Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กฟผ. ร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และพันธมิตร จุดกระแสรักษ์โลก ดึงนักแสดงคู่ซี้สุดฮอต ติวเตอร์ – ยิม ชวนเที่ยวแบบสายกรีน สัมผัสกับธรรมชาติ ลุยปลูกป่าแบบโลว์คาร์บอน ในกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” ร่วมกันพลิกฟื้นผืนป่าชายเลน ดันเป้าหมายปลูกป่าหนึ่งล้านไร่ให้สำเร็จ พร้อมกระจายรายได้สู่ชุมชนในพื้นที่

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานฉะเชิงเทรา นายทรงฤทธิ์ สินถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) และนางสาวรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” กับติวเตอร์ – ยิม นำผู้โชคดี 15 คู่ สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนบางปะกง เรียนรู้และทำกิจกรรมรักษ์โลก ณ โรงไฟฟ้าบางปะกง – บ้านปลา ธนาคารปู พร้อมร่วมกันปลูกป่าชายเลน ณ แหล่งเรียนรู้นิเวศป่าชายเลน โรงเรียนพระพิมลเสนี (พร้อม หงสกุล) อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลากหลายแห่งทั้งในเชิงเกษตรและวัฒนธรรม ซึ่งการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์และสวยงามอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน รวมถึงภาคประชาชนให้หันมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตามแนวทางคาร์บอนต่ำ โดยกิจกรรมในวันนี้ นับเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิมในระยะยาว

นางสาวรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ กฟผ. กล่าวเสริมว่า กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการจุดประกายให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพอากาศแบบโลว์คาร์บอนในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเดินทางด้วยรถ EV และการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการปลูกป่า กิจกรรมในวันนี้จะสามารถลดการปล่อยและชดเชยคาร์บอนไดออกไซด์ได้เทียบเท่ากับการปลูกต้นโกงกางกว่า 150 ต้น โดยในวันนี้เราได้มีการปลูกกล้าไม้โกงกางร่วมกัน เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนในพื้นที่บางปะกง โดยเน้นการปลูกอย่างถูกวิธีและการอยู่รอดของกล้าไม้ที่จะสามารถเติบโตพร้อมเป็นแหล่งพักพิงของสัตว์น้ำต่อไป

การปลูกป่าในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม ของ กฟผ. ที่ตั้งเป้าหมายปลูกป่า 1 ล้านไร่ ภายใน 10 ปี และบำรุงรักษาต่อเนื่องอีก 9 ปี เพื่อดูดซับและเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่า 1.2 ล้านตัน CO2 ต่อปี คาดว่าตลอดระยะเวลาโครงการฯ จะสามารถดูดซับและกักเก็บคาร์บอนฯ ได้ทั้งสิ้นประมาณ 23.6 ล้านตัน CO2 เพื่อร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามเป้าหมายของประเทศในการมุ่งสู่ Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ.2050 ทั้งนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการปลูกป่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วกว่า 4.6 แสนไร่ ใน 51 จังหวัด ทั่วประเทศ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า