SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจาก ‘เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ’ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เข้าร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตรวจ (กกต.)  ให้ตรวจสอบ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ปมมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทสื่อมวลชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เรื่องคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. หรือไม่ โดยมีการอ้างอิงเอกสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า ‘พิธา’ ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ไอทีวี จำกัด 42,000 หุ้นนั้น

ความเคลื่อนไหวในวันนี้ (11 พ.ค. 66) นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่เห็นคำร้อง เรื่องนี้เป็นการร้องเกี่ยวกับคุณสมบัติ ขั้นตอนตามกฎหมาย มีอยู่ 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนวันเลือกตั้ง, ช่วงหลังวันเลือกตั้ง และช่วงประกาศผลการเลือกตั้ง

ก่อนการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 61 ถ้า กกต.ตรวจสอบแล้ว เห็นว่า ไม่มีคุณสมบัติ ให้ยื่นต่อศาลฎีกาพิจารณา ซึ่งขณะนี้เหลือเวลาเพียง 2 วัน  แต่หากดำเนินการไม่ทัน หลังการเลือกตั้ง ก่อนการประกาศผล ถ้าเห็นว่าผู้นั้นมีลักษณะต้องห้ามในการลงรับสมัครรับเลือกตั้ง กกต. ก็จะมีมติให้ดำเนินคดีอาญามาตรา 151 ฐาน รู้อยู่แล้วว่าไม่มีคุณสมบัติในการสมัครแต่ก็ยังลงสมัคร

โดยจะไม่เป็นเหตุให้นำไปสู่การไม่ประกาศผลการเลือกตั้ง ดังนั้นก็ต้องประกาศผลให้เป็น ส.ส. ไปก่อน ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญมาตรา 82 ซึ่งได้กำหนดช่องทางในการดำเนินการไว้ ทั้งให้ ส.ส. หรือ ส.ว. เข้าชื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ กกต. เป็นผู้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใด กกต. ไม่ยื่นให้ศาลฎีกาพิจารณาก่อนเลือกตั้ง ถ้ายื่นหลังเลือกตั้งจะมีผลกระทบมากกว่า เลขาธิการ กกต. ตอบว่า ทุกอย่างมีกระบวนการที่ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา เมื่อมีเรื่องร้องเรียน สำนักงาน กกต. ก็จะรวบรวมพยานหลักฐาน ต้องให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข้อกล่าวหา ก่อนนำเสนอให้ กกต. พิจารณา ซึ่งต้องใช้เวลา

[‘เรืองไกร ยื่นหลักฐานเพิ่มอีก]

ขณะที่วันนี้ นายเรืองไกร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ได้เข้ายื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อ กกต. กรณีการถือหุ้นสื่อของนายพิธา

โดย นายเรืองไกร กล่าวว่า ได้นำข้อบังคับของพรรคก้าวไกลมายื่นเพิ่มเติม จับประเด็นว่า นายพิธาจะพ้นจากสมาชิกและหัวหน้าพรรคหรือไม่ เพราะข้อบังคับพรรคก้าวไกล แก้ไขลงในราชกิจจานุเบกษา ปี 2563 ในข้อ 12 ระบุว่าสมาชิกต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ดังนั้นเมื่อระบุเช่นนี้ ก็จะทำให้พ้นสมาชิกหรือไม่ และกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งหัวหน้าพรรค ก็จะต้องขาดจากความเป็นหัวหน้าพรรคโดยสิ้นสุดลงเฉพาะตัว รวมถึงคณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ตามข้อบังคับพรรคก้าวไกล ข้อที่ 36

นายเรืองไกร ยังได้ตั้งข้อสังเกตให้ กกต. พิจารณาว่าหากนายพิธา มีลักษณะต้องห้ามเป็น ส.ส.  รวมถึงต้องห้ามเป็นสมาชิกพรรคและหัวหน้าพรรค จากประเด็นการถือหุ้นไอทีวี ย่อมมีผลกับการที่นายพิธา ได้เซ็นรับรองการส่งผู้สมัครของพรรคการก้าวไกลทั้งแบบเขตเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อ ทำให้ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย หลังเข้าถ้อยคำ ต่อ กกต. กรณี นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ปราศรัยนโยบายเงินดิจิทัล ได้ให้สัมภาษณ์ในกรณีของนายพิธา ให้ความเห็นว่า

“การถือหุ้นของนายพิธาจะไม่ซ้ำรอยกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่) เนื่องจากการถือหุ้นของนายธนาธร เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ ส่วนไอทีวี เป็นสื่อโทรทัศน์มีความแตกต่างกัน ที่ว่าบริษัทไอทีวีถูกคำสั่งปิดไปแล้วเมื่อปี 2550 ในเมื่อไม่ยื่นการปิดบริษัทและยังมีการประชุมของผู้ถือหุ้นอยู่ รวมทั้งบริษัทไปลงทุนกิจการที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนจะอ้างว่า ปิดไปแล้วก็คงไม่ใช่ มองว่าเรื่องนี้จะต้องถึงศาลรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน เพราะว่าเป็นเผือกร้อน กกต. คงไม่วินิจฉัยเอง” นายศรีสุวรรณกล่าว

[ผู้บริหารไทยพีบีเอส ยืนยันว่า ไอทีวีเลิกกิจการไปตั้งแต่ปี 50] 

นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ThaiPBS โพสต์เฟซบุ๊ก anupong chaiyariti ชี้แจงถึงกรณีไอทีวีว่า สรุปสาระสำคัญของบริษัทไอทีวี จากรายงานประจำปี 2565 (ที่มา บริษัทอินทัช) และให้ความเห็นส่วนตัวดังนี้

1. หยุดประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีตั้งแต่ 24.00 น. วันที่ 7 มีนาคม 2550 สืบเนื่องจากการบอกเลืกสัญญาร่วมงานของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

2. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย delist ถอดหุ้นไอทีวีจากการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 24 กค.2557

3. ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการฟ้องร้องพิพาททางกฏหมายกับสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สืบเนื่องจากกรณีที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดว่า

– การบอกเลิกสัญญาของ สปน. ไม่ชอบด้วยกฏหมาย

– ให้ สปน.ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 2,890 ล้านบาท

3.1 ต่อมา สปน.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของอาุญาโตตุลาการ ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งยกคำร้องของ สปน.

3.2 มกราคม 2564 สปน.ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลาง ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา

4. ปีบัญชี 2565 ไอทีวี มีรายได้จากการลงทุนและดอกเบี้ยรับ 20.5 ล้านบาท (ผลตอบแทนจากตราสารหนี้และตราสารทุน) กำไรสุทธิ 8.5 ล้านบาท

5. ไอทีวี มีบริษัทย่อย 1 บริษัท คือบ.อาร์ตแวร์มีเดีย ให้เช่าอุปกรณืผลืตรายการวิทยุโทรทัศน์ ผลิตรายการโทรทัศน์ ซื้อขายลิขสิทธิ์ภาพยนต์และรายการโทรทัศน์ และกิจกรรมการตลาดอื่นๆ สถานะปัจจุบันของบริษัท คือ หยุดประกอบกิจการ

6. กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่โดยพฤติการณ์มีอิทธิพบต่อการกำหนดนโยบายและการดำเนนิงานบ.ไอทีวีในปัจจุบัน คือบ.อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

7. การรักษาสถานะความเป็นนิติบุคคลของบ.ไอทีวี เพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับสปน. (ความเห็นผู้เขียน)

เลือกตั้ง 66 ‘พิธา’ ไม่กังวล ปมหุ้น ITV หลัง ‘เรืองไกร’ จ่อร้อง กกต. แจงไม่ใช่หุ้นตัวเอง แค่ผู้จัดการมรดก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า