Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีผู้ใช้ไฟฟ้าหลายรายระบุว่า ค่าไฟขยับขึ้นเป็นหลายเท่าตัว ทั้งที่รู้สึกว่าใช้ไฟจากเดิมไม่มาก บ้างก็ว่าใช้มากกว่าเดิมเท่าตัวแต่บิลค่าไฟออกมาตัวเลขกลับไปไกลกว่านั้น ทั้งนี้ สาเหตุเพราะค่าไฟฟ้า มีการกำหนดไว้เป็นแบบขั้นบันได และยิ่งใช้เยอะค่าไฟยิ่งแพงขึ้น ไม่ใช่เหมือนซื้อของบางอย่างที่ซื้อเยอะยิ่งถูกลง

การคิดค่าไฟของทั้งการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หากเป็นกรณี บ้านที่อยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ค่าพลังงานไฟฟ้า จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
.
150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0-150) 3.2484 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 -400) 4.2218 บาท
เกิน 400 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 401 ขึ้นไป) 4.4217 บาท
.
นอกจากนั้นยังมี ค่าบริการ 38.22 บาทต่อเดือน / ค่าไฟผันแปรที่ขณะนี้อยู่ที่ -0.116 คูณด้วยจำนวนหน่วยที่ใช้ / และภาษีมูลค่าเพิ่ม
.
เมื่อมารวมกับการใช้ไฟในช่วงเดือน มี.ค. ที่อากาศเริ่มร้อนมากขึ้น หลายบ้านเคยเปิดแอร์บางช่วงเวลาก็เปิดนานขึ้น รวมทั้งผลกระทบจากโควิด ที่หลายคนย้ายจากการทำงานที่ทำงานมาทำงานที่บ้าน ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน มี.ค. ก็ทำให้ค่าไฟส่วนนี้ซึ่งไม่เคยปรากฏ (เพราะใช้ไฟบริษัท) ก็มาเป็นภาระที่ต้องจ่ายเองในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน

ถ้าหากลองนำค่าใช้จ่ายจริงมาลองคำนวณ บ้านหลังหนึ่งมีค่าไฟฟ้า เดือน ก.พ. แจ้งมา 182 หน่วย 684.23 บาท

คำนวณตามอัตราขั้นบันได เท่ากับ

150 หน่วยแรก               150×3.2484 = 487.26 บาท
ส่วนอีก 32 หน่วย            32×4.2218 = 135.0976 บาท
รวมกันเท่ากับ                 622.3576 บาท

.
+ ค่าบริการ 38.22 บาท เป็น 660.5776
+ ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ Ft 182 หน่วย x -0.116 = -21.112 หักจากยอดรวมแล้วเหลือ 639.4656
+ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 44.7626 = 684.23 บาท

ค่าไฟที่ต้องชำระอยู่ที่ 684.23 บาท

ส่วนเดือน มี.ค. บิลระบุใช้ไฟพุ่งไป 313 หน่วย 1,259.73 บาท
150 หน่วยแรก                       150×3.2484 = 487.26 บาท
อีก 163 หน่วย                        163×4.2218 = 688.1534
รวมกันเท่ากับ 1,175.4134 บาท

.
+ ค่าบริการ 38.22 บาท เป็น 1,213.6334 บาท
+ ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ Ft 313 หน่วย x -0.116 = -36.308 บาท หักจากยอดรวมแล้วเหลือ 1,177.3254 บาท
+ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 82.4128 = 1,259.73 บาท

ค่าไฟที่ต้องชำระอยู่ที่ 1,259.73 บาท

ภาพ : FB กฟภ.

สรุปได้ว่ายิ่งใช้เยอะตัวคูณหน่วยจะยิ่งสูงขึ้น ขณะที่เพจ “โธ่ ชีวิตพนักงานไฟฟ้า” ระบุปัจจัยที่การใช้ไฟมากขึ้นเพราะอากาศร้อนมีผลมาก เช่น เครื่องปรับอากาศแม้จะเปิดเวลาเท่าเดิมแต่ต้องทำงานหนักขึ้น นอกจากนั้นยังมี เครื่องฟอกอากาศ ตู้เย็น (ที่แช่ของไว้มากเกินไป) พัดลมไอน้ำ ที่มีผลต่อค่าไฟที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า