SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุป ‘สมุทรสาคร’ สมานฉันท์ ผู้สมัคร ส.ส.เขต ตกลงกันนอกรอบ เบอร์เดียวกันทั้งจังหวัด 3 เขต

– กำลังถูกพูดถึงในวงกว้างกับการรับสมัคร ‘ส.ส.เขต’ ที่จังหวัดสมุทรสาคร ที่เปิดรับสมัครวันแรกไปเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 โดยมี 10 พรรคการเมือง ส่งผู้สมัคร รับเลือกตั้ง ส.ส.เขต ในสมุทรสาคร ซึ่งมีทั้งหมด 3 เขตเลือกตั้ง

– เมื่อถึงเวลารับสมัคร เจ้าหน้าที่ กกต.สมุทรสาคร ที่รับสมัคร ได้ให้ผู้สมัครทุกพรรคการเมืองไปตกลงกันก่อนที่จะยื่นใบสมัคร หากตกลงกันไม่ได้ ก็จะใช้วิธีการจับเบอร์ ปรากฏว่า ทุกพรรคการเมืองตกลงกั และอยากได้เบอร์เดียวกันทั้ง 3 เขต เพื่อที่จะง่ายต่อการใช้หาเสียง

– ผลการหารือเพียง 10 นาที ทุกพรรคเห็นเหมือนกันว่า อยากได้เบอร์เดียวกันทุกเขตทั้งจังหวัด จึงจับเบอร์กันก่อน หากพรรคไหนได้เบอร์อะไร ก็จะไปยื่นใบสมัครเรียงตามลำดับเบอร์ โดยเจ้าหน้าที่ที่รับสมัครได้บันทึกข้อตกลงเอาไว้ และในวันนี้ (4 เม.ย. 66) ทางสำนักงาน กกต.สมุทรสาคร ก็ได้ประกาศการรับสมัคร ส.ส.เขตวันแรก พร้อมเบอร์ผู้สมัครแล้ว ดังนี้

เบอร์ 1 พรรคพลังประชารัฐ

เบอร์ 2 พรรครวมไทยสร้างชาติ

เบอร์3 พรรคเพื่อไทย

เบอร์ 4 พรรคไทยภักดี

เบอร์ 5 พรรคประชาธิปัตย์

เบอร์ 6 พรรคไทยสร้างไทย

เบอร์ 7 พรรคภูมิใจไทย

เบอร์ 8 พรรคเสรีรวมไทย

เบอร์ 9 พรรคก้าวไกล

เบอร์ 10 พรรคคลองไทย

https://www.facebook.com/ect.samutsakhon/posts/pfbid0tK6z5XfCK332GXSUKgRdDxjm9rsqHTiadRqAxvfGdGPpGmpN4Br9Rs24ZEYpAyXxl

 

นักวิชาการ ยืนยันกฎหมายเปิดช่องทำได้-แต่จังหวัดใหญ่เขตเยอะทำยาก

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า อธิบายกรณีของการรับสมัคร ส.ส.เขต สมุทรสาคร ที่ทั้งจังหวัดใช้เบอร์เดียวกัน กับ สำนักข่าว TODAY ว่า  ทำได้อยู่แล้ว กฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า ถ้าเกิดผู้สมัครมาพร้อมกัน ให้ตกลงกันเองว่าจะเอาอย่างไร ถ้าตกลงกันได้ ก็ดำเนินการตามนั้น ซึ่งกรณี สมุทรสาคร คุยกันและตกลงกันได้ว่า เราจับฉลากกันเองนอกรอบก่อน แล้วใครได้ลำดับที่เท่าไหร่ก็ถือว่าได้เบอร์ตามนั้น เวลาไปสมัครก็เดินไปตามลำดับไม่ต้องแย่งกัน ผู้สมัครก็จะได้เบอร์ตามนั้น ก็วินวินกันตรงที่ ผู้สมัครพรรคเดียวกัน ก็ได้เบอร์เดียวกันทั้งจังหวัด ประชาชนสบายหน่อยให้การจำ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมที่อื่นทำไม่ได้ ดร.สติธร ตอบว่า มีหลายแบบ

1. ไม่มีใครชวน คิดว่าไปตามระบบต้องมาแย่งเบอร์แล้วจบกัน

2. จังหวัดใหญ่ เขตมีเยอะทำยาก เช่น กรุงเทพฯ มี 33 เขตเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองไม่ได้ส่งผู้สมัครครบ 33 เขตทุกพรรค ก็ต้องมานั่งตกลงกัน สมมุติพรรคที่มาพร้อมกัน แต่ส่งผู้สมัครแค่ 5 เขต หรือ 10 เขต อาจทักท้วงพรรคที่ส่งครบ 33 เขตว่า ก็ไปตกลงกันเอาเบอร์ดีๆ ไปหมด จึงทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ ต่อให้มีการชวนคุย ก็ไม่ยอมกัน

ภาพปกจาก : สนง.กกต.สมุทรสาคร

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า