Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ชวน’ เผย เตรียมถกผลเลือกตั้ง หลัง ‘ประชาธิปัตย์’ พ่ายยับ ชี้คนเบื่อของเก่า ระบุเลือก หัวหน้าพรรค-กรรมการบริหารพรรคใหม่ ต้องเป็นของคนทุกรุ่น

นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผลการเลือกตั้ง ที่พรรคประชาธิปัตย์แพ้ยับเยิน ว่า หากมีเวลาต้องคุยกับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อประเมินผลเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ส่วนที่ถามว่าได้บทเรียนอะไรนั้น มองว่า พรรคมีประสบการณ์มา 77 ปี ไม่ใช่บทเรียน แต่คือประสบการณ์ที่ผู้บริหารพรรคชุดใหม่ต้องพิจารณาว่า ที่ผ่านมามีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาต่อไปและต้องเรียนรู้ทุกครั้ง

นายชวน กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งรอบนี้ เราก็ต้องยอมรับและดูโดยภาพรวมแล้ว เสียงของพรรคลดลงมากกว่าที่เขาคาดหมายเยอะ ตนไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค แต่ก็พยายามตระเวนช่วยหาเสียงไปให้ได้ 77 จังหวัด เพื่อหวังว่า จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เข้ามามาก เพราะดูจากผลสำรวจของนิด้าโพลแล้ว คาดว่า เราจะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 5 คน แต่พอไปได้สักระยะหนึ่ง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้ขอร้องให้ตนกลับไปช่วยในภาคใต้

ต่อมานายจุรินทร์ ก็โทรมาให้ตนลงไปใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และทุกจังหวัดก็ขอให้ไปช่วย โดยนายบัญญัติได้บอกว่า สถานการณ์มันเปลี่ยน มีการใช้ระบบเงินรุนแรงมาก จึงขอให้รีบกลับมา เพราะตนเป็นคนต่อต้านการซื้อเสียง จึงได้ใช้คำที่ว่า “ชาวตรังใครอย่ามุ่งหวังซื้อด้วยเงินตรา” ต้องเอามาใช้ใหม่ในการรณรงค์การซื้อเสียง โดยนายจุรินทร์ก็คุยกับตนว่า มีระบบการยิงแล้ว แต่ก็เสียดายบัญชีรายชื่อเราได้ต่ำกว่าโพลที่คาดไว้ คือได้เพียง 3 คน

เมื่อถามว่า ผลคะแนนของพรรคออกมาเป็นอย่างนี้เป็นเพราะประชาชนอยากเปลี่ยนเอาคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็น ส.ส.หรือไม่ นายชวน คิดว่า ส่วนหนึ่งเขาเบื่อของเก่าแน่นอน และอีกส่วนหนึ่งคือความรู้สึกกับรัฐบาล เวลาเราไปหาเสียงก็จะได้ยิน แต่เราไม่วิจารณ์ใครเขา เพราะประชาธิปัตย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาล แต่ถ้าพูดความจริงผลงานของนายจุรินทร์ที่ทำเรื่องการเกษตร การประกันรายได้ก็ต้องคอยดูต่อไปว่า รัฐบาลหน้าเขาจะทำอย่างไร เพราะในช่วงที่ผ่านมาการประกันรายได้ สามารถทำให้เกษตรกร ชาวนาชาวไร่ ปาล์ม ข้าวโพดมีรายได้ที่แน่นอน ชาวบ้านได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองโกงไปแบบโครงการรับจำนำ ตนคิดว่า โครงการของเราเป็นสิ่งที่ชาวบ้านได้ แต่ชาวบ้านจะเห็นหรือไม่อีกเรื่องหนึ่งเราก็ต้องยอมรับ

เมื่อถามว่า ในการเลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคควรจะเป็นคนรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ นายชวนกล่าวว่าการเมืองเป็นของคนทุกรุ่น เราไม่มาเลือกว่ารุ่นเก่า รุ่นใหม่ รุ่นกลาง แต่ละรุ่นเขาก็มีศักยภาพของเขา คนรุ่นเก่าเขาก็มีอดีตที่จะช่วยพรรค คนรุ่นใหม่ก็จะมีความคิด เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา ปัจจุบันก็เอามาเชื่อมต่อกันพรรคประชาธิปัตย์จึงมีอดีต ปัจจุบัน และมีอนาคต

ถามต่อว่าในฐานะที่นายชวนมีสิทธิ์โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้เรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆ ร่วมโหวตให้ตนเป็นนายกฯ นายชวน กล่าวว่า ตนคิดว่าอย่าไปก้าวก่ายคนอื่นเขาเลย แต่ละพรรคคิดอย่างไรก็คิดเอา และมีมติของเขาเอง ดังนั้นอย่าไปก้าวก่ายหรือรุกล้ำ ควรให้คนอื่นเขาคิดเหมือนตัวเอง แต่ละพรรคเขาคิดเองได้ และเขามีสติปัญญาที่จะคิดเองได้

เมื่อถามว่า มองบทบาทของนายพิธาอย่างไร นายชวน กล่าวว่า ยังไม่ได้ตั้งรัฐบาลเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าในเสียงที่เขาชนะมา เขาก็ต้องให้ความเห็นเอง แต่เท่าที่ประเมินดู ในเวลาที่เราออกไปหาเสียง จะพูดได้ว่าในท่ามกลางของการยิงด้วยเงิน พรรคก้าวไกลไม่มีครหาเรื่องนี้ แต่เขาใช้เรื่องการสร้างกระแสในโซเชียลมีเดียในการหาเสียง

‘ลูกบัญญัติ’ จี้ ‘ประชาธิปัตย์’ ประกาศสนับสนุนพรรคอันดับ 1 

นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ลูกชายบัญญัติ บรรทัดฐาน โพสต์ในเฟซบุ๊กว่า ย้อนไปในการเลือกตั้งปี 62 พรรคประชาธิปัตย์มีมติไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ หนุนคุณประยุทธ์เป็นนายกฯ โดยมีเหตุผลว่าทิศทางสังคมในเวลานั้นต้องการอย่างนั้น สถานการณ์การเมืองขณะนั้นเป็นทางตัน การมีรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต้องเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นการยุติอำนาจของ คสช. ลง และลดแรงกดดันต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในอนาคตหรือการเผชิญหน้าระลอกใหม่ถือเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ผมย้อนให้ดูตัวเลขสักนิดว่าเสียงในการ vote เลือกนายกฯ ต้องได้ 375 (รวม สว.)

เพื่อไทย 116 + อนาคตใหม่ 81 + เสรีรวมไทย 10 + เศรษฐกิจใหม่ 6 + เพื่อชาติ 5 = 218

เมื่อนำไปรวมกับพรรคที่สามารถเข้าร่วมรัฐบาลได้(ในทางคณิตศาสตร์)

ประชาธิปัตย์ 53 + ภูมิใจไทย 51 + ชาติไทยพัฒนา 10 + ชาติพัฒนา 2 = 116 จะได้เพียง 334

หมายเหตุ พรรคเล็กที่เหลือผมไม่นับ เนื่องจากในทางทฤษฎี พรรคเหล่าเป็นตัวแปรที่เกิดจากการคำนวณนอกวิธีการ จึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่พรรคประชาธิปัตย์จะไปรวมตัวกับฝั่งที่เรียกตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตยแล้วจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

ท้ายที่สุด พรรคประชาธิปัตย์จึงตัดสินใจไปร่วมรัฐบาลด้วยเหตุผลข้างต้น มาถึงการเลือกตั้งครั้งนี้ ผลการเลือกตั้งออกมาแล้ว และมีการประกาศจับขั้วรัฐบาลแล้ว ก้าวไกล 152 + เพื่อไทย 141 + ประชาชาติ 9 + ไทยสร้างไทย 6 + เสรีรวมไทย 1 + เป็นธรรม 1 = 310 ตัวเลขนี้ยังไม่เพียงพอให้ถึง 375 อยู่ดี

ดังนั้นบนตรรกะเดียวกับปี62 กระแสความต้องการของสังคมในขณะนี้ ถูกบ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนจากผลคะแนนเลือกตั้ง 66 ว่าประชาชนต้องการให้ใคร พรรคการเมืองใดเข้าไปบริหารประเทศ ในเมื่อกลไกประชาธิปไตยได้ทำงานโดยตัวของมันเองเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งถือเป็นพรรคการเมืองหนึ่งในระบอบนี้ กฎกติกานี้ จึงไม่ควรจะเป็นตัวแปรให้เกิดการรวมเสียงของพรรคการเมืองที่ไม่ได้ชนะเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่ง

การประกาศสนับสนุนพรรคที่ชนะเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่ทำได้ เพื่อให้พรรคอันดับหนึ่งตัดสินใจทางการเมืองง่ายขึ้น ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังกับเกมการเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องไปร่วมรัฐบาลกับเขาเพราะประการแรก เขาไม่ได้เชิญ และแม้ว่าเขาจะเชิญก็ไม่ควรไป เพราะประการที่สอง จำนวนสมาชิกที่เราได้รับความไว้วางใจได้รับเลือกตั้งเข้ามาถือว่าต่ำมาก ซึ่งสะท้อนว่าบุคลากร แนวทาง และนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้รับการยอมรับในระดับที่จะบอกใครได้ว่าเราได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปบริหารประเทศได้ แต่การแสดงท่าทีดังกล่าว แม้จะไม่ได้ส่งผลให้เสียงสนับสนุนถึง 375 แต่จะสะท้อนวุฒิภาวะทางการเมืองของพรรคฯ และการยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง

พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นแกนหลักของสังคมมาเป็นเวลานาน จะหลักในแง่การเป็นผู้นำบริหารประเทศ หรือหลักในการเป็นฝ่ายตรวจสอบ เป็นผู้นำทางความคิดให้แก่สังคมก็ตาม ในเวลาที่ชนะเลือกตั้ง พรรคฯ จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลที่ยืนอยู่บนหลักเหตุผล เอาประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ชูหัวหน้าพรรคฯ เป็นนายกฯ บางครั้งชนะเลือกตั้งแล้ว เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ด้วยสถานการณ์และอุณหภูมิการเมือง พรรคฯ ตัดสินใจ ไม่รับเป็นผู้นำรัฐบาล ปฏิเสธตำแหน่งนายกฯ ก็เคยมี

ในเวลาที่แพ้เลือกตั้ง ประชาชนไม่เห็นเราเป็นทางเลือกหลักในการบริหารประเทศ เราก็ทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านเข้าสู่สภา รวมทั้งใช้กลไกสภาแก้ปัญหาให้ชาวบ้านอย่างเข้มแข็ง นั่นคือนิสัยดั้งเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ยืนอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง ส่วนใครจะรวมกับใครอย่างไร เล่นเกมชิงจังหวะกันอย่างไรก็ให้เขาว่ากันไป หยิบยกนิสัยดั้งเดิมกลับมาใช้ ในขณะเดียวกันก็ถือโอกาสทบทวนปรับปรุงตัวเองน่าจะเป็นเรื่องที่ดี


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาแบบ 1:1

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite

*คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า