SHARE

คัดลอกแล้ว

ผนึกกำลังเครือข่ายทุกภาคส่วนกว่า 50 องค์กร ยกระดับแอปพลิเคชันรายงานผลคะแนนเลือกตั้งทั่วไป 2566 ครั้งแรกกับเทคโนโลยี Crowdfunding ระดมทุนเพื่อสนับสนุนอาสาสมัคร 100,000 คน รายงานผลคะแนนเลือกตั้งจากทุกหน่วยเลือกตั้ง 95,000 หน่วยแบบเรียลไทม์ เริ่มรายงานผลการนับคะแนนแต่ละหน่วยเลือกตั้งจากทุกเขตหลังปิดหีบเลือกตั้งประมาณ 17.15 น.เป็นต้นไป

ตั้งเป้าหมายในการทำงานอาสาสมัครร่วมกันของทุกเครือข่าย พยายามทุกวิถีทางให้ทราบแนวโน้มผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการในเบื้องต้นรอบแรกประมาณ 2 ชั่วโมง หลังปิดหีบเลือกตั้ง 17.00 น.คาดว่าในเวลาไม่เกิน 19.00 น. น่าจะทราบแนวโน้มสัดส่วนคะแนนแบบ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ของแต่ละพรรค และในเวลาไม่เกิน 21.00 น. น่าจะทราบแนวโน้มคะแนนเสียงของผู้สมัคร ส.ส.เขตที่มีคะแนนนำอันดับหนึ่งในทุกเขต 400 เขต

การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2566 มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดอนาคตประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกประกาศยกเลิกการใช้แอปพลิเคชันการรายงานผลคะแนนเลือกตั้ง (อย่างไม่เป็นทางการ) ไปใช้ระบบ ECT Report ที่ไม่ใช่แบบเรียลไทม์ ซึ่งจะเริ่มทราบผลการเลือกตั้งประมาณ 23.00 น. ส่งผลทำให้สื่อที่จะต้องรายงานผลการเลือกตั้งอย่างรวดเร็วและถูกต้อง เพื่อช่วยให้การเลือกตั้งเกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ ได้รับเสียงเรียกร้องจากภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้ช่วยกันหาทางออก ร่วมมือกันสร้างระบบการรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งจากหน้าคูหาเลือกตั้ง อย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์เช่นเดิม

ตลอดช่วงกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสื่ออิสระรวมกว่า 34 สำนัก ได้ร่วมกันหารือกับองค์กรภาคประชาสังคม อาทิสมาคมฟินเทคประเทศไทย, สมาคมเมตาเวิร์สไทย, D-Vote, โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฏหมายประชาชน (iLaw), Vote62, WeWatch, Opendream, CoFact และ ดร.ลอย ชุนพงษ์ทอง ฯลฯ ระดมสมองอย่างเข้มข้นหาแนวทางการทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่าย และการใช้เทคโนโลยีในการระดมทุนในรูปแบบ Crowdfunding, Crowdsourcing เพื่อช่วยกันระดมอาสาสมัครให้ได้ตามเป้าหมาย 100,000 คน ประจำทุกหน่วยเลือกตั้งประมาณ 95,000 หน่วยเลือกตั้ง ทั้งตรวจสอบจับตาและรายงานผลคะแนนเลือกตั้งทันทีเมื่อปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 17.00 น. จนทำให้เกิดการพัฒนาอีกระดับของแอปพลิเคชันรายงานผลคะแนนเลือกตั้งแบบ Realtime และ Final Score ที่เคยนำมาทดสอบการใช้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2565 มาแล้ว

ทีมงานเทคโนโลยีได้พัฒนาระบบเชื่อมต่อเครือข่ายอาสาสมัครจากหลาย ๆ องค์กรให้สามารถใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกันได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการมอบหมายหน้าที่อาสาสมัครในวันเลือกตั้ง  ระหว่างการรายงานผลคะแนนแบบ Realtime และ Final Score รวมทั้งการถ่ายภาพกระดานนับคะแนนและใบรับรองผลการนับคะแนน ส.ส. 5/18 ในแต่ละหน่วย เพื่อส่งเข้ามาเก็บไว้ในระบบ Cloud และ Blockchain ให้สามารถตรวจสอบในภายหลังได้

คณะทำงานของสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ยังได้ออกแบบระบบการรับสมัครอาสาสมัครและระบบการบริหารอาสาสมัครร่วมกันกับเครือข่ายต่าง ๆ เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มการระดมทุนแบบ Crowdfunding และ Crowdsourcing ที่ออกแบบโดย D-Vote ภายใต้การทำงานร่วมกับ สมาคมฟินเทคประเทศไทย และ สมาคมเมตาเวิร์สไทยโดยหลักการการเปิดรับสมัครอาสาสมัครของแต่ละเครือข่ายและองค์กรยังเป็นอิสระต่อกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประชาสัมพันธ์ไปตามภารกิจของแต่เครือข่ายแต่ละองค์กรจะเห็นสมควร

การระดมทุน Crowdfunding ตั้งเป้าหมายเงินบริจาคจากผู้ต้องการสนับสนุนการเลือกตั้งและส่งเสริมประชาธิปไตยไว้ประมาณ 12 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาระบบรายงานผลคะแนนเรียลไทม์และระบบบริหารอาสาสมัครที่มีขนาดใหญ่มาก

ส่วน Crowdsourcing จะอยู่ในรูปแบบสิ่งของกับบริการต่าง ๆ ที่ได้จากผู้สนับสนุน เพื่อใช้เป็นการตอบแทนหรือ Reward ให้รางวัลกับผู้บริจาคและอาสาสมัครในการรายงานผลคะแนนที่ตั้งเป้าหมายระดมอาสาสมัครไว้ 100,000 คน  โดยจะส่งมอบในรูปแบบของ NFT หรือ Token ให้กับผู้บริจาคเงิน ผู้สนับสนุน และอาสาสมัครตั้งแต่เริ่มบริจาค หรือลงทะเบียนสมัครเข้ามาเป็นอาสา โดยจะขอเรียกรวม ๆ ว่าเป็น “ดิจิทัลคูปอง” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายขึ้น  ในการนำไปใช้แลกสินค้า หรือบริการส่วนลดที่ผู้สนับสนุนแจ้งความจำนงเข้ามา ในระยะเวลาดำเนินโครงการหรือภายหลังได้ปฏิบัติภารกิจรายงานผลคะแนนเลือกตั้งเสร็จแล้ว

ในส่วนการบริหารอาสาสมัครได้ออกแบบไว้ 3 ระดับเพื่อให้การายงานผลคะแนนเลือกตั้งเป็นไปอย่างครอบคลุมทุกหน่วยเลือกตั้ง และส่งคะแนนเข้าระบบประมวลผลในศูนย์ปฏิบัติการวันเลือกตั้งได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

 

ระดับที่ 1 อาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้ง  400 เขตที่มีหน่วยเลือกตั้งรวมประมาณ 95,000 หน่วย ที่ตั้งเป้าจะมีอาสาสมัครประมาณ 100,000 คนประจำทุกหน่วยเลือกตั้ง

อาสาสมัครหลักในระดับหน่วยเลือกตั้งในทุก ๆ คูหาจะมาจาก สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดประเทศไทย, สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และ สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ที่กระจายกันทุกจังหวัด ทุกเทศบาลและทุกตำบลที่มีหน่วยเลือกตั้งในระดับหมู่บ้านมากกว่า 80,000 – 90,000 หมู่บ้าน

นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากพรรคการเมืองหลายพรรคที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการรายงานผลคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองทุกพรรคมีอาสาสมัครของพรรค ประจำอยู่ในทุกหน่วยเลือกตั้งอยู่แล้ว พรรคที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการนี้แล้วคือ พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคก้าวไกล, พรรคไทยสร้างไทย, พรรครวมไทยสร้างชาติ

โดยโครงการนี้ยังเปิดกว้างรับสมัครอาสาสมัครจากทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อช่วยกันทำให้การรายงานผลคะแนนเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น รวมทั้งอาสาสมัครอิสระภาคประชาชนจากภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันคือ iLaw, Vote62, WeWatch ฯลฯ และอาสาสมัครอิสระภาคประชาชนที่เป็นผู้สนใจจะมีส่วนร่วมทางการเมืองทำงานอาสาสมัครโครงการนี้  ที่สามารถสมัครโดยตรงกับภาคีเครือข่าย และผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ได้ เพื่อให้แต่ละเขตเลือกตั้งที่มีหน่วยเลือกตั้งประมาณ 200 – 250 หน่วยเลือกตั้ง มีอาสาสมัครจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมรายงานการนับคะแนนเลือกตั้งแต่ละเขตให้มากที่สุด

ส่วนในพื้นที่เลือกตั้งกรุงเทพมหานคร 33 เขต ทางกรุงเทพมหานครจะให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกในการรายงานคะแนนเลือกตั้งจากเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครประมาณ 6,500 คนที่ประจำอยู่ในทุกคูหาเลือกตั้ง เพื่อให้ได้ผลคะแนนเลือกตั้งอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

นอกจากนี้ทาง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แสดงความจำนงเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้งด้วย โดยจะส่งอาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งใกล้มหาวิทยาลัยหาสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือมัธยมปลายทั่วประเทศ มีความสนใจจะร่วมสนับสนุนโครงการนี้ที่เป็นกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ด้วยการให้นักศึกษาและนักเรียนมัธยมปลายเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้ง ยังสามารถแจ้งความจำนงมาได้ทุกจังหวัด

 

ระดับที่ 2  อาสาสมัครหัวหน้าเขตเลือกตั้ง 400 เขต และทีมงานที่จะมีการทำงานประสานงานกับสำนักงานกกต.เขตและ กกต. จังหวัดในการรับคะแนนที่เจ้าหน้าที่ กกต.เขตกรอกเข้าไปในระบบ ETC Report อาสาสมัครในระดับที่ 2 จะมีแนวทางการทำงานร่วมกับบุคลากรในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในพื้นที่ต่าง ๆ, มหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีวิทยาเขตกระจายอยู่ทั่วประเทศ และเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยจะประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์, เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยและนักศึกษาของแต่ละสถาบัน  เข้าร่วมโครงการฯ ในฐานะหัวหน้าเขตเพื่อบริหารอาสาสมัครใน 400 เขต

 

ระดับที่ 3  อาสาสมัครศูนย์ปฏิบัติการวันเลือกตั้ง (Election Day War Room)

วอร์รูมจะทำหน้าที่ในการรวมศูนย์การส่งคะแนนจากอาสาสมัคร 400 เขตเข้ามาจากอาสาสมัคร 100,000 คน เพื่อกลั่นกรองและตรวจสอบคะแนนให้ถูกต้องมากที่สุดก่อนส่งเข้าระบบประมวลผลกลางของโครงการที่เชื่อมต่อไปยังสำนักข่าวต่าง ๆ ที่ร่วมโครงการประมาณ 34 สำนัก เพื่อเผยแพร่ออกทุกช่องทางของสื่อต่าง ๆ โดยกองบรรณาธิการแต่ละสื่อสามารถตัดสินใจอย่างอิสระในการเลือกนำเสนอผลคะแนนเลือกตั้งในแต่ละเขต และแสดงผลคะแนนในรูปแบบกราฟฟิกต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการแข่งขันในการนำเสนอให้น่าสนใจ ตามแนวทางหรือสไตล์ของแต่ละสำนักข่าวบนฐานข้อมูลคะแนนเดียวกันที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว

ศูนย์ปฏิบัติการวันเลือกตั้ง (Election Day War Room) จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่มีประสบการณ์ในการรายงานผลคะแนนเลือกตั้งมาหลายครั้งแล้ว โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุมจะลงทุนติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 100 เครื่องและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในศูนย์ปฏิบัติการวันเลือกตั้งภายในมหาวิทยาลัยศรีปทุม

 

ร่วมสมทบทุนสนับสนุนอาสาสมัครรายงานผลคะแนน : www.d-vote.com/TheWatcher

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า