SHARE

คัดลอกแล้ว

คำถามสำหรับวันนี้คือ ถ้าจะให้เลือกโซเชียลมีเดียสักเจ้า ระหว่าง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, IG, TikTok ที่คุณเข้าไปใช้แล้วเปิดเจอเนื้อหาที่ตรงใจ ตรงกับความรู้สึกนึกคิดของคนมากที่สุด คุณจะนึกถึงอะไร? 

ถ้าใครคิดถึงทวิตเตอร์ นั่นคือหัวใจสำคัญ เพราะตอนนี้ ทวิตเตอร์กำลังเปลี่ยนมือเจ้าของ กับดีล 1.5 ล้านล้านบาทที่ Elon Musk ทุ่มซื้อโซเชียลมีเดียนี้

ทวิตเตอร์ มีผู้ใช้ 200 ล้านคนทั่วโลก จาก 200 ล้านแบ่งเป็นผู้ใช้ในสหรัฐเพียง 37 ล้านคน ตัวเลขนี้ดูเหมือนจะสูง แต่ความจริงแล้ว ทวิตเตอร์มีผู้ใช้น้อยกว่า เฟซบุ๊ก และ ยูทูบถึงสิบเท่าตัว และ ทวิตเตอร์ยังมีคนใช้น้อยกว่า TikTok ถึง 5 เท่าตัว

แล้วทำไม Elon Musk ถึงตัดสินใจทุ่มเงินถึง 4.4 หมื่นล้านเหรียญหรือ 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อเข้าซื้อ แพลตฟอร์มนี้ เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้ 

ทวิตเตอร์ เป็นศูนย์รวมความเคลื่อนไหวของความคิดบนโลก นักคิด นักวิชาการ นักข่าว นักการเมือง คนดัง นักธุรกิจ ต่างก็ใช้ทวิตเตอร์ในการแสดงความคิดความเห็นชักจูงผู้คน และแสดงความเห็นต่อกระแสโลก

คอลัมนิสต์ Gilad Edelman บอกผ่านนิตยสาร Wired ว่า If you want to influence public opinion. You don’t post on Facebook. You Tweet ถ้าคุณอยากชักจูงกระแสสังคม คุณไม่โพสต์เฟซบุ๊ก คุณควรทวีต

ทวิตเตอร์มีสถานะการเป็นสี่แยกแห่งความคิด ภาษาอังกฤษคือ Public Square มาอย่างยาวนาน สำหรับพวกเราคนไทยอาจจะคุ้นชินกับคำว่า รีทวีต ทวีตแมส หรือแม้กระทั่งคำว่าทัวร์ลง

ซึ่งก็ตรงกับที่ Elon Musk พูดไว้เลย เขาทวีตไว้เมื่อปลายเดือนที่มีนาคมที่ผ่านมา บอกว่า “Given that Twitter serves as a de facto public town square, failing to adhere to free speech principles fundamentally undermines democracy. What should be done?” 

คือ Elon ตั้งคำถามว่า ถ้า ทวิตเตอร์เป็นสี่แยกความคิดจริงๆ แต่มันดันล้มเหลวในการเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง เราควรทำอย่างไรดี?

ทวีตนี้ผ่านไป 1 เดือน คำตอบชัดเจนแล้วครับ ก็คือ Elon Musk ตัดสินใจซื้อทวิตเตอร์ซะเลย

หลักๆ คือเรื่องการเป็นสี่แยกความคิด และปัญญาชน นั้นตรงกับคำพูดของ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง ทวิตเตอร์ครับ เขาบอกว่า Twitter is the closest thing we have to global consciousness 

คือทวิตเตอร์นี่แหละ ถือเป็นสิ่งที่สะท้อนกับความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของสังคมในปัจจุบัน

ด้าน Elon ก็เคยให้คำนิยามง่ายๆ ตรงไปตรงมา ถึงพื้นที่ของการมีเสรีภาพในการแสดงออกที่ดี 

เขาบอกว่า มันต้องเป็นที่ที่เราได้ฟังความเห็นที่เราไม่ชอบ จากคนที่เราไม่ชอบ

มันมีคำกล่าวไว้ว่า Those who control media, control minds ใครครอบครองสื่อ คนนั้นควบคุมความคิดคนได้ 

คำพูดนี้มีมายาวนานแล้วครับ และถ้าจะเสริมไปอีกสักคำ ก็ต้องบอกว่า Those who owns twitter, might just have that ability to control minds ใครเป็นเจ้าของทวิตเตอร์ ก็อาจจะสามารถควบคุม ชี้นำความคิดของคนได้

ที่นี้กลับมาที่คำพูดของ  Elon  ที่เขาบอกไว้ว่า ทวิตเตอร์ ล้มเหลวในเรื่องการผลักดันเสรีภาพในการแสดงออก คำถามคือมันล้มเหลวตรงไหน อย่างไร

รวมรวบจากการให้สัมภาษณ์ของ Elon ในหลายๆ ที่อาจจะพอสรุปได้ว่ามีสองปัจจัยหลักที่ทำให้ ทวิตเตอร์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เขาต้องการ
หนึ่งคือเรื่องการเมืองความมั่นคง สองเรื่องทุน Corporate และตลาดหุ้น Wall Street

เอาข้อแรกก่อนครับ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางกระแสการเมืองโลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง คนเห็นต่างกันอย่างสุดขั้ว บวกกับโควิด-19 ที่เรื่องข้อมูลข่าวสารมันสำคัญไปถึงระดับความเป็นความตายของผู้คน 

ทวิตเตอร์ในฐานะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ก็พยายามควบคุม กำกับดูแล เรื่อง Hate Speech เรื่องนาซี เรื่องการก่อการร้าย เรื่อง Bot Spam เรื่อง Fake News ที่เกี่ยวกับวัคซีนและโควิด

Case Study ที่ชัดที่สุดคือโดนัลด์ ทรัมป์ คนระดับอดีตประธานาธิบดี ก็ถูกทวิตเตอร์แบนมาแล้ว เพราะ ทวิตเตอร์มองว่าทรัมป์ใช้ทวิตเตอร์เป็นช่องทางในการกระตุ้นความเกลียดชังในสังคม บานปลายไปจนถึงมีการชุมนุมประท้วง ยึดครองรัฐสภาสหรัฐก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

แต่คำถามก็เกิดขึ้นตามมาครับว่ามันมีคนที่อาศัยทวิตเตอร์ ในการทำให้เกิดผลด้านลบในสังคมจริงๆ แต่มันก็ขัดกับหลัก Freedom of Speech เสรีภาพในการแสดงออกหรือเปล่า

ทวิตเตอร์จะยังคงเป็นสิ่งที่สะท้อนกับความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของสังคม ตามความต้องการของ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้งอยู่จริงหรือเปล่า

ถ้าเริ่มต้นมีการเซนเซอร์ มีการแบนคนแบบนี้แล้วเส้นสุดท้ายจะไปอยู่ที่ตรงไหน เรื่องพวกนี้ภาษาอังกฤษมันคือ Grey Area ครับ คือมันเทาๆ ต่างคนต่างมีความคิด แลกเปลี่ยนกันได้ ไม่มีใครถูกผิดร้อยเปอร์เซ็นต์

Elon Musk ให้สัมภาษณ์กับ Ted ไว้สัปดาห์ที่แล้วครับ มีคนถามว่าเขาจะทำอย่างไรกับกรณีที่เกิดขึ้นแบบ ทรัมป์ 

Elon ตอบว่าอะไรที่มันเทาๆ Grey Grey ยังไม่ชัดเจนว่าผิดหรือถูก เขาจะยังคงปล่อยเอาไว้แบบนั้น I will Leave it There 

นี่คือสิ่งที่  Elon บอก ที่สะท้อนถึงการเปิดให้ ทวิตเตอร์มันมีความเป็นอิสระมากขึ้น

ข้อที่สอง เรื่องทุน Corporate  ซึ่ง Jack Dorsey บอกไว้ว่า การเข้ามาของ  Elon จะทำให้พวกเราได้ ทวเตอร์คืนมาจาก Wall Street กล่าวคือหลังจาก ทวิตเตอร์เข้าตลาดหุ้นในปี 2013 แน่นอนว่าก็ต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงผู้ถือหุ้น และตลาดมากกว่าตอนที่มันถือกำเนิดมาก

คือต้องย้อนไปว่า ทวิตเตอร์ยุคแรกๆ จะใช้คำว่ามันมีความดิบในแบบของมันก็ว่าได้ คือคนจะแสดงความคิดเห็นอะไร ก็แสดงไปเลย ไม่มีอัลกอริทึมมาลำดับว่าอะไรอยู่บนอยู่ล่าง ไม่มีพวก Trending Topic แฮชแท็กโปรโมทโฆษณาอะไรต่างๆ มากเหมือนอย่างตอนนี้

ระยะหลังเราจะเห็นว่า ทวิตเตอร์มีเครื่องมือเพื่อการตลาด การโฆษณา เข้ามาเต็มไปหมด แม้ว่าโดยรวมแล้ว การหารายได้โฆษณาของทวิตเตอร์น้อยกว่าโซเชียลมีเดียอื่นๆ แต่นี่ก็ถือเป็นสิ่งที่ขัดกับความตั้งใจของ Jack Dorsey 

เพราะมันก็ทำให้พื้นที่แห่งนี้ ถูกบริษัทยักษ์ใหญ่มีกำลังทรัพย์เข้ามาถือครองและเปลี่ยนแปลงมัน พูดง่ายๆ คือ เงินมันเริ่มมีผลกับ ทวิตเตอร์ได้มากขึ้นๆ ทุกวัน

แน่นอนว่า คนที่คัดค้านการซื้อทวิตเตอร์ของ Elon Musk ก็มีไม่น้อย Greg Bensinger บรรณาธิการของ The New York Times ออกบทความว่าที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ไม่ใช่พื้นที่ ที่เกิดการดีเบตหรือบทสนทนาที่ดีอยู่แล้ว 

ใครทวีตอะไรก็ทัวร์ลงใส่กัน ไม่ใช่สถานที่ที่คนจะแลกเปลี่ยนกันอย่าง Healthy สักเท่าไหร่

ยิ่งมามีเจ้าของที่มีประวัติบูลลี่คนอื่นเรื่อง Body Shame แหกกฎความมั่นคงต่างๆ และปั่นราคาเหรียญคริปโตแบบนี้ ทวิตเตอร์ก็จะยิ่งวุ่นวายกันขึ้นไปใหญ่หรือเปล่า

Greg บอกด้วยว่าทุกวันนี้  Elon ไม่ได้ดูแลบริษัทของเขาได้หมดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Tesla SpaceX Neurallink หรือ The Boring Company แล้วเขาจะเอาเวลาที่ไหนมาทำให้ ทวิตเตอร์เป็น โซเชียลมีเดียที่ดีได้ 

และที่สำคัญความแตกต่างระหว่างบริษัทอื่นๆ กับทวิตเตอร์ คือ ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่สื่อ เป็นกึ่งๆ สมบัติสาธารณะที่ผู้คนใช้กันมากมาย แตกต่างจาก Tesla ที่มีคนมีปัญญาซื้อใช้ไมากี่คน การที่  Elon มาถือครอง ย่อมกระทบกับคนจำนวนมาก

Greg สรุปปิดท้ายว่า การเข้ามาซื้อทวิตเตอร์ มันไม่ใช่เรื่องของ Free Speech เลย แต่มันคือความพยายามในการมาควบคุมโทรโข่ง กลางสี่แยกแห่งการแลกเปลี่ยนที่ชื่อว่าทวิตเตอร์ต่างหาก 

Elon จะใช้พื้นที่นี้ในการระดมแฟนคลับของเขาในการจัดการกับเสียงวิจารณ์ ปั่นหุ้น ปั่นคริปโต มากกว่าประโยชน์ของมวลชน

ย้ำอีกรอบว่าทั้งหมดนี้คือคำวิจารณ์จาก Greg Bensinger บรรณาธิการของ The New York Times

แต่ความเห็นด้านสนับสนุนให้  Elon ซื้อทวิตเตอร์ก็มีเหมือนกัน บทความจาก Wall Street Journal บอกว่าที่ผ่านมาทวิตเตอร์เติบโตในด้านธุรกิจเชื่องช้ามาก  Elon เศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก เหมาะสมที่สุดที่จะเอาหลักคิดในการบริหารมาทำให้ทวิตเตอร์เติบโตขึ้น

ที่สำคัญหลักคิดเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก แสดงความคิดเห็นก็จะทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น ไม่ถูกควบคุมโดยนักการเมืองหรือสื่อใหญ่ๆ แบบที่ผ่านๆ มา

สำหรับในประเทศไทย ถ้า Elon เข้ามาถือครองทวิตเตอร์จริงๆ สิ่งที่คาดเดาไว้คือการถอนบริษัทออกจากตลาด มาเป็นบริษัทของเขา แน่นอนอาจจะทำให้ความพยายามในการจัดระเบียบทวิตเตอร์ตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา สูญหายไป

โฆษณาการตลาดต่างๆ อาจจะน้อยลง บรรยากาศการปั่นเทรนด์อาจจะน้อยลง

ทวิตเตอร์อาจจะกลับมาเต็มไปด้วย Bot Spam มากขึ้น เสพการเมืองจากต่างประเทศแซ่บขึ้น 

ในทางกลับกันคนอาจจะมองได้ว่ามัน Toxic มากขึ้นกว่าเดิม แล้วก็หันไปใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ ที่มันไม่ใช่สี่แยกแห่งความคิดที่คนแห่กันมาโต้เถียง หรือ วุ่นวาย ขนาดนี้

ส่วนชาวทวิตไทย ซึ่งมีจุดที่น่าสนใจตรงที่เป็นประเทศที่มีแอคหลุมมากที่สุดประเทศหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจจะไม่ได้แตกต่างมากนัก 

เพราะท้ายสุดแล้ว สามัญสำนึกหรือความรู้สึกนึกคิดของคนไทย ที่หลายคนหนีไปใช้แอคหลุมทวีต มันถูกควบคุมโดยสิ่งที่ใหญ่กว่าแพลตฟอร์มทวิตเตอร์อยู่แล้วนั่นเองครับ

บทความโดย นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์

จากรายการ Bizview TOMORROW https://www.youtube.com/watch?v=0wz1ZKeXbpA 

ที่มา : WIRED, The New York Times

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า