SHARE

คัดลอกแล้ว

เลือกตั้งใหญ่ 2566 สนาม กทม. เป็นอีกหนึ่งสมรภูมิ ที่ทั้งพรรคใหญ่ พรรคกลาง มุ่งช่วงชิง หวังได้เก้าอี้ ส.ส. มากที่สุด

ในเลือกตั้ง 62 กทม. มีเขตเลือกตั้ง 30 เขต จึงมี ส.ส. ทั้งหมด 30 คน แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ จะมี ส.ส. เพิ่มเป็น 33 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง นอกจากหัวหน้าพรรค แกนนำตึงตัวแล้ว หลายพรรคมีการตั้ง ‘หัวหน้าทีมหาเสียง’ มารับผิดชอบลุยช่วยผู้สมัคร โกยคะแนนเสียงจากคนกรุงด้วย รวบรวม 7 พรรคการเมือง ดังต่อไปนี้

เริ่มที่ พรรคที่เลือกตั้ง 62 กวาด ส.ส. ไปสูงสุดถึง 12 ที่นั่ง อย่าง ‘พลังประชารัฐ’  ครั้งนี้ได้ นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. และผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. เมื่อปี 2565 มานำทีม

ถัดมาคือ ‘เพื่อไทย’ ที่เลือกตั้ง 62 ได้ ส.ส.กทม. ไป 9 ที่นั่ง ครั้งนี้ มี พวงเพ็ชร ชุนละเอียด หรือที่แวดวงการเมืองรู้จักในนามว่า ‘เจ๊แจ๋น’ ผู้อำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ของพรรคเพื่อไทย ก้าวขึ้นมาเป็นมาดามเมืองหลวงคนใหม่

อีกพรรคที่ทำผลงาน ส.ส.กทม. เมื่อเลือกตั้ง 62 เท่ากับพรรคเพื่อไทย คือ ‘ก้าวไกล’ หรือ ‘อนาคตใหม่’ ตอนนั้นได้ ส.ส.กทม. มาถึง 9 ที่นั่ง ศึกครั้งใหม่นี้ มีนายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรค เป็นผู้รับผิดชอบหาเสียงในกทม. แท็คทีมาด้วย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตผู้สมัคร กทม. ที่ได้คะแนนจากชาวกรุงเทพฯ มาเป็นลำดับ 3 ห่างจากอันดับ 2 แค่หลักร้อยคะแนน

ส่วนพรรคที่หมายมั่นปั้นมือกับสนามกทม. ไม่น้อยหนา แม้เลือกตั้ง 62 จะไม่ได้ ส.ส. เลย เลือกตั้ง 66 กลับมาจัดเต็ม อย่าง พรรคภูมิใจไทย ที่เลือกตั้งครั้งนี้ให้ความสำคัญเปิดเวทีปราศรัยในกทม.ถี่กว่าการเลือกตั้งทุกครั้ง โดยมีนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรองผู้ว่าฯ และอดีตโฆษกกทม. มารับผิดชอบ

เจ้าของพื้นที่กทม.เก่า อย่างพรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการยุทธ์ศาสตร์ กทม. ของพรรค ได้แต่งตั้ง นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้คะแนนมาเป็นลำดับ 2 สนามชิง ส.ส. นายสุชัชวีร์ มาเป็นประธานคณะทำงานนโยบายกทม. และ วทันยา บุนนาค หรือมาดามเดียร์ เสริมทีมด้วยตำแหน่งประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมืองกทม.

ขณะที่ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า (เกิดจากพรรคชาติพัฒนาและพรรคกล้า) อดีต ส.ส.เขตจตุจักร พรรคประชาธิปัตย์ ศึกเลือกตั้ง 66 มากุมบังเหียนช่วยผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคชาติพัฒนากล้า คว้าเก้าอี้ ส.ส.

และปิดท้ายด้วย พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่เลือกตั้ง 62 ยังไม่ได้ลงเลือกตั้ง ในเลือกตั้ง 66 ส่งผู้สมัคร ครบ 33 เขต โดยมีนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรคมานั่งแท่นสู้ศึกเอง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า