SHARE

คัดลอกแล้ว
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เสนอภาครัฐผ่อนปรนให้ไซต์ก่อสร้างสามารถกลับมาดำเนินการต่อได้ เนื่องจากกังวลหากหยุดก่อสร้างนาน 1 เดือน อุปกรณ์และโครงสร้างบางอย่างอาจถล่มลงมาได้
วันที่ 29 มิ.ย. 2564 ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) พร้อมด้วย รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายก วสท. และ รศ.เอนก ศิริพานิชกร ที่ปรึกษาคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. ร่วมกันแถลงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ศบค. ออกประกาศคำสั่งปิดแคมป์ก่อสร้าง หยุดการก่อสร้างเป็นเวลา 1 เดือน จึงอยากเสนอรัฐบาลผ่อนปรนมาตรการ ให้ไซต์งานก่อสร้างบางแห่งสามารถดำเนินการก่อสร้างได้
ดร.ธเนศ นายก วสท. กล่าวว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 50 เขต ขณะนี้มีแคมป์คนงานที่อยู่ในไซต์งานก่อสร้าง ประมาณ 120 แห่ง และแคมป์คนงานที่อยู่นอกไซต์งานก่อสร้าง ประมาณ 480 แห่ง ซึ่งแคมป์คนงานที่อยู่ภายในไซต์งานก่อสร้าง เป็นไปได้สูงที่จะสามารถทำงานได้เต็มกำลังเนื่องจากว่าควบคุมคนงานได้ ส่วนแคมป์คนงานที่อยู่นอกไซต์ก่อสร้าง ควรจะแบ่งคนงานที่จำเป็นอย่างน้อย 15 คน เข้าพื้นที่ทำงานในไซต์งานได้ แต่ต้องมีการควบคุมอย่างมีระบบ
ส่วนความเสียหายในวงการอุตสาหกรรมงานก่อสร้างที่ประเมินได้ขณะนี้มีมากถึง 4 แสนล้านบาทต่อเดือน จึงเชื่อว่าผู้บริหารในภาครัฐจะผ่อนปรนมาตรการให้สามารถกลับมาดำเนินการก่อสร้างได้ โดย วสท. ยินดีจะดูแลไซต์งานและแคมป์คนงานทั้งหมดโดยอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19
ขณะที่ รศ.สิริวัฒน์ อุปนายกฯ วสท. กล่าวว่า ตอนนี้มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการสั่งปิดไซต์งานก่อสร้างแบบกะทันหัน หากปล่อยงานก่อสร้างอาคารทั้งเล็กและใหญ่ทิ้งไว้ในระยะเวลา 1 เดือน โดยที่ไม่มีใครควบคุมอยู่จะทำให้ พื้นฐานโครงสร้างไม่มั่นคงแข็งแรงหลายจุดในพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างจะได้รับความเสียหาย สุดท้ายผลกระทบจะตกไปอยู่ที่ผู้พักอาศัยบริเวณรอบไซต์งานก่อสร้างทันที จึงอยากเสนอให้ภาครัฐผ่อนปรนไซต์งานก่อสร้างบางแห่งให้ดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 รวมถึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจหลักการก่อสร้างเพราะแตกต่างจากอาชีพอื่น
“บางโครงการ เทพื้น เทคาน เตรียมพร้อมจะเทคอนกรีตไปแล้ว แต่ไซต์ก่อสร้างถูกสั่งปิด สิ่งที่จะเสียหายตามมา มีทั้งเหล็กที่ถูกทิ้งไว้ถ้าฝนตกเหล็กจะขึ้นสนิมหรือนั่งร้านอาจจะทรุดถล่มลงมา หากเกิดพายุวัสดุอุปกรณ์บางอย่างอาจจะปลิวไปกระทบบ้านเรือนรอบสถานที่ก่อสร้างและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาด้วย แม้แต่งานทดสอบเสาเข็ม จำเป็นต้องมีคนดูตลอดเวลาต่อเนื่อง 48-72 ชั่วโมง เมื่อเข้าไซต์งานไม่ได้จะเกิดปัญหาตัวโครงสร้างอาคาร” รศ.สิริวัฒน์ กล่าว
รศ.เอนก ที่ปรึกษาคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. กล่าวว่า ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมโยธาหลายคนได้สะท้อนความเห็นมาว่า ตามกลไกการก่อสร้างจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดระยะเวลาการก่อสร้างต้องเชื่อมสัมพันธ์กัน
ยกตัวอย่างกรณีการสร้างรถไฟฟ้า หากหยุดการก่อสร้างกระทันหันจะทำให้ระดับความดันดิน น้ำ กระทบอย่างมากและจะกลับมาก่อสร้างได้ยากขึ้นอีก
ส่วนผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่การก่อสร้างบางจุดมีการขุดดินปิดระบบระบายน้ำ เมื่อเกิดฝนตกจะต้องมีการสูบน้ำอยู่ตลอดเวลา แต่ภายหลังไซต์งานก่อสร้างใน กทม. หยุดจึงทำให้เกิดน้ำท่วมไซต์งานก่อสร้างจนทะลักออกมาในถนน รวมถึงเครนก่อสร้างจำเป็นจะต้องเข้าตรวจสอบความแข็งแรงอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ยังได้เสนอไปยังคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา การใช้ริสแบน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในงานวิศวกรรมมาใช้ในการคุมคนงานในช่วงระหว่างที่ทำงานในไซต์ก่อสร้าง โดยจะสามารถบอกพิกัดและวัดอุณหภูมิในร่างกายได้ เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินการได้ต่อทันที

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า