Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รศ.ดร.ชัยยุทธ ปัญญาสวัสดิ์สุทธิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาสุขภาพและการศึกษาของนักเรียน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า กสศ.ได้ประมวลข้อมูลนักเรียนยากจนพิเศษเพื่อจัดสรรทุนเสมอภาค พบว่า ปี 2563 ภาคเรียนที่ 1 ซึ่งเป็นช่วงผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มีจำนวนนักเรียนที่สมัครคัดกรองทั้งสิ้น 1,831,250 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 1,558,397 คน หรือ 17.5% สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยากจนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน อีกด้านหนึ่งเป็นผลจากความทุ่มเทตั้งใจของคุณครูทั่วประเทศที่ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน คัดกรองนักเรียนเข้ามา

รศ.ดร.ชัยยุทธ ปัญญาสวัสดิ์สุทธิ์

รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวต่อว่า จากนักเรียนที่สมัครเข้ามาทั้งหมด คณะวิจัยโครงการได้ใช้วิธีระเบียบวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อมหรือ PMT พิจารณาใน 2 ประเด็น ได้แก่
1. ข้อมูลรายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือน ไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน และ
2. ข้อมูลสถานะครัวเรือน ซึ่งมีทั้งหมด 8 ด้าน เช่น ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง เช่น มีคนพิการ คนชรา เจ็บป่วยเรื้อรัง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงปลอดภัย ขาดที่ดินทำกิน ไม่มียานพาหนะ แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่มีไฟฟ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

โดยในสถานการณ์ปกติ จากนักเรียนที่สมัครคัดกรองเข้ามาใหม่ทั้งหมดจะมีสัดส่วนนักเรียนยากจนพิเศษ ร้อยละ 20 หรือราว 300,000 คน แต่ปรากฎว่าเมื่ออ้างอิง รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนยากจนพิเศษในปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 1,337 บาทต่อคนต่อเดือน พบว่า ภาคเรียนที่ 1 ปี 2563 มีนักเรียนยากจนพิเศษจำนวน 600,000 คน หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึงร้อยละ 90 จำนวนนี้ยังไม่รวมนักเรียนทุนเสมอภาคที่ได้รับต่อเนื่องจากปีก่อน อีกราว 9 แสนคน
“ตัวเลขนี้ชี้ชัดว่า โควิด-19 ทำให้เด็กและครัวเรือนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปัญหาความเหลี่อมล้ำทางการศึกษาจะทวีความรุนแรง มีแนวโน้มที่เด็กจะมีความเสี่ยงหลุดออกนอกระบบมากขึ้น ยิ่งหากพิจารณาค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียนรัฐ ของเด็กที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีฐานะยากจนและยากจนพิเศษในแต่ละช่วงอายุ เด็กแต่ละคนจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเดินทางไปโรงเรียนสูงที่สุด รองลงมาคือ ค่าธรรมเนียม ค่าเครื่องแบบ และค่าหนังสือ อุปกรณ์การเรียน และมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่สูงขึ้นเมื่อมีการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น มากกว่า 3 – 4 เท่าของรายได้” รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าว


รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวว่า บทเรียนจากการศึกษาของ JPAL Poverty Action Lab เรื่องการเพิ่มการเข้าเรียน การมาเรียน ลดออกกลางคัน พบว่า การอุดหนุนค่าใช้จ่ายครัวเรือนยากจนแม้เพียงเล็กน้อย อาจส่งผลได้มากต่อการตัดสินใจของครัวเรือน เรื่องการคงอยู่ในระบบการศึกษาของเด็กๆ
จากประสบการณ์หลายประเทศชี้ว่า การอุดหนุนการเงิน ทั้งแบบมีและไม่มีเงื่อนไข ช่วยเพิ่มการมาเรียน และลดปัญหาการออกกลางคันได้จริง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้ตรวจสอบได้ ถือเป็นมาตรการเชิงป้องกันปัญหา เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการคุ้มครองทางสังคม เพราะบรรเทาปัญหาความยากจนเฉพาะหน้า และในอนาคต

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า