SHARE

คัดลอกแล้ว
ผศ.อรรถพล ร่อนจดหมายสอบถาม รมว.ศธ.ประเด็นงาน “สร้างทางเลือกการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ยุค New Normal” ระบุเป็น “การอบรมแบบฟังอย่างเดียว” และ “ขาดการเชื่อมต่อยึดโยง​ (Alignment)​ กับสถาบันเตรียมครูพัฒนาอย่างคณะครุศาสตร์​ศึกษาศาสตร์​”
วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ผศ. อรรถพล อนันตวรสกุล นักการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึง ตรีนุช​ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นการจัดงาน “สร้างทางเลือกการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ยุค New Normal”  ซึ่งเป็นโครงการอบรมครูทั่วประเทศ​โดย โดยครูจากสถาบันกวดวิชา เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจากสถาบันเอกชนด้านการพัฒนาครู จดหมายดังกล่าวระบุว่าเขา “เกิดข้อสงสัยอย่างยิ่งเกี่ยวกับคัดเลือกวิทยากร” มาอบรม “ครูในระบบ”
“เท่าที่ผมศึกษาดูจากนโยบายพัฒนาครูในหลายประเทศ​ ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา​ ยังไม่พบว่ามีประเทศใดในโลกดำเนินการด้วยแนวทางนี้”
โดยผศ.อรรถพลระบุว่าเหตุการณ์นี้สะท้อนว่าภาคการกำหยดนโยบายยังขาดความเข้าใจเรื่องการศึกษาและไม่ได้กระทำบนฐายการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปฏิรูปนิยม​ และมนุษยนิยมใหม่​ อันเป็นหัวใจของการศึกษากระแสหลักที่มีคุณภาพทั่วโลก​ ซึ่งกำหนดใน พรบ.การศึกษาฉบับปัจจุบัน
“การอบรมแบบฟัง​อย่างเดียวให้ได้​ Input แบบนี้หลายประเทศยกเลิกไปนานแล้ว​ ใช้เฉพาะวาระรับฟังนโยบายบางอย่างที่สำคัญมาก​ ๆ​ หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องระดับนานาชาติมาคุย”
นอกจากนี้ยังแสดงความกังวลประเด็น การขาดการเชื่อมต่อยึดโยง​ (Alignment)​ กับสถาบันเตรียมครูพัฒนาอย่างคณะครุศาสตร์​ศึกษาศาสตร์
“ศธ.ก็มองไม่เห็นคุณค่า​ ไม่ศรัทธาเชื่อมั่น​ มองไม่เห็นทั้งความพร้อม​ที่มีอยู่​ (Availability)​ และการเปิดให้สาธารณะเข้าถึงได้​ (Accessibility) จากสถาบันครุศึกษา ในระดับสถาบัน​นะครับ ไม่ใช่การเชื้อเชิญเจาะจงตัวเป็นราย​ ๆ​ ไป
ในอีกมุมหนึ่ง​ สถาบันครุศึกษาเหล่านี้ก็ทำตัวห่างเหิน​ ไม่แสดงภาวะผู้นำทางการศึกษา​ ไม่กระตือรือร้นมากพอที่จะร่วมรับผิดรับชอบ​กับสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษา ลอยตัวจากความล้มเหลวของระบบ​ มาอย่างยืดเยื้อเรื้อรังยาวนาน พูดภาษาชาวบ้าน​ คือ​ ผู้กำหนดนโยบายเขามองไม่เห็นหัวพวกท่าน​ เพราะพวกท่านไม่เคยอยู่ให้เห็นหัว” โดยเมื่อมีความกระตือรือร้นในการจัดกิจกรรมนี้ก็พบปัญหาการขาดแรงส่งเชิงนโยบาย
นอกจากนี้เสนอ ข้อเสนอ 3 ข้อ สำหรับช่วงเลื่อนเปิดเทอม 11 วัน ได้แก่  1.เสนอให้ทุกโรงเรียนจัดประชุมออนไลน์ถอดบทเรียนการทำงานในช่วงโควิด 2.ให้ รร.ประสานงานกับเด็กล่วงหน้าว่าไม่มีงาน​ ไม่มีการบ้าน​ ให้เล่นเต็มที่ 3.หารือด่วนกับ​ อว.​ และเครือข่ายสถาบันครุศึกษา​ เชิญชวนผู้นำองค์กรของกลุ่มมหาวิทยาลัยทึ่มีคณะครุศาสตร์​ศึกษา​ศาสตร์​ หารือ​ ร่วมกันแบ่งพื้นที่ดูแลสนับสนุนงานคุณครูในช่วงภาคการศึกษาต้น
“ครูทุกคนได้มีประสบการณ์ตรงและลงมือแก้ปัญหามาหมดแล้ว​ ทั้ง​ Online​ (เลื่อมเวลา/ประสานเวลา)​ -​ On​ Air – On Screen – On Hand – On Site. รวมทั้ง​ Hybrid ไม่มีติวเตอร์หรือนักวิชาการเจอบริบทการสอนการทำงานแบบเดียวกับคุณครูในช่วง​ พ.ค.-ก.ค.​63​ ​และ​ ธ.ค.63​ -​ม.ค.64​ ที่ต้องจัดกิจกรรมการเรียนทั้ง​ 5 ช่องทางนี้ผสมกัน
คุณครูเท่านั้นที่เคยล้มเหลว​ เรียนรู้​ หลายคนปรับตัว​ จนเกิดแนวปฏิบัติที่ดี​ สามารถแลกเปลี่ยน​ ให้คำแนะนำเพื่อนครูร่วม​ รร.ได้
การรับมือสถานการณ์นี้ เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อนครู​ รร.อื่น​ ผู้สอนในบริบทอื่นได้​ แต่เรื่องสำคัญ​ คือการแลกเปลี่ยนกันเองกับครูที่ดูแลนักเรียนในบริบทเดียวกัน​ วิธีที่ใช้ได้กับ​ รร.ขนาดกลางระดับชุมชนเมือง​ ไม่อาจใช้ได้กับ​ รร.ในพื้นที้ห่างไกล​ หรือกระทั่ง​ รร.ใหญ่ในเมือง​
และต่อให้ขนาดใกล้เคียงกัน​ รร.ในบริบทเด็กหลากชาติพันธุ์​ เด็กในบริบทวัฒนธรรมเฉพาะ​ และเด็กที่มีพื้นเพสถานะ​ ความพร้อมสนับสนุนของครอบครัวก็ไม่อาจเหมือนกัน
ให้เวลาคุณครูได้คุยหารือ​ ได้พัก​ ได้เตรียมตัวสอนเถิดครับ ดีกว่าบังคับให้เปิดหน้าจอเช็คชื่ออบรมออนไลน์กับใครก็ไม่รู้​ ที่ไม่ได​้เข้าใจปัญหาเฉพาะหน้าที่ครูกำลังต้องเผชิญ​ แล้วก็ต้องแอบปิดกล้องนั่งประชุมเตรียมสอนกันไป
และฝากโจทย์ให้คุณครูขบคิดวิธีการทำความรู้จักสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับ​ นร.​ ในการสอนทางไกลตั้งแต่สัปดาห์แรกของเทอม”
“ให้เขา(นักเรียน)ได้เล่​น ได้เป็นเด็ก มีเวลาว่างสั้น ๆ สัก​ 11​ วัน​ ถ้าท่านเกรงว่าจะสูญเปล่า​ แนะนำว่าให้ รร.ประสานงานกับเด็กล่วงหน้าว่าไม่มีงาน​ ไม่มีการบ้าน​ ให้เล่นเต็มที่​ แต่ฝากให้เขียนสั้น ๆ หรือวาดอะไร​ เตรียมมาเล่าให้เพื่อนและครูฟังในวันแรกที่ได้เปิดเทอมว่า​ ’11 วันที่ได้มีเวลาว่าง​ ฉันทำอะไร”
“ทั้งหมดนี้คือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่อยากนำเรียนฝากไว้เพื่อพิจารณาใคร่ครวญอย่างถ้วนถี่รอบคอบ​”  ลงชื่อ อรรถพล​ อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า