SHARE

คัดลอกแล้ว

ในการประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำที่เมืองบริสตอล (Bristol) ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ กลุ่มผู้ประท้วงได้ร่วมกันใช้เชือกดึงรูปปั้นของ ‘เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน’ (Edward Colston) ลงและเอาไปโยนทิ้งน้ำ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องให้เอารูปปั้นนี้ลงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรมาหลายครั้งแล้ว แต่ ‘เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน’ (Edward Colston) คือใคร ทำไมกลุ่มผู้ประท้วงจึงโกรธแค้นเขาขนาดนั้น และรูปปั้นของเขาเกี่ยวข้องกับการชุมนุมเพื่อสิทธิของคนผิวสีอย่างไร?

‘เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน’ (Edward Colston) เกิดในปี 1636 เติบโตที่บริสตอล (Bristol) หลังจากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน และเข้าทำงานในบริษัทรอยัลแอฟริกัน (Royal African company หรือ RAC) ซึ่งผูกขาดธุรกิจค้าทาสชาวแอฟริกันตะวันตกในยุคนั้น จัดตั้งขึ้นโดยราชวงศ์สจ๊วตและพ่อค้าชาวกรุงลอนดอน นอกจากทาสก็มีค้าทองค้าเงินด้วย ซึ่งหลังจากที่ ‘เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน’ (Edward Colston) ดำรงในตำแหน่งอาวุโสที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เขาได้ช่วยส่งออกทาสชาวแอฟริกันทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กราว 84,000 ไปเป็นแรงงานที่โทบัคโคและไปเป็นแรงงานทางการเกษตร และกว่า 19,000 เสียชีวิตระหว่างการเดินทาง จากธุรกิจการค้าทาสนี้ทำให้เขาร่ำรวยขึ้นอย่างมากและใช้กำไรที่ได้มาปล่อยเงินกู้

หลังจากที่ร่ำรวยแล้ว ‘เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน’ (Edward Colston) ได้บริจาคเงินจำนวนมากเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์แก่เมืองบริสตอล (Bristol) และมอบเงินในการอุปถัมภ์โรงเรียน โรงพยาบาลและโบสถ์อีกหลายแห่ง

หลังการเสียชีวิตในปี 1721 ‘เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน’ (Edward Colston) ได้กลายเป็นอนุสรณ์ที่บ้านเกิดของเขา ซึ่งรูปปั้นของเขาตั้งอยู่ที่ถนนซึ่งเป็นชื่อตัวเอง (Colston Street) และอยู่หน้าอาคารที่เป็นชื่อเขา ด้านหลังเป็นฮอลจัดแสดงคอนเสิร์ตที่เป็นชื่อเขาเองเช่นกัน

กลุ่มผู้ประท้วงให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว ITV News ว่า การมีอนุสรณ์ของคนเหล่านี้เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่แค่รูปปั้น แต่เป็นเครื่องเตือนใจถึงอดีตที่เจ็บปวด

แม้ก่อนหน้านี้กลุ่มนักเคลื่อนไหวได้มีการทำเรื่องร้องขออย่างเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะเอาอนุสรณ์นี้ลงมาหลายปีแล้ว แต่ความเห็นก็มีแตกต่างหลากหลาย กลุ่มที่เห็นว่าไม่ควรรื้อรูปปั้นให้เหตุผลว่า ถ้าจะรื้อก็ควรรื้อมาตั้งนานแล้วไม่ใช่เพิ่งจะมารื้อในศตวรรษที่ 21 เพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ด้วย แต่ถ้าจะเอาลงจริงๆก็ควรเอาไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แทน

ส่วนอีกกลุ่มมองว่า การมีรูปปั้นแบบนี้มันเป็นเรื่องที่น่าขายหน้ามากและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตยังส่งผลกระทบถึงในปัจจุบัน ซึ่งผู้คนก็ยังคงเรียกร้องและออกมากประท้วงกันถึงทุกวันนี้ ซึ่งกลุ่มนี้ถูกตอบโต้ว่าขาดความเข้าใจถึงสถานการณ์ของประเทศและบริบทสังคมโลกในปัจจุบันที่แตกต่างกับอดีต นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้

ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันมานานแล้ว เมื่อเราพูดถึงบุคคลในอดีตที่ทำธุรกิจบนการเอารัดเอาเปรียบคนอื่น แต่นำเงินมามอบให้การกุศลและพัฒนาเมืองจำนวนมาก เราควรจะชื่นชมบูชาเขาหรือไม่ บ้างก็มองว่าไม่ควรเพราะเขาเหล่านั้นทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมและลิดรอนสิทธิมนุษยชน แต่อีกกลุ่มก็มองว่าค่านิยมสังคมในอดีตกับค่านิยมคนปัจจุบันไม่เหมือนกัน เพราะไม่ว่าเขาจะร่ำรวยมาจากไหน แต่อย่างไรเสียเขาก็ยังทำประโยชน์ให้กับสังคม

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า