Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้แจง ราคาไข่ไก่แพงในรอบหลายปี เหตุ ‘อาหารสัตว์’ ต้นทุนเลี้ยงไก่ไข่พุ่งสูงต่อเนื่อง ยืนยัน ไข่ไก่ที่ผลิตภายในประเทศ ยังมีปริมาณเพียงพอสำหรับการบริโภค

จากกรณี สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ แจ้งปรับราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มอีก 10 สตางค์ มีผลวันนี้ (17 ส.ค. 65) ทำให้ราคาไข่ไก่อยู่ที่ฟองละ 3.60 บาท หรือปรับขึ้นแผงละ 3 บาท โดยเป็นการปรับครั้งที่ 2 ในเดือน ส.ค. 65 ถือเป็นราคาไข่ไก่ที่สูงในรอบหลายปี

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ได้ติดตามสถานการณ์การผลิตไข่ไก่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดการประเมินสถานการณ์ในเดือน ส.ค. 65 พบว่า มีไก่ไข่ยืนกรงจำนวน 50.67 ล้านตัว ให้ผลผลิตไข่ไก่ประมาณ 42 ล้านฟองต่อวัน ขณะที่การบริโภคทั้งภายในประเทศและการส่งออก รวมกันประมาณ 41.89 ล้านฟองต่อวัน สถานการณ์การผลิตและการบริโภค อยู่ในจุดใกล้เคียงสมดุล จากที่ก่อนหน้านี้ในเดือน พ.ค.-มิ.ย. 65 เกิดปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดและราคาตกต่ำขึ้น

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยืนยันว่า ไข่ไก่ที่ผลิตภายในประเทศมีปริมาณเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศอย่างแน่นอน ส่วนการที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นเป็นไปตามกลไกการตลาด โดยใน ปี 2565 นี้ ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของต้นทุนการผลิตไข่ไก่ พบว่า ราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกรตั้งแต่ เดือน ม.ค. ถึง ส.ค. 65 มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 3.20 บาทต่อฟอง

ส่วนต้นทุนการผลิตเดือน ม.ค. ถึง มิ.ย. 65 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.97 บาทต่อฟอง (คณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตไก่ไข่และไข่ไก่) และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย จะมีต้นทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าว มีความจำเป็นต้องปรับราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มขึ้นเพื่อให้สามารถประกอบกิจการอยู่ได้

นายสรวิศ กล่าวถึงมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ กรมปศุสัตว์ได้มีการประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชนผู้ผลิตไข่ไก่ ทั้งรายเล็ก รายกลางและรายใหญ่มาโดยตลอดนั้น   เน้นปรับสมดุลการผลิตและการบริโภคเป็นหลัก โดยในเดือน ส.ค. 65 มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสมดุลและคงตลาดส่งออกไว้ตามสภาพปกติเท่านั้น ส่วนแผนการดำเนินการระหว่างเดือน ก.ย. ถึง ต.ค. 65 มีไว้เพื่อรับมือสถานการณ์หลังเทศกาลกินเจ ฝนตกชุก และปิดภาคเรียน ที่ในช่วงนี้ทุกปี มักมีแนวโน้มเกิดปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด จากอัตราการบริโภคตกต่ำ ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยที่ประสบปัญหาต้นทุนสูงอยู่แล้วให้เดือดร้อนมากยิ่งขึ้น และอาจส่งผลให้บางรายต้องมีการเลิกกิจการตามมา

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุ จะมีการประเมินสถานการณ์ร่วมกับภาคเอกชนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และปรับมาตรการตามสภาวการณ์เพื่อรักษาสมดุลการผลิตและการบริโภคไข่ไก่ให้ใกล้เคียงจุดสมดุล ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ผู้บริโภคต้องไม่เดือดร้อนและเกษตรกรต้องอยู่ได้”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า