SHARE

คัดลอกแล้ว

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประชุมทางไกลร่วมกับ 5 องค์กรด้านการศึกษา นำเสนอผลวิจัยแนวทางใช้มาตรการส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปความเสมอภาคทางการศึกษา

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รอง ผอ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดเผยว่า ได้รับเชิญจากมูลนิธิเลโก้หรือ LEGO Foundation เข้าร่วมประชุมประจำปีของมูลนิธิ LEGO Idea Conference ในหัวข้อ Creating Systems-how can education systems reform to enhance learners creativity skills? ซึ่งมุ่งสังเคราะห์ประสบการณ์การปฏิรูประบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติให้สามารถส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อกำหนดวาระการปฏิรูปและการพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนรู้ในระบบการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

โดย กสศ. ได้รับเชิญร่วมเวทีสังเคราะห์ประสบการณ์ปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับผู้กำหนดนโยบายอีก 4 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สก็อตแลนด์ และเวลส์ จึงได้นำเสนอประสบการณ์การทำงานร่วมกับองค์การ OECD และอีก 14 ประเทศ ในการวิจัยพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ ซึ่งได้ทดลองประสบความสำเร็จแล้วในโรงเรียน 400 แห่งทั่วประเทศที่ดำเนินการมาแล้ว 3 ปี นับเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมอย่างมากในการใช้เครื่องมือนี้หนุนเสริมกระบวนการปฏิรูปความเสมอภาคทางการศึกษาเชิงระบบทั้งในด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและเพิ่มคุณภาพการศึกษาควบคู่กันไป เนื่องจากกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่มีเด็กกลุ่มเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา

ดร.ไกรยศ ระบุว่า จากการสำรวจผู้จ้างงานตลอด 5-10 ปีที่ผ่านมา ทักษะความคิดสร้างสรรค์เป็น 1 ใน 3 ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นที่ต้องการสูงสุดในตลาดแรงงานทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย หากเด็กเยาวชนได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะดังกล่าวตั้งแต่ในวัยเรียน ย่อมจะเป็นประโยชน์ทั้งในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคต ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม หากเด็กเยาวชนในครอบครัวที่มีรายได้น้อยได้รับการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้น ช่วยให้พวกเขาสามารถนำพาครอบครัวก้าวออกจากความยากจนได้ในอนาคต ทักษะความคิดสร้างสรรค์ยังเป็นประโยชน์ต่อการก้าวออกจากประเทศรายได้ปานกลางสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน 20 ปีของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความท้าทายของสังคมสูงวัยในปัจจุบัน ซึ่งประชากรที่ออกจากกำลังแรงงานมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยแรงงานรุ่นใหม่ที่เข้าสู่กำลังแรงงาน ดังนั้นหากสัดส่วนกำลังแรงงานรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง มีผลิตภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นด้วยทักษะความคิดสร้างสรรค์ ที่จะเป็นประโยชน์ในเมื่อถูกใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในยุค 5G ย่อมจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่มั่นคงและยั่งยืนได้ในอนาคต สู่การก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลางเป็นประเทศรายได้สูงตามเป้าหมาย 20 ปีของประเทศ

ด้าน นายจอห์น กู๊ดวิน ผู้บริหารของมูลนิธิเลโก้ กล่าวว่า จากการประชุมในครั้งนี้สามารถสรุป 10 บทเรียนความสำเร็จในการปฎิรูปเพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1.การเรียนรู้ผ่านการเล่น 2.การสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ 3.การเป็นหุ้นส่วนพันธมิตรระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ไม่เพียงแค่หน่วยงานรัฐ 4.การแบ่งปันความเข้าใจ ภาษา และนิยามของความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้ในวงกว้าง 5.องค์กรระหว่างประเทศสามารถเข้ามาสนับสนุนการปฎิรูปได้ 6.คุณครูและผู้นำท้องถิ่นมีบทบาทหลักในการปฎิรูป 7.หลักสูตรที่ชัดเจนจะเป็นแนวทางให้กับนักเรียนและคุณครู 8.ภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์ 9.การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบถือเป็นหลักการสำคัญ และ 10.การประเมินวัดผล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า