SHARE

คัดลอกแล้ว

หน่วยงานรัฐหนุน ‘หลักประกันรายได้’ ผู้สูงอายุ สช.เตรียมชวน ‘พรรคการเมือง’ ไขข้อข้องใจ ใช้เงินจากไหนจัดสวัสดิการ – ชัด! ปลาย เม.ย.นี้

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) จัดเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ (Policy Dialogue) ครั้งที่ 1 เรื่อง “ไทยพร้อมยัง..ที่จะมีหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ” เพื่อฉายภาพสถานการณ์ เสนอแนะแนวทาง รวมทั้งหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำ ‘ระบบบำนาญผู้สูงอายุ’ ของประเทศไทย

โดยมีผู้บริหารระดับสูงจาก 6 หน่วยงานราชการ ได้แก่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กรมกิจการผู้สูงอายุ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เข้าร่วม เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 66

สาระสำคัญของเวทีสนทนา ผู้บริหารแต่ละหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ตลอดจนบอกเล่าถึงการดำเนินงานของหน่วยงานตัวเอง และกลไกการออมที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยพบว่าอัตราการเกิดทุกวันนี้ต่ำกว่าอัตราการตาย ส่งผลให้จำนวนประชากรของประเทศโดยรวมลดลง ซึ่งหมายถึงกำลังคนในวัยทำงานลดลงด้วย

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยจำนวนมากขาดรายได้ หรือไม่มีรายได้เพียงพอหลังเกษียณอายุ นำไปสู่ปัญหาความยากจนและคุณภาพชีวิตที่ต่ำลง ทุกหน่วยงานรวมถึงผู้เข้าร่วมการสนทนาจึงเห็นพ้องร่วมกันถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมี ‘ระบบบำนาญผู้สูงอายุ’ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่วงสนทนาได้ตั้งคำถามและแสดงความห่วงใย คือ ‘แหล่งงบประมาณ’ ที่จะนำมาจัดทำระบบสวัสดิการในครั้งนี้ มาจากที่ใด

น.ส.วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจฯ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยโครงสร้างประชากรปี 2566 มีผู้สูงวัย 20% วัยแรงงาน 63% และวัยเด็กเพียง 16% แต่ในปี 2583 คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุถึง 30% ขณะที่วัยแรงงานลดลงเหลือ 55% และวัยเด็กเพียง 12% ซึ่งจะทำให้เข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” ที่มีผู้สูงวัยถึง 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ นี่จึงเป็นโจทย์ที่แสดงให้เห็นความสำคัญของการสร้างหลักประกันรายได้ เพื่อให้คนมีความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อสูงวัย ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการจัดวางแผนเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว บนหลักการ “เกิดดี-อยู่ดี-แก่ดี” ด้วย

นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2545 คนไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ที่ช่วยคุ้มครองภาวะล้มละลายจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งนับเป็นการออมในส่วนการดูแลความเจ็บป่วยของผู้คนไปได้มาก ภายใต้กองทุนบัตรทองที่มีขนาดกว่า 1.4 แสนล้านบาท แต่ในจำนวนนี้กลับใช้ในการซ่อมแซมสุขภาพไปถึง 1 แสนล้านบาท และถูกใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพเพียง 4 หมื่นล้านบาท เป้าหมายสำคัญจึงเป็นการที่เราจะขยับสัดส่วนนี้ได้อย่างไร

นางนวพร วิริยานุพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดุลยภาพการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ระบบหลักประกันรายได้ของประเทศไทยที่มีอยู่นั้น อยู่ในความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสวัสดิการที่รัฐให้ฝ่ายเดียว การออมภาคบังคับ หรือการออมภาคสมัครใจ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินนโยบายมี 3 ด้าน คือ

1. ความครอบคลุม ทั่วถึงประชากรทุกกลุ่ม

2. ความเพียงพอ เป็นจำนวนเงินที่พอใช้หลังเกษียณ

3. ความยั่งยืน ไม่กระทบกับระบบการเงินการคลัง

นางนวพร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้อยู่ระหว่างการเสนอร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. … ที่ตั้งเป้าจะให้มีคณะกรรมการนโยบายระดับชาติ เข้ามาบูรณาการทุกกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรายได้ประชาชนหลังเกษียณ ให้แต่ละกองทุนมีความสอดคล้องกัน เพื่อให้ภาพรวมสุดท้ายประชาชนมีรายได้หลังเกษียณเพียงพอ และไม่เป็นภาระทางการคลังในระยะยาว

นายบุญเลิศ อันประเสริฐพร รองเลขาธิการกลุ่มงานปฏิบัติการ กบข. กล่าวว่า กบข. เป็นกองทุนการออมที่ให้ข้าราชการมีส่วนร่วมในการออมได้สองส่วนคือ การออมภาคบังคับ 3% และการออมภาคสมัครใจที่ขยายได้สูงสุดถึง 30% โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างหลักประกันรายได้ที่มั่นคงหลังเกษียณ พร้อมกับจัดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับสมาชิก ซึ่งภาพรวมในปัจจุบันมีข้าราชการเป็นสมาชิกทั่วประเทศรวม 1.2 ล้านคน และมีเงินในกองทุนกว่า 1.2 ล้านล้านบาท

น.ส.บุษยา ใจสว่าง รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวว่า ภายใต้ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 นอกจากการกำหนดในเรื่องของกองทุนผู้สูงอายุ หรือเบี้ยยังชีพ เป็นสวัสดิการสำหรับผู้สูงวัยแล้ว กองทุนนี้ยังสนับสนุนการสร้างรายได้และการประกอบอาชีพ เนื่องจากมีผู้สูงวัยเป็นสัดส่วนถึง 30% ที่มีศักยภาพและยังสามารถทำงานได้ โดยผู้สูงวัยเหล่านี้จะสามารถนำเงินจากกองทุนไปใช้ส่งเสริมการประกอบอาชีพได้ เป็นเงินทุนกู้ยืมปลอดดอกเบี้ยระยะเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตาม ภายใต้เนื้อหาของ พ.ร.บ. ตั้งแต่ปี 2546 มาถึงปัจจุบันอาจไม่ตอบโจทย์ ขณะนี้ทางกรมจึงอยู่ระหว่างการเสนอปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. เพื่อสนับสนุนสิทธิ สวัสดิการ รายได้ต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับผู้สูงวัยมากขึ้น

นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า พอช. เป็นอีกหนึ่งกลไกของสวัสดิการที่รัฐจัดให้กับประชาชน ผ่านการสนับสนุนความเข้มแข็งในระดับชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานราก โดยหนึ่งในนั้นคือการเริ่มต้นจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ที่ปัจจุบันขยายจนมีสมาชิกรวมกันทั่วประเทศกว่า 6.2 ล้านคน มีเงินกองทุนรวมทั้งหมด 1.9 หมื่นล้านบาท จากเงินของประชาชนที่เก็บสมทบร่วมกันวันละ 1 บาท และถูกนำไปใช้จัดสวัสดิการของคนในชุมชน ดูแลร่วมกันตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน

ทางด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (เลขาธิการ สช.) กล่าวว่า เป็นที่ทราบดีว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และผู้สูงวัยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา การสร้างความมั่นคงโดยเฉพาะในด้านรายได้ให้กับผู้สูงวัยนับจากนี้ จึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ ซึ่งการศึกษาของภาควิชาการเองก็พบว่าประชาชนเองมีความต้องการ แต่คำถามที่เกิดขึ้นคือเราจะสามารถขับเคลื่อนเรื่องนี้ไปด้วยกันได้อย่างไร

นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า เรื่องการสร้างหลักประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุ กำลังเป็นนโยบายที่เกือบทุกพรรคการเมืองใช้เป็นแคมเปญช่วงหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นการขยายเบี้ยยังชีพ การสร้างบำนาญถ้วนหน้า หวยบำเหน็จ ฯลฯ แต่คำถามสำคัญ อย่างแรกคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายมีความพร้อมในการขับเคลื่อนนโยบายเหล่านี้หรือไม่ และอีกคำถามใหญ่คือ นโยบายที่ถูกนำเสนอออกมามากมายนั้น จะนำงบประมาณมาจากส่วนใด เรื่องนี้ฝ่ายนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองจะเป็นผู้นำคำตอบมาให้กับประชาชน บนเวทีที่ สช. เตรียมจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนเมษายน ก่อนการเลือกตั้งใหญ่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า