SHARE

คัดลอกแล้ว

ครูตชด. ฝ่าฝน-เส้นทางยากลำบากเพื่อเยี่ยมบ้านคัดกรองนักเรียนยากจน ชี้ โรงเรียนตระเวนชายแดนเป็นที่พึ่งของเด็กห่างไกล ด้อยโอกาส ฝากทั้งชีวิตและปากท้อง เผยหลายกรณี พี่น้องต้องสลับกันมาเรียน และขาดเรียนบ่อยเพราะต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน กสศ. เตรียมสนับสนุนทุนเสมอภาคราว 20 ล้านบาท แก่นักเรียนตระเวนชายแดนชั้น อนุบาล – ม.6 กว่า 10,000 คน เริ่มปีการศึกษา 2562

ช่วงเดือน กค.-สค. ที่ผ่านมา ครูสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 2,196 คนได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อบันทึกข้อมูลมาสนับสนุนการคัดกรองผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ด้วยวิธีวัดรายได้ทางอ้อม หรือ Proxy Means Test: PMT 

ด.ต.หญิง วิไล ธนวิภาศรี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านห้วยสลุง สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน อ.แม่ระมาด จ.ตาก กล่าวว่า โรงเรียนบ้านห้วยสลุงมีนักเรียนคละชั้น ประมาณ 80 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กชาติพันธุ์ หลายคนมีความต้องการเร่งด่วนเรื่องการจัดการศึกษา ดูแลความเป็นอยู่ด้านคุณภาพชีวิต สุขอนามัย รวมถึงความช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์การศึกษา ประสบปัญหาด้านระยะทาง และการเดินทางในพื้นที่กันดาร เด็กบ้านใกล้ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเดินเท้า บางส่วนที่ไกลออกไปต้องใช้บริการรถรับส่งรายเดือนซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 250-300 บาท ขณะที่เด็กซึ่งมาจากหมู่บ้านห่างออกไปประมาณ 50-60 กิโลเมตรในพื้นที่ดอยสูง หรือบ้านใกล้แต่ผู้ปกครองต้องออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทางโรงเรียนจัดอาคารพักนอนให้

“นักเรียนของที่นี่อยากมาโรงเรียนทุกวัน เพราะโรงเรียนเป็นเสมือน “บ้านหลังที่สอง”เป็นที่พึ่งพิง ไม่เพียงแต่จะฝากอนาคตไว้เท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นพื้นที่ที่เห็นความสำคัญของวัยเด็ก ซึ่งบางแง่มุม บ้านของพวกเขาอาจจะมอบให้ไม่ได้ เด็กบางคนเมื่ออยู่บ้านจะกลายเป็นกำลังแรงงานหลักของบ้าน ต้องทำงานบ้านหรือต้องไปใช้แรงรับจ้างเก็บผลผลิตทางการเกษตร เด็กบ้านไกลทุกคน จะบอกเหมือนๆ กันว่า มื้ออาหาร และที่พักอาศัย ที่ดีที่สุดที่พวกเขาได้รับนั้นอยู่ที่โรงเรียน เพราะเมื่อกลับบ้านแต่ละมื้อจะได้กินเพียงแค่ข้าวกับน้ำพริกและผักที่เก็บได้จากรอบๆ บ้านหรือละแวกใกล้เคียงเท่านั้น บ้านพักนักเรียนบางคนไม่มีฝาบ้านหรือเป็นเพียงเพิงพักชั่วคราวเท่านั้น โรงเรียนจึงกลายเป็นเหมือนบ้านอีกหลังหนึ่ง เป็นพื้นที่ที่พวกเขาฝากทั้งชีวิตและปากท้องไว้ในทุกๆ วัน” ครูใหญ่โรงเรียนวัดห้วยสกุล กล่าว

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กสศ. และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาก กล่าวว่า การเดินทางแต่ละครั้ง ของครู ตชด. ค่อนข้างยากลำบาก เพราะสภาพเส้นทางระหว่างโรงเรียน และบ้านของเด็ก นร.ตชด. ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงที่มีความทุรกันดาร โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน แต่ครู ตชด. ทุกคนก็มีความมุ่งมั่นและสามารถเก็บข้อมูลนักเรียนเข้ามาได้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด

ล่าสุดมีนักเรียนยากจนพิเศษในโรงเรียนสังกัดบก.ตชด. ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษาแล้วราว 10,000 คน ทั้งหมดนี้จะได้รับการจัดสรรทุนเสมอภาคจาก กสศ.ซึ่งประกอบด้วยเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานเพื่อนักเรียนยากจนที่นักเรียนกลุ่มนี้ยังไม่เคยได้รับการสนับสนุนมาก่อนจำนวน 500 บาท สำหรับเด็กอนุบาล-ประถมศึกษา และ 1,500 บาท สำหรับเด็กมัธยมศึกษาต่อเทอม และเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไขอีกจำนวน 1,000 บาทต่อเทอม รวมแล้ว นร.ตชด. จะได้รับทุนเสมอภาคคนละ 1,500-2,500 บาทต่อคนต่อเทอม ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา เพื่อใช้แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครอบครัวในรายการสำคัญ เช่น ค่าหนังสือเรียนและอุปกรณ์การเรียน ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน ค่าอาหาร ค่าครองชีพ ค่าพาหนะในการเดินทาง หรือจ้างเหมารถรับ-ส่งนักเรียน รวมทั้งกิจกรรมสร้างเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาในโรงเรียน เป็นต้น โดย กสศ. ได้เตรียมงบประมาณไว้ราว 20 ล้านบาทเพื่อ นร.ตชด. ในภาคเรียนที่ 1/2562 นี้

นอกจากนี้คณะวิจัย กสศ.ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโรงเรียนสังกัดบก.ตชด. พบว่า นักเรียนในโรงเรียนสังกัด ตชด. ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนพิเศษ ครัวเรือนมีรายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาลและหลายครอบครัวได้รับเพียงค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำหรือน้อยกว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่อายุไม่ตรงตามเกณฑ์เนื่องจากครอบครัวโยกย้ายถิ่นฐานบ่อย ตามแหล่งการจ้างงานของผู้ปกครอง บางส่วนขาดเรียนบ่อยเพื่อไปช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพหารายได้ บางครอบครัวนักเรียนที่เป็นพี่น้องก็สลับกันมาโรงเรียน ทำให้จำเป็นต้องสนับสนุนการเยี่ยมบ้านเพื่อให้ครูได้รู้จักสภาพความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กและครอบครัวอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคล เพื่อให้ครูและโรงเรียนนำข้อมูลเหล่านี้มาวางแผนสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาทั้งในมิติโอกาส และมิติคุณภาพให้แก่เด็กได้เป็นรายบุคคลอย่างยั่งยืน การที่ครูตชด.ลงพื้นที่ไปเยี่ยมบ้าน พบสภาพความเป็นอยู่จริง เป็นกระบวนการที่ทำให้ครูได้ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจปัญหาของเด็กแต่ละคนมากขึ้น ความเข้าใจนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนการสอน ซึ่งมีงานวิจัยระบุว่าถ้าครูมีความเข้าใจเด็กมากขึ้นเท่าใด คุณภาพการเรียนการสอนก็จะดีขึ้นเท่านั้น เพราะครูจะสามารถสอนเด็กได้เป็นรายบุคคล อย่างเต็มศักยภาพ โดยโรงเรียนสามารถใช้งบประมาณจากทุนเสมอภาคในการสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น หากภาคเอกชนใดสนใจที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษในโรงเรียนสังกัด บก.ตชด. เหล่านี้ สามารถบริจาคได้สมทบเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ 0-2 079-5475

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า