SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลปกครองสูงสุด ยกฟ้อง 4 คดี กรณี กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง ‘กทม.-สุโขทัย-สกลนคร’ ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายกฟ้อง คดีแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 4 คดี ที่นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม., นายพัฒนา สัพโส ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สกลนคร, นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ ผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สุโขทัย และนายพัฒ ตั้งเบญจผล ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์จากสุโขทัย ยื่นฟ้อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เนื่องจากการดำเนินการของ กกต. ไม่ขัดต่อกฎหมาย

ศาลเห็นว่า เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยสัดส่วนจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งต่อจำนวน ส.ส. 1 คน เป็นตัวตั้ง ทั้งในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร, จังหวัดสกลนคร และจังหวัดสุโขทัย ตามประกาศ กกต. เรื่องแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง ลงวันที่ 16 มี.ค. 66 จำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งในแต่พื้นที่มีความแตกต่างกันไม่เกิน 10% ของค่าเฉลี่ยจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง 162,766 คนต่อจำนวน ส.ส. 1 คนจนเกินไป

การที่ กกต. ออกประกาศฯ ในส่วนของกรุงเทพมหานคร 33 เขตเลือกตั้ง จังหวัดสกลนคร 7 เขตเลือกตั้ง และจังหวัดสุโขทัย 4 เขตเลือกตั้ง จึงเป็นการประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (5) กำหนดว่า จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน จึงพิพากษายกฟ้อง

อรรถวิชช์ ชี้การแบ่งเลือกตั้งในอนาคตจะมีความไม่แน่นอน 

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี กล่าวหลังศาลปกครองพิพากษายกฟ้องคดี กกต. ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม. ไม่ขัดต่อกฎหมายว่า ถือเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ เห็นได้ชัดว่า การเลือกตั้งรอบนี้ กกต. ยึดหลักเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 10% คำนวณหาส.ส. 1 คนต่อจำนวนราษฎร เป็นครั้งแรก

ตนได้เน้นย้ำว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลให้ละลายเขตเลือกตั้ง และศาลมีดุลยพินิจว่า การจะใช้หลักเกณฑ์คำนวณหาส.ส.นั้น ล้วนเป็นอำนาจของ กกต. ในการกำหนดเกณฑ์ 10% โดยถือหลักจำนวนราษฎรสำคัญกว่าการนำอำเภอมาใช้แบ่งเขตเลือกตั้ง ก็แปลว่าในอนาคตการเดินลงพื้นที่ของ ส.ส. จะลำบากมากขึ้น เพราะเขตเลือกตั้งต่อจากนี้จะถูกแบ่งเขตได้ตลอดเวลา

“การพิพากษาครั้งนี้ เป็นการย้ำชัดว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งในอนาคต จะมีความไม่แน่นอน อยู่ที่มติ กกต. ในการปรับเกณฑ์ก็สามารถละเลยเขตเลือกตั้งได้ และเชื่อว่าพี่น้องประชาชนเกิดความสับสนทุกครั้งเวลาไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่เคยเลือกต้องถูกย้ายไปเขตเลือกตั้งใหม่ ผมนำเสนอไปแล้วว่า การกำหนดเขตเลือกตั้งปี 66 มีแค่ 4 เขตเลือกตั้งที่เหมือนเดิมกับปี 54 กับ 57 เพราะเป็นระบบการเลือกตั้งเดียวกัน แต่ศาลนำไปเปรียบเทียบกับปี 62 ที่ใช้คนละระบบเลือกตั้ง และแม้ กกต. จะทำแบบสำรวจรับฟังความคิดจากประชาชน โดย กกต. เลือกแบบเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งมีคนเห็นด้วยเพียงคนเดียวก็ตาม ในขณะที่แบบเลือกตั้งที่ 3 มีประชาชนเลือกถึง 403 คน” รองหัวหน้าชาติพัฒนากล้า กล่าว

ทั้งนี้ นายอรรถวิชช์ ย้ำว่า แม้ศาลยกฟ้อง แต่พรรคชาติพัฒนากล้าพร้อมสู้ทุกรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพียงแต่เชื่อว่า จะมีปัญหาในอนาคต ความผูกพัน ส.ส.ในพื้นที่กับประชาชนจะถูกเปลี่ยนแปลงไป เพียงแค่ กกต. ขยับเกณฑ์แค่นิดเดียว เขตเลือกตั้งจะเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม ระบบส.ส.จะถูกเปลี่ยนแปลงเพราะ กกต. เพียงไม่กี่คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เลือกตั้ง 66 กกต.แบ่ง 400 เขตเลือกตั้ง เปิดรายละเอียด 33 เขต กทม. ที่มีเสียงค้าน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า