SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดความในใจ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้โอกาสทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้สัมภาษณ์ถึง “สิ่งที่ตั้งใจจะทำ” ให้สำเร็จกับวงการศึกษาไทยในโอกาสได้ร่วมรัฐบาลประยุทธ์ 2

(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

คุณหญิงกัลยา เริ่มต้นแนวคิดแรกที่มุ่งมั่นให้เป็นรูปธรรมว่า ต้องให้เด็กทุกคนเรียนสองภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อาจจะเป็นภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น แล้วแต่เลือก และในฐานะที่ตนเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงขอเพิ่ม ภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ Coding (โค้ดดิ้ง) ด้วย โดยจะให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาเรียนโคดดิ้ง เพื่อเตรียมเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21 หรือ 5G ที่เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) ก็เห็นด้วย นโยบายแรกที่จะทำให้เป็นรูปธรรม ซึ่งไม่นานนี้ตนเพิ่งได้พบกับตัวแทนจากญี่ปุ่นที่ทำเรื่องโค้ดดิ้ง ให้กับนักเรียนญี่ปุ่นเรียนตั้งแต่ชั้นประถมทั้งประเทศ เริ่มต้น ค.ศ. 2020 นี้ ได้แลกเปลี่ยนกันว่าเขาทำให้สำเร็จได้อย่างไรทั้งประเทศ ก็ทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น เพราะทั่วโลกให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับเครื่อง “ของเล่น ของจริง” ทุกคนต้องมีตรรกะในการออกคำสั่งให้กับเครื่อง Robot (หุ่นยนต์) AI ซึ่งต้องใช้โค้ดดิ้ง

“นักเรียนจะต้องได้เรียนโคดดิ้งเร็วที่สุด”

คุณหญิงกัลยา เล่าว่า พร้อมที่จะเดินหน้าเรื่องนี้ทันทีมีทีมงานที่จะเริ่มสอนและอบรม “โคดดิ้ง” ให้กับครู โดยเฉพาะครูต่างจังหวัดที่เราจะเน้นคนที่ด้อยโอกาส พร้อมยืนยันไม่ได้บังคับ โคดดิ้งคือให้มีทักษะตรรกะ เช่น จะให้หุ่นยนต์เดินตรง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา แต่คำสั่งจะต้องมีตรรกะว่า เดินไป 5 ก้าวหยุดถึงจะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา ถ้าไปเจออุปสรรคให้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้

คือการเรียนตรรกะ เด็ก 2-3 ขวบก็สอนได้ไว้ เป็นภาษาของโลกยุคนี้ของเด็กสมัยใหม่ เพราะเราไม่ทราบว่าในอนาคตจะมีการผันผวนเปลี่ยนแปลงแค่ไหน จึงยากที่จะคาดการณ์ว่าเด็กที่เรียนจบ โลกจะเปลี่ยนไปเพียงใด โคดดิ้งจึงจะเป็นพื้นฐานนำพาไปสู่โลกศตวรรษที่ 21 “ทันโลก ทันสมัย แข่งขันได้”

สรุปแนวคิดเรื่องการศึกษาของ รมช.ศึกษาฯ คนใหม่

เด็กไทยต้องไม่ลืมความเป็นไทย

นอกจากเด็กไทยต้องทันโลกแล้ว คุณหญิงกัลยา มองว่า เด็กไทยต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์ไทย ภาษาไทย มีคนบอกว่าทำไมไปเรียนก้าวหน้าอย่างนั้นทำไมไม่เรียนอย่างอื่น อยากบอกว่า เรียนด้วย คือ เรียนประวัติศาสตร์ไทย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ให้สนุก ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และที่ลืมไม่ได้คือ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม จึงได้พูดถึงการ “ท่องอาขยาน” หมายถึง สูตรคูณ หรือ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เป็นการให้เด็กได้ตะโกนเสียงหลังเรียนมาแล้วทั้งวัน เป็นจิตวิทยาที่ให้เด็ก Delete pressure ส่วนตอนเช้าให้เอา “เลขคิดในใจ” กลับคืนมา หลายโรงเรียนอาจทำอยู่แล้วแต่ไม่แพร่หลาย ก็จะส่งเสริมสนับสนุนหาอาสาสมัครมาทำตรงนี้ เพื่อให้เด็กมีสมาธิ 6 ปีเด็กจะมีสมาธิเป็นคนละคน

“มันไม่ได้เสียหายแต่ไม่ต้องลงทุนมันสามารถทำให้เด็กรู้จักประวัติศาสตร์ ความภูมิใจในการเกิดเป็นคนไทย วัฒนธรรมอันดีงามของคนไทยจะต้องกลับมา ความเคารพผู้ใหญ่ ลูกมีหน้าที่ต่อพ่อแม่ต่อครูอย่างไรก็ท่องไปจะเป็นนกแก้วนกขุนทองก็ไม่เป็นไร แต่ว่ามันซึมซับ และไม่ได้เสียเวลา

ใครจะไปวิพากษ์วิจารณ์ว่าคุณหญิงเต่าล้านปีก็ไม่ว่าอะไร ถ้าทำแล้วเด็กได้ เราต้องเอาทั้งสองอย่าง จะมาว่าให้ท่องอาขยานจะไปวิพากษ์วิจารณ์กันก็ไม่เป็นไร แต่ในความหมายอยากให้พูดให้ชัด ทำอยู่แล้วก็ทำให้ดีขึ้นให้มากขึ้นทั่วถึง และจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสร้างเด็กพันธุ์ใหม่รู้ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม แล้วยังเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีก้าวหน้าได้ มันจะได้สมบูรณ์ จะชนะคนอื่นชาติอื่นได้”

นักเรียนอาชีวะ / แฟ้มภาพ

หลักสูตร “วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร” ในวิทยาการอาชีวศึกษา

รัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการ ยังมีแนวคิดที่จะเข้าไปดูแลเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรในวิทยาการอาชีวศึกษา โดยจะเข้าไปศึกษาเพื่อปรับปรุงจากหลักสูตรที่มีอยู่ นำการทดลองต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกร อาทิ เรื่องน้ำใต้ดิน การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริกักเก็บน้ำฝนอย่าให้ท่วม อย่าให้หลาก อย่าให้แล้ง และส่งเสริมนักเรียน นักศึกษาทำงานกับชุมชน ซึ่งน่าจะเห็นผลโดยเร็วและไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมมากมาย

อาหารเช้า-อาหารกลางวัน

ส่วนเรื่องโครงการอาหารกลางวันนักเรียน คุณหญิงกัลยา บอกว่าจะเข้าไปดูแลด้วย แต่ไม่ใช่การจับผิดเป็นการไปส่งเสริมให้อาหารมีคุณภาพมากขึ้น เด็กนักเรียนกับชุมชนต้องอยู่ด้วยกัน โดยจะเริ่มชวนพ่อแม่ ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของลูกหลานซึ่งอยู่ในท้องถิ่นตนเอง ทั้งนี้ ตอนหาเสียงพรรคประชาธิปัตย์ได้นำเสนอนโยบาย อาหารเช้า อาหารกลางวันฟรีถึงระดับชั้นปวศ. ซึ่งจะเป็นไปได้หรือไม่ต้องมีการหารือต่อไป

แฟ้มภาพ / Thaigov.

ขอบคุณภาพ FB: คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า