SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะบอร์ดอีอีซี เคาะ กลุ่มบีบีเอส ชนะประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก คาดเซ็นสัญญาต้นเดือนมิ.ย.นี้

วันที่ 21 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือ บอร์ดอีอีซี (EEC) ได้มีมติเห็นชอบให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) หรือ กลุ่มบีบีเอส เป็นผู้ชนะ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก หลังจากนี้จะมีการเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยการลงนามคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้ และจะส่งมอบพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จสิ้นภายในปี 2566

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการกพอ. เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีกำชับเรื่องการก่อสร้างว่า จะต้องเชื่อมโยงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมให้กระทรวงการคลังตั้งคณะทำงานบริหารโครงการเพื่อให้ทั้ง 2 โครงการเชื่อมโยงกัน

“วันนี้ที่กพอ.อนุมัติถือว่าเป็นวันที่สำคัญมากของอีอีซี เพราะว่าโครงการที่เป็นกระดูกสันหลังมีคนลงทุนแล้ว และถ้าเข้าครม.ไม่ปัญหาจบมาได้เซ็นสัญญา ก็คือกระดูกสันหลังอีอีซีที่เคยวางแผนไว้มีคนลงทุนแล้วและจะเสร็จในปี 66” เลขาธิการ กพอ. กล่าว

กลุ่มกิจการร่วมการค้าบีบีเอส ที่ได้รับคัดเลือกได้เสนอราคาเป็นจำนวนเงินประกันผลตอบแทนค่าเช่าและส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำรายปีรวมตลอดอายุสัญญาร่วมทุน ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ณ ปี 2561 อัตราคิดลดร้อยละ 3.76 เท่ากับ 305,555,184,968 บาท ตลอดอายุสัญญา 50 ปี

การลงทุนพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก ในพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภา มี 6 กิจกรรมสำคัญ การลงทุนของโครงการรวมเป็นเงินลงทุนรวมประมาณ 290,000 ล้านบาท (เป็นตัวเลขจากการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ) โดยรัฐจะได้ประโยชน์เพิ่มเติม

-ด้านการเงิน (ค่าเช่าที่ดิน ส่วนแบ่งรายได้) มูลค่าปัจจุบัน 305,555 ล้านบาท
(รวมเป็นเงิน 1,326,000 ล้านบาท ใน 50 ปี)
-ได้ภาษีอากรเพิ่มมากกว่า 62,000 ล้านบาท (ไม่นับรวมรายได้ภาษีทางอ้อม
กับธุรกิจเชื่อมโยงนอกเมืองการบินภาคตะวันออก)
-เกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,600 ตำแหน่งต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก
-เพิ่มเทคโนโลยีและพัฒนาทักษะแรงงานด้านธุรกิจการบินและธุรกิจเชื่อมโยง
-สิ้นสุดสัญญาทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของรัฐ

ความสำคัญของเมืองการบินภาคตะวันออก มีภารกิจสำคัญคือเป็นสนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง

สำหรับ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบไปด้วยการร่วมทุนระหว่าง บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง 35% บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ถือหุ้น 45% และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ถือหุ้น 20%โดยเสนอ Narita International Airport Corporation เป็นผู้รับจ้างในการบริหารสนามบิน

ขอบคุณภาพปก: ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง พัทยา / สำนักโฆษก ทำเนียบรัฐบาล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า