SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงฤดูฝนและฤดูน้ำหลาก โดยเฉพาะระยะนี้มีน้ำท่วมจากภาวะโลกร้อนและพายุฝนหนักในหลายพื้นที่มากขึ้น ล่าสุดข่าวเหตุร้ายไฟดูดนักเรียนล้มหมดสติที่อุดรธานีและระยอง รวมทั้งผู้เคราะห์ร้ายล้างมอเตอร์ไซค์ข้างเสาไฟฟ้าถูกไฟดูดเสียชีวิตที่ชัยภูมิ นับเป็นความเศร้าสลด ภาพนาทีชีวิตที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมีความรู้และเพิ่มความระมัดระวัง การจะหุนหันรีบเข้าไปช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด อาจกลายเป็นการเพิ่มผู้ถูกไฟฟ้าดูดขึ้นอีกคน นักวิชาการวิศวะมหิดลมีข้อแนะนำในการปฏิบัติลดความเสี่ยงและป้องกันการสูญเสียชีวิตจากภัยไฟรั่วไฟดูด

BANGKOK, THAILAND-September 23, 2020 Man walking in heavy rain on a flooded road

ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้ที่ถูกไฟดูดจากไฟรั่วขณะน้ำท่วมขัง หรือ Electric Shock Drowning (ESD) มักรู้สึกชา ขยับร่างช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงอาจเสียชีวิตจากการจมน้ำได้ด้วย นอกเหนือจากเสียชีวิตเพราะกระแสไฟฟ้าโดยตรง ปกติฉนวนที่หุ้มสายไฟอาจเปื่อยจากอายุการใช้งาน การถูกบาดเสียหายชำรุด หรือการต่อสายไฟภายในเสาไฟส่องสว่างที่ใช้เทปพันไม่ได้มาตรฐานแล้วทองแดงเปิด อาจไปถูกน้ำซึ่งเป็นสื่อนำไฟฟ้ารั่วไปยังเสาไฟมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเสาไฟที่เป็นโลหะ ถ้ามีไฟเลี้ยงและมือเราไปแตะถูกโดยตรงโดยไม่ใส่สวมรองเท้ากั้นไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับพื้น กระแสไฟฟ้าที่รั่วก็สามารถวิ่งเข้าสู่มือผ่านเท้าลงดิน หรือเรียกว่าถูกไฟดูดได้

ในกรณีน้ำท่วม แม้น้ำจะไม่ได้เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดีเท่ากับโลหะ แต่น้ำที่ท่วมเปียกขาจะเป็นตัวกลางที่ทำให้กระแสไฟรั่วผ่านร่างกายไหล ‘ครบวงจรลงดินได้’ ลักษณะไฟฟ้าที่รั่วจะคล้ายการช็อตปลาซึ่งกินบริเวณรัศมี Voltage Gradient ที่ส่งผลราว 1-2 เมตร อันตรายที่เกิดจากไฟรั่วขึ้นอยู่กับระยะเวลา ปริมาณกระแสไฟฟ้า และตำแหน่งที่ไฟฟ้ารั่วเข้าสู่ร่างกาย หากมือซ้ายสัมผัสจุดที่มีไฟรั่วและขายังแช่น้ำอยู่ ไฟฟ้ารั่วจะไหลผ่านหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ปริมาณกระแสเพียง 0.1 แอมแปร์ เพียง 2 วินาทีก็สามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

ความแตกต่างของ ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต

อย่างแรก ไฟรั่ว ไฟดูด เป็นไฟที่รั่วออกจากสายไฟหรือโครงโลหะของอุปกรณ์ที่มีความชำรุดแล้วดูดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งต่างจากไฟช็อต หรือที่เรียกว่า ไฟฟ้าลัดวงจร ที่มีสาเหตุจากตัวนำทองแดงภายในฉนวนของสายไฟมีการแตะถึงกัน ซึ่งกระแสไฟฟ้าลัดวงจรนั้นจะช็อตไหลลัดไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยมีความรุนแรงและมีปริมาณกระแสที่สูงมาก เป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้ เบรกเกอร์หรือฟิวส์จะเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ตัดไฟฟ้าลัดวงจรที่สูงเกินค่านั้นออกจากวงจรเพื่อความปลอดภัย

หลักในการปฏิบัติลดความเสี่ยง ต้องเตือนตัวเองเสมอว่า สายไฟฟ้าที่เห็นเบื้องหน้านั้นอาจมีไฟเลี้ยงอยู่ บริเวณโคนเสาไฟฟ้า เสาไฟส่องสว่าง หรือ สายไฟที่แช่น้ำ เป็นบริเวณที่ควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินหรือขี่มอเตอร์ไซค์ หรือจักรยานผ่านเข้าไปใกล้โดยเฉพาะช่วงน้ำท่วมขังจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจมีสายไฟชำรุด รั่ว หรือสัตว์มีพิษพวกงูหรือตะขาบที่เรามองไม่เห็นอยู่ หากพบผู้ที่ถูกไฟดูดในบ้าน ก่อนอื่นต้องตั้งสติพิจารณาว่าสามารถ ‘ยกเบรกเกอร์’ ตัดวงจรไฟเลี้ยงที่ตำแหน่งนั้นได้หรือไม่

แต่ถ้าเป็นไฟดูดนอกบ้าน การแจ้งการไฟฟ้า กฟน. หรือ กฟภ.ที่เกี่ยวข้องเพื่อตัดกระแสไฟอาจใช้เวลานาน ควรสวมรองเท้าบูทยาง หรือ อาจหุ้มด้วยถุงพลาสติกหนาใหญ่ๆ เพื่อไม่ให้เท้าเราสัมผัสเปียกน้ำก่อนเดิน และใช้วัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้ ผ้า เสื้อ เข็มขัด สายยาง เชือก ไม้กวาด ถุงมือยาง เพื่อคล้องเกี่ยวผู้ที่ถูกไฟดูดให้ออกไปจากบริเวณนั้นก่อน ทั้งนี้โดยห้ามสัมผัสกับตัวผู้ถูกไฟดูด หรือ น้ำในบริเวณนั้น แล้วทำการ CPR หากผู้ถูกไฟดูดหัวใจหยุดเต้น ติดต่อเรียกหน่วยฉุกเฉิน 1669 เพื่อนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

BANGKOK – SEPTEMBER 5: Major Cineplex Theater on Sep 5, 2011 in Ratchayothin Junction, Bangkok, Thailand. Thai Flood 2011

สำหรับอาคารที่มีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม ควรย้ายตำแหน่งปลั๊กเสียบและย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าให้สูงขึ้นพ้นระดับน้ำ ส่วนคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศนอกตัวบ้านที่วางบนระดับพื้นดินควรยกติดผนังให้มีระดับสูงขึ้น และงดเสียบปลั๊กหรือกดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าหากตัวเปียกหรือเท้าแช่น้ำ ควรเช็ควงจรเบรกเกอร์ว่าจ่ายไฟให้ปลั๊กเสียบตัวไหน โดยแยกเบรกเกอร์ที่คุมวงจรไฟฟ้าของชั้นล่างที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม ควรเป็นคนละตัวกับเบรกเกอร์ที่คุมวงจรไฟฟ้าชั้นบน เพื่อสามารถยกเบรกเกอร์ตัดวงจรที่ถูกน้ำท่วมชั้นล่างออก เพื่อความปลอดภัยโดยยังสามารถใช้งานไฟฟ้าของชั้นบนได้ แต่ถ้าเป็นอาคารหรือบ้านชั้นเดียวที่มีน้ำท่วมขังก็ไม่ควรเสี่ยงใช้กระแสไฟฟ้า ออฟฟิศหรือโรงเรียนที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งจะทำให้คนต้องเดินสัญจรลุยน้ำ ก็ควรพิจารณาปิดทำการหรือหยุดเรียนเพื่อความปลอดภัย

การปล่อยให้เกิดไฟรั่ว นอกจากเป็นอันตรายต่อชีวิตแล้วยังทำให้ต้องสิ้นเปลืองเงินค่าไฟฟ้าไปโดยไม่ได้ใช้ บิลค่าไฟจะสูงกว่าปกติอีกด้วย ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เสริมท้าย ข้อแนะนำการป้องกันไฟดูด-ไฟรั่ว ดังนี้

• ควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว ประเภทเซฟทีคัทที่ได้มาตรฐานด้วย เพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมเพิ่มจากระบบดินและเบรกเกอร์ตัดไฟ การทำงานของอุปกรณ์ตัดไฟรั่วจะวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าวงจรเทียบกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากวงจร หากมีค่าที่แตกต่างกัน (ตามมาตรฐานวิศวกรรมไฟฟ้า คือเกินกว่า 0.03 แอมแปร์) ซึ่งหมายถึงได้เกิดมีกระแสไฟรั่วไปที่อื่นนอกวงจรปกติ เครื่องตัดไฟรั่วจะทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าออกซึ่งจะทำให้ปลอดภัย

• ในบ้านควรมี ไขควงเช็คไฟ ไว้ประจำเพื่อใช้ตรวจวัดไฟรั่วที่โครงอุปกรณ์ เช่น ฝาตู้เย็น เครื่องซักผ้า หากสงสัยว่าจะเกิดไฟรั่ว ไฟดูด โดยไม่ต้องสัมผัสด้วยมือเราเอง

• ควรตรวจสอบความชำรุดของสายไฟและจุดต่อสายไฟอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไฟรั่ว ยิ่งถ้าโดนแดด มีของกระแทก หนูกัดสายไฟ หรือใช้งานเกินพิกัดจนเกิดความร้อน สังเกตได้จากความร้อน สีเริ่มเปลี่ยน มีกลิ่นไหม้ รอยเขม่าดำ อายุการใช้งานของสายไฟอาจลดน้อยกว่า 20 ปีที่กำหนด

• หากเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟชำรุด ไม่ควรซ่อมด้วยตัวเอง ควรเรียกช่างไฟที่มี ‘ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพช่างไฟฟ้า’

• ผู้รับเหมาติดตั้งเสาไฟส่องสว่างควรเอาใจใส่ในมาตรฐานการติดตั้ง เชื่อมต่อหรือการใช้เทปพันเก็บสายไฟ การตรวจสอบ ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุดและอยู่ใกล้บริเวณที่น้ำท่วมถึง

• จัดอบรมให้ความรู้ผู้อยู่ในอาคาร ชุมชนและโรงเรียนถึงวิธีป้องกันไฟดูด และการทำ PCR ช่วยชีวิตในยามฉุกเฉิน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า