น คิวอาร์โค้ด อีเพลย์เม้นท์ การสร้างมาตรฐานดูแลด้านความเสี่ยง ป้องกันกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงทำธุรกรรม เมื่อได้รับการประสานธนาคารแห่งประเทศไทยจะเร่งเข้าไปดูแลและช่วยเหลือ ซึ่งได้เปิดสายด่วน 1213 รองรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน นอกจากนี้จะต้องพัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ประชาชนแต่ไม่ต้องเป็นภาระผู้ประกอบการ
“สิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือ อยากให้ผู้ใช้งานมีความรู้เท่าทันในเรื่องนี้ด้วย เพื่อเป็นด่านแรกในการป้องกันตัวเอง ส่วนแซนด์บ็อกซ์คือจะเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยี และความเสี่ยงของผู้ให้บริการที่เข้ามาทดสอบ ว่ามีจุดไหนบ้างที่ผู้ให้บริการยังไม่สามารถที่จะปิดความเสี่ยงนั้นได้ และเมื่อมองไปถึงการให้บริการในวงกว้างผู้ให้บริการมีศักยภาพที่จะดูแล หรือคุ้มครองผู้บริโภคในวงกว้างนั้นได้มากน้อยแค่ไหน ตรงนี้จะเป็นจุดที่แซนด์บ็อกซ์สามารถที่จะมาช่วยคัดกรองได้ และช่วยดูความพร้อมของผู้ให้บริการ ว่าดูความเสี่ยงของผู้ให้บริการทุกเรื่องได้อย่างเหมาะสม และสามารถรับผิดชอบต่อผู้บริโภคได้ หรือมีช่องทางในการติดต่อ ช่วยเหลืออย่างไรบ้าง” นางวิจิตรเลขากล่าว

ปัจจุบัน ETDA ได้เปิดศูนย์ร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212CC ในการช่วยเหลือประชาชน โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและ (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ศูนย์ต่อต้านข้อมูลข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับเรื่องราวร้องทุกข์และประสานส่งต่อปัญหาต่างๆ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “หลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคแล้ว แน่นอนว่าอาจจะไม่สามารถตอบคำถาม หรือแก้ปัญหาให้ได้ แต่จะมีหน่วยงานที่ร่วมมือ 5 หน่วยงานหลัก รวมไปถึงสมาคมธนาคารไทยด้วย” ดร.ชัยชนะ ระบุ
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมี 1213 ที่ให้การดูแลสายตรง ศูนย์ข้อมูลผู้ใช้บริการทางการเงิน ซึ่งสามารถให้ผู้บริโภคสามารถติดต่อได้ “เรามีความเข็มแข็งในเรื่องนี้ โดยหลังได้รับเรื่องร้องเรียน จะประสานกับทั้งหน่วยงานภายในเพื่อมาตอบข้อซักถาม รวมทั้งประสานกับสถานบันการเงินที่เกี่ยวข้องด้วย และหากเราเห็นว่ามีกรณีร้องเรียนลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นจำนวนมาก ก็จะไม่ทำในลักษณะการตั้งรับแล้ว เพราะว่ามีการร้องเรียนเราถึงไปช่วยแก้ และควบคุมความเสียหาย โดยจะพยายามทำให้เป็นลักษณะการทำงานแบบเชิงรุก เช่นการส่งเสริมความรู้ สร้างความร่วมมือกับธนาคารที่จะต้องมีมาตรการดูแลลูกค้า ถ้าเกิดเหตุบ่อยๆ หรือเป็นประจำธนาคารแห่งประเทสไทยจะไม่นิ่งนอนใจแน่นอน” นางวิจิตรเลขา กล่าว

⚫️ ประสบการณ์ผู้ทดลอง ETDA Sandbox

นายวรพจน์ ธาราศิริสกุล บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเจมาร์ท ได้นำนวัตกรรมการประชุมออนไลน์มาทดลอง เล่าว่า บริษัทมีหน้าที่การหาเทคโนโลยีเพื่อทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น และนำไปต่อยอดให้คนภายนอกสามารถนำมาใช้ได้ โดยสิ่งที่ได้นำมาทดลองในแซนด์บ็อกซ์มี 2 เรื่องคือ ดิจิทัลไอดี ที่ใช้ในการยืนยันตัวตนได้ทางออนไลน์ ทำธุรกรรมได้ทางออนไลน์ได้เลย อีกส่วนคือดิจิทัลโหวตติ้ง ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาทำระบบการโหวต เมื่อนำมารวมกันทำให้มีนวัตกรรมที่นำใช้ในงานสำคัญๆ ของบริษัทได้ ซึ่งเหมาะกับการประชุมนิติคอนโดและการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งได้ทำตามระบบนโยบายของ EDTA เมื่อทำแล้วก็อยากให้มีการแนะนำ ช่วยตรวจสอบ ช่วยในการประสานกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้มาตรฐาน การออกแบบ ทุกเทคโนโลยีจะมีการให้คำปรึกษาตลอด

ขณะที่นายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด กับนวัตกรรมเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลในกลุ่มธุรกิจ สินเชื่อดิจิทัลที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลในภาคธุรกิจในอนาคต กล่าวว่า ปัญหาที่ผ่านมาพบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารทำธุรกรรมการเงิน แม้ว่าประเทศไทยเรามีบัตรประชาชนที่เป็นสมาร์ทการ์ด แต่ยังต้องใช้สำเนาอยู่ การทำธุรกรรมกระดาษเป็นดิจิทัล ซึ่งคนมักจะเกิดความกลัว แต่สิ่งที่ทำคือไม่น่ากลัวและมีมาตรฐานที่ ETDA ช่วยวางมาตรฐานจึงเข้ามาร่วมตรงนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า