Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา หลายคนคงคุ้นหูและรู้จักธุรกิจน้องใหม่อย่าง “สตาร์ต อัพ” (Startup) เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีคนสงสัยว่า Startup ต่างจากธุรกิจทั่วไปอย่างไร อย่างร้านกาแฟหน้าปากซอย ร้านหมูปิ้งรถเข็น เป็น Startup หรือไม่

Steve Blank บิดาแห่ง Startup ได้ให้คำจำกัดความของ “Startup” ไว้ว่า a startup is an organization formed to search for repeatable and scalable business model” หมายถึง กิจการที่ตั้งขึ้นเพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจ (business model) ที่ทำซ้ำได้ (repeatable) และขยายตัวได้ (scalable) โดยจุดเด่นของ Startup ที่แตกต่างจากธุรกิจรูปแบบเดิมในอดีตคือ การใช้เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างธุรกิจ เป็นบริการใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อทดแทนสินค้าหรือบริการแบบเดิมที่ทำไม่ได้

ที่คุ้นเคยกันดีในบ้านเรา เช่น grab taxi, UBER หรือ ธุรกิจบริการส่งสินค้าอย่าง Shippop ที่คนทำธุรกิจออนไลน์รู้จักกันดี หรือ Wongnai แอปพลิเคชันค้นหาร้านอาหาร นอกจากนี้ ยังเป็นธุรกิจที่สามารถทำกำไรหรือยอดขายและเพิ่มลูกค้าผู้ใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วภายในเวลาอันสั้น พร้อมก้าวกระโดดไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างเช่น Face book ที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2548 ปัจจุบันมีมูลค่ามากถึง 14 ล้านล้านบาท มีคนใช้บริการและมีลูกค้าที่ลงโฆษณาใน Face book อยู่ทั่วโลก

ภาพจาก pixabay

ปัจจุบัน Startup เป็นธุรกิจเป้าหมายที่ท้าทายคนรุ่นใหม่ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูง และเป็นนักรบทางธุรกิจที่กลายเป็นทัพหน้า ในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ประเทศผู้นำเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นแถบยุโรป อเมริกา และอาเซียน ใช้ Startup เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างเช่น ย่านซิลิคอน วัลเลย์ (Silicon Valley) ของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นแหล่งรวมตัวของบริษัทด้านไอทีชั้นนำ รวมถึงนักลงทุนและผู้ที่สนใจจะสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทด้านไอทีชื่อดังหลายแห่งเริ่มต้นจากการเป็น Startup

โดยจุดเริ่มต้นของการกำเนิด Startup คือ “สถาบันอุดมศึกษา” หรือ “มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นแหล่งผลิตคน งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้าง Startup จึงเป็นที่มาของการเกิด Entrepreneurial University หรือ “มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ” ขึ้นในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก

ภาพจาก jcpr

อย่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ตั้งเป้ามุ่งสู่มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ Entrepreneurial University และชุมชนสตาร์ตอัพ (Startup District) โดยเปิดพื้นที่ที่เรียกว่า Thammasat Creative Space ขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สำหรับเป็นจุดกำเนิดธุรกิจ ได้แก่ โซนพื้นที่ทำงานสำหรับสร้างสรรค์ไอเดียและแลกเปลี่ยนแนวคิด โซนสร้างต้นแบบผลงาน และโซนอเนกประสงค์เพื่อจัดกิจกรรม และผลักดัน startup หน้าใหม่ โดยจะให้บริการเต็มรูปแบบกลางปี 2561

และเมื่อไม่นานมานี้ ธรรมศาสตร์ยังเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาคณะต่างๆ ได้แสดงผลงานนวัตกรรมสตาร์ตอัพในโครงการธรรมศาสตร์สตาร์ตอัพไทยแลนด์ลีก (Thammasat Startup Thailand League) อย่างผลงาน “Foster” แอปพลิเคชันช่วยหาจุดฝากกระเป๋าสัมภาระในพื้นที่ท้องถิ่นสำหรับนักท่องเที่ยว, “Phoenix AgriDrone” โดรนตรวจเช็กสุขภาพพืชไร่ พืชสวน เพื่อการดูแลและเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน, “Happy Ending” ธุรกิจบริการเตรียมความพร้อมในการจัดงานศพ เป็นต้น

ภาพจาก mubi.mahidol

เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ประกาศเดินหน้าสู่ Entrepreneurial University หรือมหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว พลิกบทบาทจากมหาวิทยาลัยที่เป็นตลาดความรู้ เพื่อผลิตบัณฑิตออกไปสู่ตลาดงาน เพียงมาสู่การจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างผู้ประกอบการ ด้วยแนวคิดที่ว่า ทุกองค์กรควรมีผู้ที่มีหัวใจหรือทักษะผู้ประกอบการ ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าแก่องค์กรได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของธุรกิจเอง

แนวทางแรกคือ การบูรณาการทักษะการเป็นผู้ประกอบการกับหลักสูตรการเรียนการสอน เช่น กำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนเรียนวิชา Entrepreneurial Education เป็นความรู้พื้นฐานด้านความเป็นผู้ประกอบการ จัดตั้ง Innovation Space เพื่อเปิดพื้นที่ให้เอกชนที่ต้องการต่อยอดงาน เป็นที่เรียนรู้นวัตกรรมของชุมชน รวมทุนนักวิจัยที่ต้องการเข้ามาร่วมทุนในงานวิจัยหรือสตาร์ตอัพของมหาวิทยาลัย สามารถร่วมทุนใน Innovation Space โดยมีกองทุน Pre Seed Fund ของมหาวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อร่วมทุนในผลงาน หรือนวัตกรรมของนักศึกษาที่มีโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้

ภาพจาก brandbuffet

รวมทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนอย่าง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่กำหนดวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยไว้ชัดเจนในการปั้นบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ โดยจัดพื้นที่ทุกตารางนิ้วในมหาวิทยาลัยให้ตอบสนองและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดจินตนาการ การเรียนรู้ใหม่ๆ พร้อมกับเปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานที่ไร้ขีดจำกัดทางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ผ่านเวทีต่างๆ ในลักษณะของการทำงานร่วมกันของนักศึกษาจากหลากหลายคณะ ในแบบของการทำงานจริงในองค์กรที่มีคนจากหลากหลายสาขา

ยังมีมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนอีกหลายแห่ง ที่แม้ไม่ได้ประกาศเป็น Entrepreneurial University ชัดเจน แต่มุ่งเสริมทักษะและจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้บัณฑิตใหม่ที่ก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัยเข้าสู่องค์กร สามารถนำทักษะผู้ประกอบการร่วมพัฒนาองค์กร หรือเป็นเจ้าของธุรกิจเอง

สอดรับกับไลฟ์สไตล์การทำงานของคนทำงานยุคใหม่ ที่ปลดปล่อยตัวเองจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน สู่เส้นทาง Startup ที่พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4.0 อย่างที่หลายประเทศชั้นนำของโลกทำสำเร็จมาแล้ว

 

บทความโดย: สิริลักษณ์ เล่า

ผู้สื่อข่าวอาวุโส เชี่ยวชาญด้านการศึกษา, อดีต บก.ฉบับพิเศษ บมจ.มติชน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า