SHARE

คัดลอกแล้ว

ใครว่าคนอายุเยอะไม่ใช้จ่ายแล้ว เพราะปัจจุบันความคิดของคนรุ่นนี้เปลี่ยนไป หันมาดูแลและเติมความสุขให้กับตัวเองมากขึ้น หลังจากที่ทำเพื่อคนอื่นมาตลอดช่วงวัยทำงาน

ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า จำนวนประชากรคนไทย 67 ล้านคน พบว่าตัวเลขของกลุ่มคนสูงอายุที่มากกว่า 60 ปี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 2005 จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม 2023 ตัวเลขคนสูงวัยพุ่งทะลุ 12 ล้านคน และ 14 ล้านคนในปี 2024 สำหรับในประเทศไทย หรือมากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมด

“ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กลุ่มคนสูงวัยเติบโตเร็วที่สุดในโลก” นี่คือคำนิยามที่ WHO มองเข้ามา ซึ่งคาดว่าจำนวนผู้สูงอายุในไทยจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศในอนาคต

 

[ คนสูงวัยอาจใช้จ่ายมากกว่าคนรุ่นอื่น ]

อย่างไรก็ตาม ความกังวลของภาคธุรกิจสมัยก่อนคงเป็นเรื่อง ‘กำลังการจับจ่าย’ ที่อาจลดลงตามจำนวนประชากรคนหนุ่มสาว และวัยทำงาน แต่ ณ ตอนนี้ ภาคธุรกิจอาจจะต้องกลับมาทบทวนใหม่ หลังจากที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยรายงานว่า มีแนวโน้มสูงมากที่คนสูงวัยจะใช้จ่ายมากถึง 2.2 ล้านล้านบาท ในปี 2029

คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 5.3% ต่อปี (CAGR 2024-2029) ตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในไทย หมายความว่า ภาคธุรกิจต้องปรับตัวรับโครงสร้างสังคมสูงวัยที่จะเปลี่ยนแปลง ถือว่าเป็นเค้กก้อนใหญ่มากสำหรับโอกาสทางธุรกิจ

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่ามูลค่าการใช้จ่ายของผู้สูงอายุไทยในปี 2024 จะอยู่ที่ราว 1.7 ล้านล้านบาท โดยขยายตัวจากปีก่อน 3.8% และในปี 2029 จำนวนผู้สูงอายุในไทยน่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก แตะที่ 18 ล้านคน หรือเติบโตเฉลี่ย 5.3% (CAGR)

ขณะที่คนรุ่นอื่น ได้แก่ Gen X Y Z ประเมินแล้วมีการใช้จ่ายรวมกันประมาณ 8 ล้านล้านบาท ซึ่งดูเหมือนจะสูง แต่ Baby Boomer หรือคนที่อายุมากกว่า 60 ปี มีโอกาสที่จะช้อปปิ้งมากกว่าในอนาคต เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ มีเงินเก็บ และเงินในวัยเกษียณอยู่แล้วเป็นก้อนใหญ่

 

[ ธุรกิจที่มีโอกาสในกลุ่มคนสูงวัย ]

ทั้งนี้ ธุรกิจที่น่าจะได้อานิสงส์ในการขยายตัวของคนสูงอายุ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และภาคกลาง เพราะกลุ่มคนที่ต้องการใช้จ่ายอยู่ในภาคกลางเยอะกว่าภาคอื่นๆ

โดยธุรกิจที่มีโอกาสสูง ได้แก่ ธุรกิจด้านสุขภาพ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม และการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ ยังรวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุและสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน

ยกตัวอย่าง กลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น ยาและเวชภัณฑ์ บริการดูแลผู้สูงอายุ (Nursing Home และ Care Giver) และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น

ส่วนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม หากเป็นจำพวกอาหารเคี้ยวง่าย ย่อยง่าย มีโภชนาการครบถ้วน จะมีโอกาสมากกว่าประเภทอื่น

นอกจากนี้ หลายคนยังไม่รู้ว่ากลุ่มธุรกิจที่เป็นเชิงนวักตกรรม เช่น Smart Home Devices อย่าง ระบบสั่งการด้วยเสียง, อุปกรณ์แจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุในบ้าน หรือ กล้องติดตามการเคลื่อนไหวต่างๆ ภายในบ้าน แม้แต่ ไม้เท้าอัจฉริยะ และเครื่องช่วยฟัง ก็เป็นสินค้าที่อยู่ในความสนใจ ทั้งผู้สูงอายุเอง และลูกหลานที่อยากดูแลผู้ใหญ่ในบ้าน

ขณะเดียวกัน มีข้อมูลว่า ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่บ้านคนเดียวลำพังเพิ่มมากขึ้น จากเมื่อ 30 ปีก่อนที่มีจำนวนประมาณ 3.6% ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แตะที่ 12% ในปี 2021 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย

ดังนั้น ‘ธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง’ จึงมีโอกาสเติบโตขึ้นพอๆ กับตัวเลขคนสูงอายุที่อาศัยอยู่บ้านลำพัง เพราะการมีสัตว์เลี้ยงที่บ้านยังเป็นโซลูชั่นยอดนิยมในการแก้ปัญหาความเหงาและเดี่ยวดายของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในยุคที่มีอัตราการเกิดต่ำลงเรื่อยๆ เพราะคนไทยไม่นิยมมีลูกมากเหมือนสมัยก่อน

โดยสินค้าและบริการที่น่าจะได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ อย่างเช่น อาหารสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และบริการดูแลสัตว์เลี้ยง ทั้งที่ใกล้บ้าน และมาดูแลถึงที่ เป็นต้น

หรือแม้แต่ ธุรกิจที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีโอกาสเช่นกัน ต่อเนื่องจากการที่คนนิยมไม่มีลูก ดังนั้น โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับคนสูงวัยจึงเป็นหนึ่งในความสนใจที่พวกเขาเริ่มศึกษา

โดยผลสำรวจจาก REIC ในปี 2023 พบว่าสถานที่เหล่านี้ยังมีอยู่น้อย จากปัจจุบันที่มีเพียง 728 แห่งทั่วประเทศ และสามารถรองรับผู้สูงอายุที่ได้เพียงราว 19,490 คนเท่านั้น

ขณะเดียวกัน ธุรกิจบริการอื่นๆ เช่น บริการทางการเงิน โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุ และ Reverse Mortgage สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการเงินไว้ใช้หลังเกษียณ และบริการ Entertainment สำหรับผู้สูงอายุทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ยังมีผู้เล่นในตลาดนี้ค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน

ข้อควรระวังที่ระบุในงานวิจัยฉบับนี้ก็คือ ตลาดแข่งขันจะรุนแรงขึ้น เกิดการแย่งชิงลูกค้าที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีมานี้ที่้เกิดการเร่งขยายตัวมากขึ้น ขณะที่กลุ่มคนสูงวัยที่มีรายได้สูงยังกระจุกตัวบางพื้นที่ ดังนั้น หากภาคธุรกิจรายใดที่ขยับตัวช้าเกินไป ก็อาจจะหลุดวงโคจรในการแข่งขัน และต้องเจาะตลาดกลุ่มอื่นที่มีศักยภาพรองลงมา

 

อ้างอิง:

https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Elderly-Spending-CIS3511-KR-2024-07-10.aspx

https://www.who.int/southeastasia/news/feature-stories/detail/thailands-leadership-and-innovation-towards-healthy-ageing

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า