SHARE

คัดลอกแล้ว

การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วม กสศ. และ ทปอ. เดินหน้าพัฒนาระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษา ชี้ ปรากฎการณ์ The Lost Einsteins ในไทย สูญเสียเด็กช้างเผือกเพราะความยากจน พบมีเพียง 8 ใน 100 คนเท่านั้น ที่ได้เรียนมหาวิทยาลัย

ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ระดับอุดมศึกษา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ จึงให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาทั้งด้านโอกาส และคุณภาพ การลงนามในวันนี้จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่หน่วยงานของกระทรวงจะได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สร้างระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษา โดยการบูรณาการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลและใช้ข้อมูลนักเรียนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้ด้อยโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

“เรื่องนี้เป็นความพยายามปฏิรูปการศึกษา เราต้องสนับสุนนเต็มที่ ต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่ มิใช่ทำแบบงานประจำ ผลจากการให้โอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไม่ใช่แค่ช่วยให้คนที่ขาดแคลนได้ร่ำเรียนเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงความเป็นเลิศและคุณภาพทางการศึกษาของประเทศที่เพิ่มขึ้น” ศ.พิเศษ เอนก กล่าว

ศ.พิเศษ เอนกระบุอีกว่า ประเทศไทยมีช้างเผือกไม่น้อยที่มีคุณภาพสูง เพราะธรรมชาติของเด็กเหล่านี้จะมีความอดทน มุ่งมั่น พร้อมฝ่าฟันอุปสรรค เราจึงต้องนำพวกเขามาฟูมฟักและฝึกปรือ โดย อว. จะต้องมีการดูแลและจัดระบบการเรียนการสอน พร้อมทั้งระบบสนับสนุนเป็นพิเศษ เพื่อทำให้เด็กเหล่านั้นสามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวได้อย่างเต็มที่ เพราะ ช้างเผือกมักจะเกิดในป่าลึก หากได้พวกเขามาเป็นกำลังในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศ เขาจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนอื่นๆ ได้เห็นว่าผู้ด้อยโอกาสก็มีความสามารถหากได้รับโอกาสที่เหมาะสม เราจะเปลี่ยนจากผู้ด้อยโอกาสให้เป็นผู้มีโอกาส เป็นหัวกะทิทางการศึกษา ที่จะก้าวไปทำผลงานที่มีความสำคัญให้กับประเทศและในระดับนานาชาติ

“วันนี้ถึงเวลาที่เราจะส่งมอบข้อมูลนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษจำนวน 11,541 คน ที่ผ่านระบบ TCAS64 ได้สำเร็จ โดยทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เตรียมรับนักศึกษาเข้าอยู่ในความดูแล ทั้งนี้ได้กำหนดให้นโยบายการทำงานครั้งนี้ จะไม่เป็นเพียงเรื่องของการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาให้ดีขึ้น” ศ.พิเศษ เอนก กล่าว

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า ผลการวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ในสหรัฐอเมริกามากกว่า 1,000,000 คน พบว่า เด็กเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้สูงมีโอกาสมากกว่าเด็กเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อย 10 เท่า ในการเติบโตขึ้นเป็นนวัตกรที่สามารถจดสิทธิบัตรได้สำเร็จ ผลการวิจัยนี้ชี้ว่า เด็กช้างเผือก (Resilient Students) จากครัวเรือนยากจนที่สุดของประเทศ แม้จะมีพรสวรรค์มากเพียงใด แต่หากขาดโอกาสทางการศึกษาที่เสมอภาค และระบบนิเวศในการส่งเสริมการพัฒนาพรสวรรค์ในระยะยาว ก็ไม่สามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพได้ และประเทศจะสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ The Lost Einsteins สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากยูเนสโก ปี 2558 ระบุว่าเยาวชนจากครอบครัวที่ฐานะยากจนที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศมีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่สามารถศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ ต่ำกว่าเด็กที่มาจากครัวเรือนร่ำรวยที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศกว่า 6 เท่า
กสศ. มีฐานข้อมูลจากการสำรวจติดตามนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษปีละมากกว่าหนึ่งล้านคน แต่ละปีจะมีนักเรียนยากจนพิเศษมากกว่าหนึ่งแสนคน สำเร็จการศึกษาภาคบังคับในช่วง ม.3 เหลือนักเรียนเพียงหนึ่งหมื่นคนที่สอบผ่านระบบ TCAS ได้เรียนมหาวิทยาลัย หรือคิดเป็นเพียง 10% เยาวชนกลุ่มนี้คือช้างเผือกที่มีความสามารถ และนำมาสู่ความร่วมมือ ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อสนับสนุนการจัดสรรทุนการศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมากกว่า 80 แห่ง เพื่อให้เยาวชนกลุ่มนี้ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ก้าวไปเป็นทรัพยากรบุคคลระดับมันสมองของชาติต่อไป เชื่อว่าถ้าทำในส่วนนี้สำเร็จ จะถือเป็นการยกระดับการศึกษาของประเทศได้อย่างมาก

ดร.ประสาร กล่าวว่า ภารกิจ กสศ.ที่ทำมาตลอด คือป้องกันไม่ให้เด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาสหลุดจากระบบการศึกษา อย่างน้อยต้องจบการศึกษาภาคบังคับ อีกส่วนหนึ่งคือสนับสนุนให้เยาวชนกลุ่มนี้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงที่สุด ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษานี้แม้จะเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ในระยะยาวจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนการกำหนดและติดตามนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษาตลอดทุกช่วงวัยของประเทศที่สำคัญ ช่วยให้ประเทศไทยมีระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลรายบุคคลและรายสถานศึกษาระยะยาว (Longitudinal Database) ครอบคลุมเด็กเยาวชนที่มาจากครัวเรือนซึ่งมีรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านคนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ รวมถึงภาคเอกชน และประชาชน ช่วยเหลือให้สามารถศึกษาต่อไปจนถึงระดับสูงสุดตามศักยภาพตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยในอนาคต กสศ. มีแผนจะเพิ่มความครอบคลุมของระบบสู่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ผู้พิการ กำพร้า หรือกลุ่มชาติพันธ์ เป็นต้น เพื่อให้เด็กเยาวชนทุกคนในประเทศไทยมีหลักประกันโอกาสทางการศึกษา ไม่มีใครถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร กสศ. กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบอุดมศึกษา ควรเริ่มต้นขึ้นก่อนที่นักเรียนจะสมัครสอบเข้าการบูรณาการฐานข้อมูลตลอดทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัยถึงอุดมศึกษา ระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษา จะเป็นตัวเปลี่ยนเกม (Game Changer) ที่จะช่วยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งหน่วยงานวิจัยและนโยบายการอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องสามารถก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อค้นหาแนวทางการปฏิรูปเชิงระบบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาตั้งแต่ต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลายปัจจัยมีความหลากหลายและซับซ้อนไปตามบริบทของพื้นที่และครอบครัว ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานี้ แม้จะเป็นปัญหาระดับชาติ แต่ต้องการมาตรการระดับพื้นที่ จึงจะสามารถสร้างความก้าวหน้าในการปฏิรูปได้อย่างยั่งยืน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า