Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สหรัฐฯ เผยแพร่รายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี ชี้ทั่วโลกยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและคุกคามประชาธิปไตยเกิดขึ้นให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เสรีภาพการแสดงออกและสื่อสาร ยังเป็นปัญหาสำคัญของไทย

วันที่ 13 เม.ย. 2565 กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆ ประจำปี 2564 (2021 Country Reports on Human Rights Practices) ระบุหลายประเทศยังพบการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีการบิดเบือนทางประชาธิปไตยเกิดขึ้นในหลายทวีป รวมถึงการใช้อำนาจเผด็จการคุมคามสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย โดยสถานการณ์ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ 

รายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เผยให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนว่าสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยทั่วโลกกำลังตกอยู่ภายใต้การคุกคาม โดยชี้ไปยังการที่รัฐบาลของหลายประเทศมีการสั่งจำคุก ทรมาน หรือแม้แต่การสังหารฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง นักเคลื่อนไหว นักปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือนักข่าวอย่างไม่เป็นธรรม อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นกังวลจากการข่มขี่ข้ามชาติ ด้วยการที่รัฐบาลดำเนินการข้ามพรมแดนมาล่วงละเมิด ข่มขู่ หรือสังหารผู้เห็นต่างและผู้ที่พวกเขารัก ดังกรณีการบังคับเครื่องบินพาณิชย์ให้ลงจอดเพื่อจับกุมผู้สื่อข่าวฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซึ่งเกิดขึ้นที่เบลารุส

ขณะเดียวกัน รายงาน ‘2021 Country Reports on Human Rights Practices’ ยังได้สรุปสถานการณ์ที่เป็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ อย่างละเอียด โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น มีการระบุถึง “ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ได้แก่ การได้รับรายงานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ การทรมานและกรณีการปฏิบัติหรือการลงโทษอย่างโหดร้ายทารุณ ไร้มนุษยธรรม และเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจับกุมและคุมขังตามอำเภอใจโดยหน่วยงานของรัฐ นักโทษการเมือง การแทรกแซงทางการเมืองในศาล การแทรกแซงความเป็นส่วนตัวโดยพลการและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อกำจัดที่ร้ายแรงเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกและการสื่อสาร” 

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุถึงประเด็นเรื่อง “การจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล การเซ็นเซอร์ และกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา ข้อจำกัดที่ร้ายแรงเกี่ยวกับเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต การแทรกแซงเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและเสรีภาพในการรวมกลุ่มสมาคม ข้อจำกัดด้านเสรีภาพในการเคลื่อนไหว การส่งกลับผู้ลี้ภัยที่ถูกคุกคามต่อชีวิตหรือเสรีภาพของพวกเขา ข้อจำกัดในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง การทุจริตร้ายแรงของรัฐบาล การล่วงละเมิดองค์กรสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ การค้ามนุษย์ รวมไปถึงข้อจำกัดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการรวมกลุ่มสมาคมของแรงงาน”

รายงานชี้ว่า แม้ทางการไทยได้ดำเนินการบางอย่างเพื่อตรวจสอบและลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการทุจริต แต่การยกเว้นโทษต่อเจ้าหน้าที่ก็ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดชายแดนใต้ที่ยังมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกอย่างจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยที่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ในเกือบทุกพื้นที่ ยกเว้นเพียง 7 อำเภอของจังหวัดเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการลิดรอนชีวิตโดยพลการหรือการสังหารอื่นๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือมีแรงจูงใจทางการเมือง ในรายงานปีนี้พบว่ามีการปรับปรุงดีขึ้นกว่าปีก่อนๆ โดยไม่มีเหตุการณ์ที่รัฐบาลหรือตัวแทนของรัฐทำการสังหารพลเรือนโดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้มีการระบุถึงกรณีการทำร้ายบุคคลที่ถูกคุมขังจำนวนมาก ซึ่งโดยทั่วไปผู้กระทำการมักจะไม่ถูกลงโทษ และมีการร้องเรียนเพียงเล็กน้อยที่กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจล่วงละเมิดจนทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาต้องถูกลงโทษ ขณะที่สภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำยังคงแออัด ที่พักในเรือนจำและศูนย์กักกันบางแห่งมีไม่เพียงพอ และมีรายงานอย่างต่อเนื่องว่ามีคนแออัดมากเกินไปและการระบายอากาศไม่ดีพอ ส่งผลให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา รวมถึงปัญหาในเรื่องการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของนักโทษ 

รายงาน ‘2021 Country Reports on Human Rights Practices’ ยังมีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องเสรีภาพพลเมืองจากการแทรกแซงโดยพลการหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อความเป็นส่วนตัว ครอบครัว บ้าน หรือการติดต่อสื่อสาร ระบุว่ารัฐบาลมีการติดตามโซเซียลมีเดียและการสื่อสารส่วนตัวโดยมีการควบคุมดูแลอย่างจำกัด ทั้งยังขาดแคลนกลไกลที่โปร่งใสและกำหนดความรับผิดชอบในการสอดส่องของรัฐบาล ขณะที่กฎหมายบางฉบับก็ไม่ได้มีการระบุถึงการปกป้องความเป็นส่วนตัวของบุคคล แต่กลับให้อำนาจรัฐบาลในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการพิจารณาของศาลหรือมีการกำกับดูแลในรูปแบบอื่นๆ 

นอกจากนี้ ในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยยังมีการแนะนำการใช้งานแอปพลิเคชันบนมือถือเพื่อสังเกตและติดตามตัวบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง โดยต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และหมายเลขหนังสือเดินทาง และได้กำหนดให้ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยทุกคนต้องใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า