SHARE

คัดลอกแล้ว

การต่อสู้ของชุมชนบริเวณโดยรอบ ‘เขาคูหา’ อ.รัตนภูมิ จ.สงขลา เป็นหนึ่งในความสำเร็จภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนจนสามารถยุติการทำเหมืองโดยปราศจากความสมัครใจของบริเวณโดยรอบได้ ในวาระครบรอบ 12 ปี ผู้เกี่ยวข้องกลับมารวมตัวอีกครั้งเพื่อถอดบทเรียน

8 เมษายน 2565 บริเวณห้องเรียนท้องนาเขาคูหา อ.รัตนภูมิ จ.สงขลา สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา จัดงานเสวนา12 ปีการต่อสู้เพื่อปกป้องเขาคูหา และรำลึก ครูโถ ปาฎิหารย์ บุญรัตน์ สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา โดยมี ส.รัตนมณี พลกล้า เป็นผู้ดำเนินรายการ

ครื้น บุญรัตน์ อุปนายกสมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา กล่าวระหว่างเปิดงานว่า ในอดีตตนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองเขาคูหารายแรก ๆ โดยได้รับผลกระทบจากการลำเลียงขนหินอออกจากพื้นที่ และเป็นช่วงรอยต่อการให้ประทานบัตร ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศรับฟังความคิดเห็น ตนเป็นผู้รณรงค์ให้คนในพื้นที่ร่วมกันไปแสดงความคิดเห็น โดยความคิดเห็นในชุมชนแบ่งออกเป็นสองฝ่าย มีฝ่ายที่เห็นด้วยกับการตั้งโรงโม่ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับผลกระทบ นำมาสู่การเรียกร้องให้ยุติการทำเหมืองหินปูนในเวลาต่อมา 

สุวรรณ อ่อนรัตน์ อดีตรองนายกเทศบาลคูหาใต้ ปัจจุบันเป็นฝ่ายปฏิคมสมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา แบ่งปันประสบการณ์ว่าในอดีตเขาทำงานอยู่กรุงเทพ แต่เมื่อกลับมาคูหาใต้จะได้ยินเสียงระเบิดทุกเย็น จนกระทั่งปี 2548-2549 ตนกลับมาเล่นการเมืองท้องถิ่น ตั้งทีมคูหาใต้ก้าวหน้า โดยออกแบบโลโก้ทีมเป็นรูปมือที่อุ้มเขาคูหา ชูนโยบายยุติการระเบิดเขาคูหา ต่อมาก่อนเลือกตั้งผู้ลงสมัครในตำแหน่งนายกเทศมนตรีของทีมถูกลอบสังหารเสียชีวิต อย่างไรก็ดีทีมชนะการเลือกตั้งโดยเชิญผู้อื่นเป็นนายกเทศมนตรี เมื่อตนเป็นรองนายกเทศมนตรีก็พบว่ารายได้จากสัมปทานการระเบิดภูเขาไม่ถึง 200,000 บาทต่อปี ขณะที่ประชาชนโดยรอบได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จึงสร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเข้ามา จนกระทั่งผู้ประกอบการต้องต่อประธานบัตรและต้องขอความคิดเห็นจากองค์การการปกครองส่วนท้องถิ่น ตนจึงริเริ่มร่วมมือกับอุตสาหกรรมจังหวัดในการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น 

จากประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้ตนเรียนรู้ได้ว่าองค์การการปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มที่จะโอนอ่อนผ่อนปรนเพื่อเอื้อให้การต่อประธานบัตรเป็นไปอย่างง่ายดายแม้มีเสียงคัดค้านจากประชาชน ส่วนตนถูกกดดันจนต้องลาออก แต่ก็ดำเนินให้กระบวนการการเผยแพร่ความรู้ เปิดโรงเรียนสิทธิชุมชน ศึกษากฎหมาย จนนำมาสู่การรณรงค์คัดค้านการต่อใบประทานบัตรในที่สุด

“ในระบบโครงสร้างไม่ว่าท้องถิ่นหรือราชการ ถ้าไม่มีกลไกการมีส่วนร่วมของชาวบ้านเชื่อมกับนโยบายระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ยากมากที่จะผลักดัน” สุวรรณ อ่อนรัตน์ถอดบทเรียน ก่อนสะท้อนว่าที่ผลักดันเรื่องนี้ได้เป็นเพราะรัฐธรรมนูญปี 2540 เปิดช่องไว้ให้สิทธิชุมชนถูกรับฟังเป็นสำคัญ

ณัฐวรรณ อิสระธะ ผู้จัดการโรงเรียนท้องนา เล่าว่าเดิมทีเธอทำงานที่หาดใหญ่ ทุกครั้งที่กลับมาจากที่ทำงานก็ยังเห็นโรงโม่ทำงานอยู่ ตนนึกสงสัยว่าประชาชนโดยรอบไม่ได้รับผลกระทบหรือ จนกระทั่งปี 2550 ที่ตนกลับมาอยู่บ้านเต็มตัวจึงได้ทราบว่าโรงโม่หินทำงานข้ามวันข้ามคืนเนื่องจากเร่งผลิตแข่งกับยอดขาย เมื่อมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นก็ได้เข้าร่วม แรกเริ่มเดิมทีผู้ได้รับผลกระทบมีเพียงไม่กี่คนที่คัดค้าน ไม่มีมวลชน แต่อาศัยความช่วยเหลือจากแนวร่วมนักกฎหมายและนักสิทธิชุมชนหยุดยั้งการสัมปทานหินได้สำเร็จ 

จากนั้นผู้ได้รับผลกระทบรวมตัวกันเป็นสมาคม ลงขันกันซื้อพื้นที่ใกล้เคียงเชิงเขากลายเป็นที่นาเพื่อให้หากมีความพยายามในการขอต่อประทานบัตรต่อก็จะต้องสอบถามความคิดเห็นสมาคมฯ ก่อนตามกฎหมายแร่ 

เฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน เล่าว่าเธอเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเรียกร้องตั้งแต่ปี 2555 เมื่อเธอยังเป็นอาสาสมัครนักสิทธิฯ ขณะนั้นยังมีคดีค้างที่ศาลจังหวัดโดยเป็นคดีเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานเหมือง ระหว่างสืบพยานที่ศาลจังหวัดศาลก็เห็นว่าไม่น่าจะมีผู้เสียหายแค่สองรายที่ฟ้อง พยายามสืบเสาะหาผู้เสียหายรายอื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการเยียวยาด้วย 

“เจอป้าคนหนึ่ง บ้านเขาร้าวหมดเลย ไม่ได้มีการชดเชยอะไร แกได้รับความทุกข์ทรมานไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่มีเงินไปฟ้องศาล แก่แล้ว ไม่มีคนดำเนินการ แกก็คุยกับเราว่าจะทำยังไง สุดท้ายก็มีการตั้งคระกรรมการชดเชย ชาวบ้านที่อยู่รอบเขาเป็นจำนวน 326 ครัวเรือนได้ขึ้นทะเบียนรอรับการชดเชย แต่นี่เริ่มมาจากการฟ้องในทีแรก” 

หลังจากการฟ้องได้อยู่ระหว่างรอยต่อการขอประทานบัตรใหม่ สมาคมฯทำหนังสือร้องเรียนนายกรับมนตรีและรัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อหยุดยั้งการให้อนุญาต ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบถูกบริษัทฟ้องเรียกร้องเงิน 64 ล้านบาทเนื่องจากถูกทำให้เสียหาย แต่เมื่อไปถึงศาลก็ปรากฎว่าโจทก์ถอนฟ้องไปเอง ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบตัดสินใจฟ้องกลับเพื่อเรียกคืนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเตรียมตัวต่อสู้คดีจากที่ถูกฟ้อง ศาลชั้นต้นตัดสินให้ผู้ได้รับผลกระทบชนะคดี แต่ภายหลังบริษัทดังกล่าวปิดตัวลงทำให้ผู้ได้รับผลกระทบไม่ได้ทรัพย์สินที่ชนะจากการฟ้องนั้น

ปัจจุบันการประกาศแหล่งหินอุตสาหกรรมปี  2542 ก็ยังอยู่ ทำให้ปี 2558 หน่วยงานของเธอฟ้องถอนประกาศแหล่งหินและขอให้มีการดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณเขาคูหาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เหมืองก่อ เช่น ปลูกแนวต้นไม้เพื่อลดมลพิษฝุ่น เป็นต้น 

ผศ.เจษฎา ทองขาว มหาวิทยาลัยทักษิณ แลกเปลี่ยนว่าเขาทราบเรื่องคูหาจากอาจารย์ในคณะเดียวกันที่ทำวิจัยเรื่องสิทธิชุมชนที่เขาคูหา โดยได้ให้คำแนะนำพูดคุยและเสนอให้ฟ้องศาลปกครองเพื่อถอนประกาศแหล่งแร่หินเพื่อการอุตสาหกรรม ระหว่างนั้นตนได้ทำการศึกษาโดยรับฟังทั้งกลุ่มที่ต้องการเหมืองซึ่งช่วยสร้างงาน ขณะเดียวกันก็ทำแผนที่ตรวจสอบส่วนที่ได้รับผลกระทบ ต่อมาก็เริ่มขยายการเรียนรู้พื้นที่บริเวณโดยรอบเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนและคนรุ่นใหม่

สินาด ตรีวรรณไชย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า เมื่อเรามองผลกระทบของเหมืองหินเรามักจะมองเพียงแค่การสูญเสียโดยตรง แต่แท้จริงแล้วยังมีการสูญเสียอื่น ๆ เช่น การเสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ​์ มูลค่าศักยภาพการท่องเที่ยง การสูญเสียเหล่านี้เป็นการสูญเสียการใช้ประโยชน์ระยะยาว มูลค่าทางจิตใจ ซึ่งการต่อสู้ในภาคประชาชนมักพูดถึงประโยชน์ส่วนนี้ด้วย แต่เรื่องพวกนี้มักไม่มีการประเมินเป็นตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์ทำให้บ่อยครั้งกระบวนการทางยุติธรรมสั่งให้จ่ายค่าชดเชยน้อยเกินไป หากมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้สังคมสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว เขาคูหาก็เป็นตัวอย่างที่ดี 

อุสมาน หวังสนิ นักวิจัยสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถอดบทเรียนพัฒนาการการจัดการความขัดแย้ง พบว่าในพื้นที่เขาคูหาผ่านการคลี่คลายความขัดแย้งในหลายประเด็น สมาคมพิทักษ์เขาคูหาและแนวร่วมเครือข่ายเริ่มจากสร้างกระบวนการทางพื้นที่ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการเริ่มสร้างเครือข่ายโดยเชื้อเชิญคนในพื้นที่มาพูดคุยอย่างหลากหลายมากขึ้น เช่น กลุ่มการเมืองท้องถิ่นเป็นคู่ขัดแย้งเดิม กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่มีวงในการพูดคุยผ่านการประสานของนายสุวรรณ เมื่อเริ่มมีหลายภาคส่วนเข้ามาก็มีการโปรโมทสร้างเขาคูหาให้เป็นที่รู้จักและนำมาสู่การยกระดับเขาคูหาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของคนในพื้นที่จังหวัดสงขลา 

สนธยา แก้วขำ สื่อมวลชนจากไทยพีบีเอส ชี้ว่าตนเข้าทำข่าวตั้งแต่ช่วงต้นที่มีการรณรงค์คัดค้าน ซึ่งศูนย์ข่าวไทยพีบีเอสอยู๋หาดใหญ่ทำให้สามารถลงชุมชนได้สะดวก ในช่วงต้นพบความขัดแย้งระหว่างคนในพื่นที่ 2 ฝ่าย นอกจากนี้ยังมีฝ่ายผู้ประกอบการและแรงงานที่จำเป็นต้องรับฟังอย่างครบถ้วน  ในฐานะสื่อมวลชนคิดว่าสื่อเป็นตัวพยุงที่สำคัญของการเรียกร้องของคนในพื้นที่โดยเป็นตัวกลางในการขยายเสียงให้ชัดเจนขึ้น 

ปิยะโชติ อินทรนิวาส สื่อมวลชนอาวุโสภาคใต้ เล่าว่าตนเห็นว่ากรณีเขาคูหาเชื่อมกับระบบทุนโลก ในช่วงนั้นตนให้ความสำคัญกับโครงการขนาดใหหญ่ในภาคใต้ เช่น กรณีปากบารา ท่าเรือน้ำลึก เขาคูหาเองก็เป็นส่วนประกอบเล้ก ๆ หนึ่งที่ต้องดูภาพรวมแผนการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่ต้องการเป็นศูนย์กลางพลังงานข้ามโลก เมื่อจะต้องมีโครงการขนาดใหญ่มากมายก็จะต้องมีการระเบิดเขา หากเกิดท่าเรือน้ำลึกปากบาราเขาในสงขลาอีกหลายลูกจะต้องถูกระเบิดเพื่อป้อนโครงการเหล่านี้ มีการริเริ่มสร้างเขื่อนแและโรงไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เชื่อมโยงกันกับทิศทางรัฐบาลตลอดมามีความพยายามคิดว่าโครงการขนาดใหญ่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจระดับประเทศได้ แต่แท้จริงต้องดูว่าทุนเหล่านี้เป็นทุนข้ามชาติและต้องพิจารณาว่าผลประโยชน์ตกลงกับคนในพื้นที่มากน้อยเพียงใด 

สมบูรณ์ คำแหง ผู้ประสานงานมูลนิธิพัฒนาเอกชนภาคใต้ เสริมประเด็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ภาคใต้ที่เมื่อมีโครงการในการสร้างนิคมอุตสาหกรรมแล้วก็ตามมาด้วยโครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เป็นที่มาของโครงการเขื่อนมากมาย ขณะเดียวกันก็เริ่มมีนักลงทุนด้านแหล่งหินขอสัมปทานแหล่งหินอย่างแพร่หลายในสงขลา-สตูล ขณะนี้โครงการในสงขลา-สตูลหยุดไประยะหนึ่ง แต่ไปผุดที่บริเวณระนอง-ชุมพรแทน 

สมบูรณ์ระบุว่าการเคลื่อนไหวเรื่องเหมืองหินที่เขาคูหาเป็นหมุดหมายสำคัญที่เครือข่ายเหมืองหินจากชุมชนผู้ได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ของประเทศ เช่น มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอย่างน้อยที่สุดพื้นที่เขาคูหาเห็นชัยชนะในการหยุดกลุ่มทุนโดยใช้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย

หลังเสร็จกิจกรรมการเสวนา ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันทำกิจกรรมแสดงความรำลึกถึงโถ-ปาฏิหารย์ บุญรัตน์ อดีตนักรณรงค์ปกป้องเขาคูหาที่ครบรอบวันเสียชีวิตวันดังกล่าว ก่อนเดินเท้าขึ้นชมเขาคูหาซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า