Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 กสศ. เปิดผลสำรวจสถานการณ์เด็กหลุดออกนอกระบบหลังเปิดเทอมใหม่ พบเด็กกลุ่มใหม่ในครัวเรือนจนเฉียบพลัน ส่งผลเด็กหายไปจากระบบแล้ว 10% และยังหลุดต่อเนื่อง ชุมชนแออัด กทม. พบหนี้นอกระบบเพิ่มหลายครอบครัวกู้เงินผ่อนมือถือเรียนออนไลน์

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า วิกฤตโควิด-19 ทำให้เกิดปรากฏการณ์ความยากจนซ้ำซ้อน และากจนเฉียบพลัน จนถาวร และเกือบจน สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจ โดยในปีการศึกษา 2564 พบว่าจะมีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาประมาณ 6,568 คน และคาดว่าอีกประมาณ 1 เดือนจากนี้จะเพิ่มเป็นหมื่นคน และคาดการณ์ว่าสิ้นปีการศึกษา 2564 จะมีเด็กหลุดจากระบบ 65,000 คน แบ่งเป็น

  • ระดับชั้นประถมศึกษาราว 4 %
  • มัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ที่ 19 – 20 %
  • มัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ที่ 48 %

ในจำนวนนี้โอกาสเข้ามหาลัยได้เพียง 8 – 10% กสศ.อุดหนุนช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษอยู่ที่ปีละ 3,000 บาท โดยต้นทุนการศึกษามีค่าใช้จ่ายแฝง เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ประมาณ 2,058 – 6,034 บาท ทำให้การเรียนต่อเป็นไปไม่ได้ โดยนโยบายการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวก็ใช้อัตราเดิมมา 10 กว่าปี ไม่มีการปรับเพิ่มท่ามกลางสถานการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น รายได้ลด หนี้นอกระบบเพิ่ม ดังนั้นจะต้องเร่งแก้ปัญหาจริงจัง โดยการปรับเงินอุดหนุนรายหัว ค่าเล่าเรียน ค่าเสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน ให้สอดรับกับค่าใช้จ่ายจริง ไม่เช่นนั้นในภาคเรียนที่ 2 จะมีเด็กหลุดจากระบบมากขึ้น และเป็นวิกฤติของประเทศ พร้อมเสนอให้มีการประนอมหนี้การศึกษา เรียนฟรีแบบไม่มีค่าเทอม และการหาทางช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครอง

“ค่าน้ำมันรถไปกลับวันละประมาณ 40 บาท เดือนละ 800 บาท ผู้ปกครองมีรายได้ 1,077 บาทต่อคนต่อเดือน จะไปรอดหรือ นี่เป็นปัญหาหนักมาก เด็กที่เพิ่มมากขึ้น 7-8 แสนคนที่ยากจน ถ้าเอาเส้นรายได้ 1,021 บาท   จะมีเด็กยากจนพิเศษ 9 แสนคน  ถ้าใช้เส้นแบ่ง 1,388 บาท จะเกิดเด็กยากจนและยากจนพิเศษ 1.9 ล้านคน  เด็กเพิ่มขึ้น 2 – 3 เท่า แต่เราช้อนได้เพียง 10 – 15 % เท่านั้น  ทั้งนี้ กสศ.จะมีการประชุมบอร์ดเพื่อกำหนดทิศทางใน 3 ปีข้างหน้าในท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ที่ไม่ลดลง ว่าจะกำหนดบทบาทภารกิจอย่างไรเพื่อช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวเปราะบางให้ดียิ่งขึ้นให้ได้” ศ.ดร.สมพงษ์กล่าว

ด้านนายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน หัวหน้าโครงการสนับสนุนองค์ความรู้และพัฒนาเครือข่ายครูและเด็กนอกระบบการศึกษาในกรุงเทพมหานครบนฐานภาคประชาสังคม กสศ. กล่าวว่า ผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่ กทม. รุนแรงกว่าพื้นที่อื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ แรงงานภาคบริการ มีแนวโน้มภาระหนี้สินนอกระบบเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะหนี้สินจากการศึกษา รายงานจากชุมชนพบว่า พ่อแม่ผู้ปกครองบางรายต้องไปกู้เงินนอกระบบเพื่อซื้อสมาร์ทโฟนให้บุตรหลานเรียนออนไลน์ กลายเป็นหนี้ระยะยาวดอกเบี้ยสูง เกิดความตึงเครียดในครัวเรือน หรือถ้าไปโรงเรียนได้ก็จะไม่มีเงินค่าเดินทาง แนวโน้มในอีกสองเดือนอาจนำไปสู่การหลุดจากระบบการศึกษาหลายหมื่นคน ซึ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสูงขึ้น

“แนวทางแก้ปัญหานั้นจะต้องช่วยเหลือลงไปสองส่วน คือ ส่วนแรกด้านครัวเรือนที่จะต้องเน้นความช่วยเหลือไปยังกลุ่มเป้าหมายชุมชนแออัด ไซต์งานก่อสร้าง หรือครัวเรือนนอกชุมชนก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งจะต้องไปดูความต้องการว่าอยากให้ช่วยเหลือด้านใดบ้าง และระยะกลางจะต้องทำให้เกิดการจ้างงาน ส่วนที่สองคือด้านการศึกษาทั้งการลดค่าใช้จ่ายภาคการศึกษา สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ ค่าเดินทาง ไปจนถึงการติดตามเฝ้าระวังเด็กที่จะหลุดจากระบบสร้างการป้องกันได้อย่างทันท่วงที ที่สำคัญคือต้องบูรณาการการทำงานจากแต่ละภาคส่วนมาร่วมแก้ปัญหาครั้งนี้”  นายอนรรฆกล่าว

นางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายกสมาคมสตรีสร้างสรรค์สังคมไทย โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จ.ภูเก็ต กล่าวว่า เหตุการณ์จากโรคระบาดครั้งนี้หนักกว่าสึนามิ ผลกระทบต่อเนื่องมาถึงครัวเรือนและเด็กเยาวชน  ภูเก็ตเคยเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับต้นของโลกก่อนจะเกิดวิกฤติ  ทำรายได้กว่า 440,000 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยประชากรต่อหัวต่อคนต่อเดือนอยู่ที่ 33,000 บาท แต่เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำรวจพบว่า รายได้ต่อคนต่อเดือนลดลงเหลือเพียง 1,961 บาท พ่อแม่ผู้ปกครองตกงาน 13 – 15 % และพบว่าเด็กหายไปจากระบบการศึกษาในวันเปิดเทอมที่ผ่านมา 10 % และยังมีกลุ่มที่มีโอกาสหลุดจากระบบในช่วงสิ้นภาคเรียนที่ 1 อีก

“หลายกรณีพ่อแม่เคยเป็นพนักงานโรงแรม แต่ตอนนี้รายได้เป็นศูนย์ ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม เด็กหลายคนสอบติดโรงเรียนรัฐ ต้องวางเงิน 3,000 – 4,500 บาท เมื่อไม่มีจ่ายต้องถูกลบชื่อออก หรือเด็กบางคนเคยเรียนเอกชน นานาชาติ แต่วันนี้ต้องลาออกเรียนโรงเรียนวัดหรือโรงเรียนรัฐ บางคนยังค้างค่าเรียนออกก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้วุฒิการศึกษา แม้ว่าจะขอทำสัญญาประนอมหนี้ขอวุฒิการศึกษาเด็กก่อนก็ยังไม่ได้ บางโรงเรียนไม่ให้เด็กเข้าห้องสอบเพราะไม่ได้จ่ายค่าเทอม วิกฤติแบบนี้แล้วเราจะทิ้งเด็กได้อย่างไร” นางอัญชลีกล่าว

นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงกับประชาชน ปัญหาทางเศรษฐกิจและการศึกษามีผลเกี่ยวเนื่องกัน แต่ละครัวเรือนย่อมนึกถึงปากท้องก่อนเรื่องการเรียน ต้องคิดเอาตัวรอดทำให้สุ่มเสี่ยงที่เด็กจะหลุดจากระบบการศึกษามากยิ่งขึ้นเพื่อไปหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว การเข้าสู่ตลาดแรงงานเร็วทำให้เป็นแรงงานค่าแรงถูกที่ไม่มีทักษะความรู้ จึงได้มีนโยบายให้จังหวัดทำงานเชิงรุก ป้องกันไม่ให้เด็กหลุดจากระบบ และได้ร่วมมือกับผู้ตรวจการแผ่นดินพาเด็กที่ครอบครัวตัดสินใจว่าจะไม่ส่งลูกเรียนต่อมาฝึกอาชีพเพื่อให้มีความรู้ ไม่ใช่แรงงานไร้ฝีมือ

ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์การศึกษาชี้วัคซีนตัวแปรหลัก ลดความเหลื่อมล้ำ ฟื้นคืนทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา โดย ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า ข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ iSEE พบว่ามีนักเรียนยากจนพิเศษ 1.17 ล้านคนหรือ 18% ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มยากจนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาสูงกว่ากลุ่มครอบครัวที่รวย 4 เท่า คือยิ่งจนยิ่งแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งในครอบครัวยากจนพิเศษ มีรายได้เฉลี่ย 1,077 บาทต่อเดือนต่อคน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงถึง 2,000-6,000 บาทต่อปี

ปัญหาเด็กนอกระบบไม่ใช่แค่ปัญหาการศึกษาแต่กระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย โดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดคำนวณว่าหากประเทศไทยไม่มีเด็กหลุดจากระบบจะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น 3% ขณะที่อดีตนักเศรษฐศาสตร์จากยูเนสโก ประเมินว่าการที่ประเทศไทยแก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษาได้จะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่า 228,000 ล้านบาทต่อปี รายงานธนาคารโลกล่าสุด ในเดือนมิถุนายน ระบุว่าการเข้าถึงวัคซีนเป็นตัวแปรสำคัญต่อสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศต่างๆ เศรษฐกิจโลกขยายตัว 5.6% เร็วกว่าที่คาดไว้ 1.5% เพราะการมาของวัคซีน  ในขณะที่ประเทศยากจนกำลังพัฒนาเศรษฐกิจทรุดลง คนจนเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโตเพียง 2.9% ต่ำสุดในรอบ 20 ปี จะมีมากกว่า 100 ล้านคนที่กลายเป็น กลุ่มยากจนสูงสุด ดังนั้นควรเร่งการฉีดวัคซีนในครู ในเด็กหากทำได้ และในภาพรวม ควรฉีดให้ได้ 90% เพื่อการฟื้นกลับคืนทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษาโดยเร็วเพราะจะทำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่การฟื้นฟู และยิ่งเปิดเรียนเร็วเท่าไหร่ยิ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเท่านั้นโดย ผลกระทบจากการปิดเรียน 4 เดือน ส่งผลต่อจีดีพีไทย 9.12 แสนเหรียญสหรัฐ”

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ วุฒิสมาชิก ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าวว่า ข้อมูลจากธนาคารโลกชี้ว่าปี 2562 คนยากจนในประเทศไทยมีจำนวน 3.7 ล้าน ปี 2563 พบมีคนยากจน 5.2 ล้านคน เพียงแค่ 1 ปี มีคนยากจนเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านคน ปี 2564 คนยากจนอาจเพิ่มขึ้น 6.7 – 7 ล้านคน เพราะปัญหาเศรษฐกิจยังหนัก คนยากจนเพิ่มมากขึ้น คนเหล่านี้รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล  ในบรรดาปัญหาทั้งหมดในประเทศไทยคิดว่าปัญหาการศึกษาเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด รัฐบาลควรทำเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อการศึกษา สำหรับคนยากจนที่รัฐบาลมุ่งเป้าไปเลยว่าครอบครัวไหนยากจน เข้าไม่ถึงการศึกษาจริง และรัฐบาลจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น เช่น ให้งบประมาณเดือนละ 5 หมื่นล้านตลอด 1 ปี รวมประมาณ 6 แสนล้านบาทต่อปี คาดว่าประมาณปี 2566 รัฐบาลจะคลี่คลายปัญหาดังกล่าวได้

“การจัดตั้งกองทุนเราดูแลแบบตรงเป้า คิดว่าภาครัฐไม่ควรทำงานคนเดียว ต้องทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนเป็นจิตอาสาสำรวจความขาดแคลน สำหรับเงิน 5 หมื่นล้านบาทต่อเดือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ของรัฐบาล ตัดงบก่อนสร้าง งบกองทัพ  รัฐบาลหาเงินได้แน่นอน แต่สิ่งที่รัฐบาลจะได้ประโยชน์ในระยะยาว คือจะคลี่คลายได้โดยเร็ว” รศ.ดร.สังศิต กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า