SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดอีกประตู… เพื่อเข้าถึงมหาวิทยาลัยในรูปแบบใหม่ เพราะแม้ “โควิด” จะทำให้ประตูรั้วของมหาวิทยาลัยต้องเปิดๆ ปิดๆ  แต่ไม่อาจปิดกั้นการเรียนรู้ในยุคใหม่ได้

โลกปัจจุบันขับเคลื่อนด้วย “ดิจิทัล” ไม่เว้นแม้อุตสาหกรรมการศึกษา สถาบันการศึกษาต่างๆ เปิด คอร์สออนไลน์ฟรี ให้ผู้ที่สนใจได้เลือกเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ รวมทั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ในย่านปทุมวัน ที่ต้องการเชื่อมต่อสังคม ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทุกหนทุกแห่ง

ทำความรู้จัก “บทบาทของมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong Learning) ผ่านการบอกเล่าของ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดีด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม จุฬาฯ

“เพราะเราเชื่อว่า มหาวิทยาลัยที่ต้องปิดเพราะสถานการณ์โควิด และปกติก็จะให้บริการเฉพาะนิสิตที่เข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัย ตอนนี้เราต้องเอาความรู้ที่จุฬาฯ มี กลับคืนไปให้สู่สังคม เป็นความรู้ที่สามารถเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ที่นั่งอาจจะเต็มเร็วบ้างช้าบ้างอยู่ที่ความสนใจในคอร์สนั้นๆ”

อาจารย์ปาริชาต บอกว่า ตั้งแต่อดีต จุฬาฯ ให้บริการบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย พร้อมๆ กับการดูแลนิสิตภายในรั้วมหาวิทยาลัย อย่างในอดีตที่ชัดเจน คือ สถานีวิทยุจุฬาฯ ที่ปัจจุบันก็ยังคงเดินหน้าให้บริการ โดยเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ปีนี้ สถานีวิทยุจุฬาฯ ได้ไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบวิทยุสาธารณะ ตามระเบียบของ กสทช. สมัยก่อนเวลาเรียนภาษาเยอรมันจากสถานีวิทยุจุฬาฯ ต้องเอาเทปมาอัด ถ้าครั้งไหนพลาดก็จะพลาดบทเรียนครั้งนั้นไปเลย แต่สมัยนี้ จุฬาฯ เพิ่มช่องทางและเปลี่ยนมาเป็นให้บริการแบบออนไลน์ ที่สามารถเรียน ทบทวน สอบวัดความกันได้เอง ไม่ว่าจะเรียนจากที่ไหน สามารถเรียนได้ทั้งในคอมพิวเตอร์ หรือผ่านโทรศัพท์มือถือ ทำให้การเรียนง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น

จุฬาฯ มีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่นิสิตและประชาชนทั่วไปในรูปแบบต่างๆ เช่น

– โครงการ CHULA MOOC คือ คอร์สเรียนออนไลน์ฟรีในรายวิชาต่างๆ เป็นคอร์สที่บันทึกไว้ให้เรียน ฝึกทักษะทางความคิด ความสามารถ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง

– คอร์สเรียนออนไลน์ CUVIP บรรยายสด 2 ชั่วโมง จากผู้รู้หลากหลาย เน้นการพัฒนาความรู้ ความคิด ทักษะและทัศนคติ ด้วยกิจกรรม และสาระความรู้ที่หลากหลายและเป็นประโยชน์

– แพลตฟอร์ม CU Neuron ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตนเองด้วยคอร์สออนไลน์ ในรูปแบบธนาคารเครดิต (Credit Bank) สะสมหน่วยกิตจากการเรียนไว้อย่างเป็นระบบ เมื่อเรียนสำเร็จจะได้รับประกาศนียบัตร สามารถนำผลการเรียนที่ได้มาเทียบโอนหน่วยกิตในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป ของจุฬาฯ ได้ในอนาคต

สำหรับ คอร์สออนไลน์ของจุฬาฯ นั้นปัจจุบัน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. ภาษา 2. เทคโนโลยี 3. การจัดการ 4. ศิลปะ พัฒนาตนเอง 5. สุขภาพ โดยคอร์สที่เปิดปุ๊บเต็มปั๊บอันดับแรกๆ อาจารย์ปาริชาต บอกว่า ยุคนี้เป็นคอร์สที่เกี่ยวกับ Data science, การเงินในชีวิตประจำวัน, กฎหมายใกล้ตัว, ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน, การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับพนักงาน รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 แต่สำหรับคอร์สที่อาจจะยังมีที่ว่างอยู่มากหน่อย อาทิ การดูแลตนเองเพื่อการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีมีความสุข ซึ่งความจริงคอร์สนี้ไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น เป็นการเตรียมตัวเองสำหรับอนาคตก็ได้

เราอยากจะเป็นเสาหลักของแผ่นดิน เราก็ต้องเอาความรู้นั้นไปถ่ายทอดให้กับสังคม และเราก็ต้องมั่นใจว่าความรู้นั้นดีมีประโยชน์ พร้อมปรับปรุงให้เกิดคุณภาพดียิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ความรู้จะออกมาเป็นชุดวิชา ต้องมีการพูดคุยกันระหว่างอาจารย์ว่าคอร์สไหน หัวข้อไหนน่าสนใจ ขอให้พัฒนาขึ้น มีทีมถ่ายทำให้น่าสนใจ น่าสนุก ไม่ใช่คอร์สออนไลน์ เด็กเรียนไปปิดกล้องไป แต่จะต้องน่าตื่นเต้น มีสีสัน น่าสนุก ขณะเดียวกันสามารถตรวจสอบตัวเองได้ว่าตนเองเข้าใจบทเรียนหรือไม่ เพื่อสอบให้ผ่าน และได้ประกาศนียบัตรในการเข้าเรียน

“เราเชื่อว่าทุกคนเรียนได้ มีความสามารถ เพียงแต่ความเร็วความช้าอาจจะไม่เท่ากัน นี่คือโอกาสในการพัฒนาตนเอง เรามีหน้าที่สนับสนุนให้คนตื่นตัวในกระบวนการเรียนรู้ตรงจุดนี้ เราเป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ ในการผลิตชุดวิชา และเราไม่ใช่เจ้าของศาสตร์ต่างๆ ทั้งหมด แต่เมื่อมีทักษะจุดนี้ อย่างน้อยจะทำให้เกิดความ “โหย” อยากเรียนรู้ จะได้แสวงหาจากเครื่องมืออื่นๆ ช่องทางอื่นๆ ซึ่งวันนี้อุตสาหกรรมการศึกษาโดยเฉพาะแพลตฟอร์มออนไลน์มากมาย และไม่ได้มีแค่ในประเทศมหาวิทยาลัย มีมาจากต่างประเทศ รวมทั้งเอกชนต่างๆ ด้วย”อาจารย์ปาริชาต ย้ำ

ปักหมุด “เปิด Campus” เดือนสิงหาคมนี้

อาจารย์ปาริชาต  เล่าเป้าหมายระยะสั้นในปีนี้ที่อยากให้เกิดขึ้นให้ได้ว่า “จุฬาฯ เชื่อว่าเรียนออนไลน์ ไม่ใช่คำตอบเดียวของโลกแห่งอนาคต เชื่อว่ามนุษย์ต้องมาเจอกัน การทำกิจกรรม ปฏิสัมพันธ์ เป็นสิ่งสำคัญ ทางจุฬาฯ ปักหมุดแล้วว่า เดือนสิงหาคมปีนี้ จะเปิด Campus ซึ่งไม่ใช่เปิดให้แค่นิสิต แต่สำหรับบุคคลทั่วไปด้วย ได้เข้ามาเรียนรู้ในจุฬาฯ ซึ่งได้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยสีเขียว โดยได้ปรับพื้นที่ส่วนต่างๆ ให้น่าสนใจทันยุคทันสมัย เช่นส่วนที่ใกล้กับสามย่านมิตรทาวน์ มีภาพกราฟิตี้ ที่สามารถนำมือถือไปจ่อ จะลิงก์เข้าไปที่ข้อมูลของศิลปิน เราหวังว่าถ้าสถานการณ์ดีขึ้น จะได้ฟื้นการ  training มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ให้เป็นผู้พาเยี่ยมชมจุดต่างๆ ในมหาวิทยาลัย เช่นที่อุทยานร้อยปี จุฬาฯ มีพื้นที่จำลองเป็นเมืองจีนมีศาลเจ้าให้ได้สักการะ”

เป้าหมายต่อไปสร้าง Super Platform ที่สมบูรณ์ 

เป้าหมายระยะต่อไป ซึ่งจุฬาฯ กำลังทำคือ Super Platform (ซูเปอร์แพลตฟอร์ม) ที่เริ่มชวนองค์กรที่มีความรู้ต่างๆ แต่อาจไม่พร้อมในการพัฒนาระบบ เข้ามาเป็นปลั๊กอิน ต่อเข้ากับหน้าบ้านของจุฬาฯ เพื่อช่วยโปรโมทคอร์สเหล่านั้น นอกจากนี้ผู้เรียนเข้ามาตามปกติแล้ว ยังมีการประสานกับสถาบันการศึกษา ที่เรียกว่า General Education ที่สามารถเลือกชุดเรียนจากจุฬาฯ ไปใช้ ร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ซึ่ง ซูเปอร์แพลตฟอร์ม จะทำให้ผู้เรียน ผู้สอนได้เจอกัน กลายเป็นตลาดนัดวิชาที่หลากหลาย

อย่างไรก็ตาม อาจารย์ปาริชาต บอกว่า สิ่งที่กำลังจะทำและหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล คือการของบประมาณจากกองทุนทางดิจิทัล “ถ้าได้งบในส่วนนี้ไม่ใช่แค่หน้าบ้าน แต่เราจะทำหลังบ้านเป็นลักษณะ Portfolio สุขภาพสมอง ของแต่ละคนที่เข้ามาเรียนคอร์สออนไลน์ว่า มีความสนใจทางด้านไหน ควรเติมด้านไหน ควรเรียนคอร์สต่างประเทศมากขึ้นหรือไม่”

เราเชื่อว่าเราจะเติบโตไปกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จุฬาฯ มีมิติของการเริ่มทำ Start up ที่อาจารย์ของจุฬาฯ จะมีหมวกเพิ่มขึ้นในการเป็น อาจารย์ นักวิจัย และ CEO ของบริษัท แล้วบริษัทจะรับสมัคร ในการเลือกคนเข้ามาทำงาน ซึ่งอีกอาชีพที่น่าภูมิใจในอนาคตคือ นักวิจัยนวัตกรรม ที่จะตอบโจทย์สังคมไทยและโลก ดังนั้นผู้เรียนไม่ใช่จบแล้วไปหาตลาดแรงงานเอง แต่สามารถเข้ามาสู่ตลาดแรงงานใหม่ด้วย

และการรุกเข้าไปภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น แล้วออกแบบวิชาให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรม อาจมีจ่ายก่อนแล้วคืนเงินทีเหลังถ้าเรียจบ จ้างงานต่อ หรือการันตีงานต่อ เป็นเส้นทางที่เราพยายามเชื่อม ภายใต้ข้อจำกัด ทั้งโควิด ดิจิทัล พื้นที่แห่งโอกาส ตลาดวิชา ผู้เรียน ผู้สอน ตลาดแรงงาน ได้มาจูนกันให้เกิด Eco system ร่วมมือกับบริษัทเอกชน Degree Plus (ดีกรีพลัส) โดยทางเอกชนเป็นสปอนเซอร์ ใช้เทคโนโลยีพลิกโฉมการศึกษา มุ่งกระจายความรู้และหลักสูตรคุณภาพแก่นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย พร้อมเชื่อม “ธนาคารเครดิต” (Credit Bank) เพื่อการเข้าถึงการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม เกิดประโยชน์กับผู้เรียนในวงกว้าง

“ทุกอย่างเป็นเหรียญสองด้าน ภายใต้วิกฤตคือโอกาส ที่เราจะเจอจุดที่เราเด่น จุดที่เข้มแข็ง จุฬาฯ พยายามทำความรู้ใกล้ตัว จับต้องได้ ซึ่งจะทำให้คนตื่นตัว ขวนขวายความรู้ เพื่อกลับเข้ามาสู่ระบบในการรู้ที่มาที่ไป และความหวังในอนาคตกันได้”อาจารย์ปาริชาต กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า