SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เลขาฯ กกต.’ รุดหารือ รองนายกฯ วิษณุ ขอเวลา 45 วัน แบ่งเขตเลือกตั้งและเตรียมการก่อน ปัดยื้อช่วย ‘รวมไทยสร้างชาติ’ ยืนยันยังไม่มีไทม์ไลน์ ไม่รู้นายกฯ จะตัดสินใจอย่างไร 

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า วันนี้ (30 ม.ค. 66) นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เข้าพบเพื่อหารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี หลัง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. (ฉบับที่ 2) 2566 และพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) 2566 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งเป็น 2 กฎหมายที่สำคัญที่เปิดประตูสู่การเลือกตั้ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. 66

โดยนายแสวง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวหลังการเข้าพบนายวิษณุว่า ไม่ได้มารายงานอะไร แต่เป็นการมาหารือเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ทั้งในส่วนของ กกต. และพรรคการเมือง ส่วนจะเป็นไปตามกรอบ 45 วันหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า เป็นไปตามกรอบ เพราะกฎหมายกำหนดไว้

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะน้อยกว่า 45 วันได้หรือไม่ นายแสวง ตอบว่า กกต. ต้องการแบบนั้นแต่ในทางการเมือง เราไม่ทราบว่าจะอยู่ครบวาระหรือจะยุบสภาก่อน แต่กกต. ต้องการเวลาที่กำหนดไว้ 45 วัน หากไม่ได้ก็ต้องมาปรับ แต่ต้องมีเหตุดังกล่าวขึ้นมาก่อน

เมื่อถามว่า หากเวลาไม่ได้ตามกำหนด 45 วัน จะเกิดปัญหาอะไรหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ก็จะยากขึ้น คือก่อนเตรียมการเลือกตั้ง เพราะช่วงเลือกตั้งไม่ได้ยาก แต่ช่วงเตรียมการจะยาก ซึ่งจะเริ่มได้เมื่อเรามีเขตเลือกตั้ง

เมื่อถามว่า ประมาณการได้หรือไม่ว่าควรยุบสภาในช่วงไหน นายแสวง กล่าวว่า ไม่สามารถฟันธงได้ เพราะเราเป็นผู้ใช้กฎหมาย และปรับให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งในการหารือกับนายวิษณุ ไม่ได้พูดเรื่องการยุบสภา

เมื่อถามว่า นายวิษณุ ว่าอย่างไรกับการหารือในวันนี้ นายแสวง กล่าวว่า ได้มาชี้แจงในสิ่งที่กกต.ต้องทำ ส่วนท่านจะทำในเรื่องใดเป็นเรื่องของรัฐบาล โดยย้ำว่า สำนักงานกกต. มีความจำเป็นทางกฎหมายแบบนี้ หากหน้างานเป็นไปตามที่เราต้องไป การทำงานของกกต. ก็จะง่าย และสะดวก ทั้งกกต. และพรรคการเมือง

เมื่อถามว่า จากการพูดคุยกับ นายวิษณุ มีข้อกังวลเรื่องใดบ้าง นายแสวง กล่าวว่า ไม่มี เพราะขณะนี้มีกฎหมายบังคับใช้แล้ว ก็จะเดินไปตามขั้นตอน เมื่อถามว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งจะประกาศได้เมื่อไหร่ นายแสวง กล่าวว่า เข้าใจว่าทุกพรรครออยู่ ก็จะเร่งทำให้เร็วที่สุด เพราะอยากให้เสร็จเร็ว เพื่อนำข้อมูลเขตต่างๆ ไปทำงานเหมือนกัน ต้องใช้คณะกรรมการประจำหน่วย ที่ต้องใช้ในวันเลือกตั้ง ซึ่งต้องใช้คนเป็นล้านคน

เมื่อถามว่า ประชาชนมีความกังวลเรื่องการแบ่งเขตที่แปลกประหลาด นายแสวง ยืนยันว่า ไม่ได้แปลกประหลาด เพียงแต่ไม่ถูกใจบางพรรค บางคนที่มีพื้นที่ไม่ได้ถูกแบ่งให้ได้ประโยชน์ แต่กกต. ทำตามกฎหมาย

เมื่อถามว่าหากยุบสภาหลังวันที่ 15 มี.ค. 66 กกต. พร้อมที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใช่หรือไม่ นายแสวง ระบุว่า อยากจะใช้ให้เตรียมความพร้อม ส่วนหน่วยงานก็ต้องไปพิจารณา อาจจะมีข้อจำกัดทางการเมือง แต่กกต. อยากเตรียมการ ไม่ให้มีเงื่อนไข

เมื่อถามว่าประเด็นที่หลายพรรคการเมือง มีตัวแทนประจำเขตไม่ครบ จะส่งผลต่อไทม์ไลน์โดยรวมหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ตอนนี้แต่ละพรรค ก็เร่งจัดตั้งตัวแทนสาขาพรรค เพื่อทำไพรมารีโหวตอยู่แล้ว เหมือนกฎหมายเดิม แต่ที่เบากว่ากฎหมายเดิม คือ ไม่ต้องมีตัวแทนครบทุกเขตเลือกตั้ง

เมื่อถามถึงกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกาศให้วันที่ 5 พ.ค. 66 เป็นวันหยุดพิเศษ ส่งผลให้มีวันหยุดยาว 4-7 พ.ค. 66 ซึ่งตรงกับวันที่คาดการณ์จะเลือกตั้ง นายแสวง กล่าวว่า นายวิษณุไม่ได้หารือเรื่องนี้กับตน แต่มองว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในช่วงไหน ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนในชาติ ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดกี่วันก็ตาม หากรู้ว่าเป็นวันเลือกตั้ง ก็อยากให้ไปเตรียมเลือกตั้งกันเยอะๆ

เมื่อถามว่า กกต. มีข้อห่วงใยใดที่ส่งถึงพรรคการเมืองหรือไม่ นายแสวง เห็นว่า ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พรรคก็เข้าใจกฎหมาย อาจมีช่วงแรกๆ ที่ต่างคนต่างไม่ชิน การบังคับใช้ที่ยาว 180 วัน ซึ่งก่อนหน้านี้บังคับแค่ 45-60 วัน

นายแสวง กล่าวด้วยว่า วันนี้ได้พูดคุยครบทุกกลุ่ม โดยช่วงเช้าได้หารือกับกลุ่มไอลอว์ จากนั้นพูดคุยกับนายวิษณุ และหลังจากนี้ช่วงบ่าย จะพูดคุยกับคณะกรรมการเลือกตั้งชุดใหญ่ ซึ่ง นายแสวง ระบุว่า เรามีแผนทำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น ส่วนจะเลือกตั้งวันไหนต้องรอนายกรัฐมนตรี เมื่อถามว่าแนวโน้มจะได้เลือกตั้งในช่วง เม.ย. หรือ พ.ค. 66 นายแสวง กล่าวว่า ไม่ทราบ ขณะนี้ยังไม่มีไทม์ไลน์

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีเสียงวิจารณ์ว่า การที่ กกต. ขอเวลา 45 วันเป็นการช่วยยื้อให้กับพรรครวมไทยสร้างชาติ (ซึ่งขณะนี้ยังมีสาขาพรรคไม่ครบ 400 เขต) นายแสวง ตอบว่า คนก็คิดไปได้ทั้งนั้น กกต. ทำงานเพื่อประเทศไทย ย้ำมองทุกอย่างว่ามีเหตุผล หากไม่มีการแบ่งเขตเราจะเลือกตั้งกันอย่างไร ทุกอย่างมีคำอธิบาย แต่คนจะคิดกันก็คิดได้

เมื่อถามว่า กกต.เตรียมพร้อมเรื่องการแบ่งเขตไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ นายแสวง กล่าวว่า สำนักงานกกต. เตรียมพร้อมแล้วเรียบร้อย และเราพยายามทำให้ครบตามกฎหมาย ไม่ให้มีเงื่อนให้ใครมาท้วง และเป็นที่ยอมรับ ทั้งกฎหมายและในพื้นที่ พร้อมรับประกันว่าจะทำกฎหมาย เป็นที่ยอมรับสำหรับผู้แข่งขันทุกคน

ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เปิดเผยว่า เลขาฯ กกต. ขอเวลาทำงานอย่างน้อย 45 วัน ภายหลังจากที่กฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับได้รับการโปรดเกล้าฯ ลงมาแล้วก่อนมีการยุบสภาว่า แปลว่า กกต. คิดถึงความสะดวก แต่บางครั้งการยุบสภาเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองจะไปยึดความสะดวกไม่ได้ แต่ก็ขอแค่สามารถจัดการเลือกตั้งให้ได้ก็แล้วกันซึ่ง 45 วัน ถือว่าสบายๆ แต่บางทีก็สบายไม่ได้

สิ่งที่เป็นปัญหานับจากนี้คือ กกต. ต้องมีการแบ่งเขตการเลือกตั้งจากเดิมที่มี 350 เขตเพิ่มมาเป็น 400 เขต ที่สำคัญมีบางจังหวัดที่มีประชากรเพิ่มและลดไม่เท่าเดิม ซึ่งกกต. กลางจะต้องส่งให้ กกต. จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและพรรคการเมืองในแต่ละจังหวัดด้วย ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนโดยถือเอาเดือนกุมภาพันธ์ทั้งเดือนคือ 28 วัน อาจจะเร็วกว่านั้นก็ได้ หลังจากนั้นจะยุบสภาเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ว่าจะให้เร็วอย่างที่หลายคนคิดว่า นี่ไงกฎหมายลูกประกาศใช้แล้ว ยุบสภาได้แล้ว บางคนก็บอกว่ารัฐบาลยื้อเวลาไม่ยอมยุบ

นายวิษณุ ระบุด้วยว่า กกต. บอกแล้วว่า หากมีการยุบในช่วงนี้ จัดการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าใครจะลงสมัครเขตไหนอย่างไร เพราะยังไม่ได้มีการแบ่งเขตการเลือกตั้งใหม่ หากเลยวันที่ 28 ก.พ. 66 ก็สามารถประกาศยุบสภาได้เลย

รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย ย้ำไม่สามารถจะยุบสภาก่อนการรู้เขตเลือกตั้งได้ เพราะเมื่อยุบสภา เครื่องเดินทันที ออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาโดยรัฐบาล และกกต. จะต้องประกาศวันเลือกตั้ง วันรับสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งการจะประกาศทั้งวันเลือกตั้งและวันรับสมัคร จะต้องรู้เขตเลือกตั้งทั้งหมดแล้ว

นอกจากนี้ นายวิษณุ อธิบายถึงการแบ่งเขตการเลือกตั้ง โดยที่มีการแบ่งเขตหลายรูปแบบ เช่น แต่ละซอยอาจจะแบ่งกันไปคนละเขตก็ได้ หากมีการซิกแซกเป็นการแบ่งเขตตามใจชอบ มีการได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งมีคนกลัวการแบ่งเขตตามใจชอบแบบสะเปะสะปะ จึงต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชน  และจำเป็นต้องบอกให้ประชาชนได้รับรู้ให้ทั่วถึง ไม่ใช่เฉพาะพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายรัฐบาล

ทั้งนี้หากมีการยุบสภา ไทม์ไลน์ของการเลือกตั้งจะไม่กระทบวันหยุดช่วงเดือนพฤษภาคมที่เคยประกาศไว้ แต่มีโอกาสที่จะใช้ช่วงนั้นในการเลือกตั้งใหญ่ เพราะหากยุบสภาจะต้องเลือกตั้งภายใน 45-60 วัน และวันเลือกตั้งจะต้องเป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ นายวิษณุ ยืนยันอีกทั้งว่า รัฐบาลและกกต. ไม่มีการยื้อเวลา เป็นไปตามขั้นตอนทั้งหมด เพราะกกต. เป็นองค์กรอิสระ เป็นคนกำหนดการเลือกตั้ง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า