Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วิกฤตโลกเดือดทวีความรุนแรงส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภาคส่วนทั่วโลกอย่างหนัก  โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดการณ์ว่า โลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสในปี 2027 ซึ่งในปีนี้ อุณหภูมิของโลกสูงถึง 1.42 องศาเซลเซียสแล้ว สาเหตุที่สำคัญ ก็คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะภาคพลังงาน ภาคการคมนาคมขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าผู้ประกอบการ จะเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ แต่ก็ยังทำได้ล่าช้า เนื่องจากวิกฤตด้านพลังงาน เงินเฟ้อ เศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงยังขาดแคลนเงินทุน เทคโนโลยี และองค์ความรู้อีกจำนวนมาก 

ผู้เข้าร่วมงานกว่า 3,500 คน ร่วมแสดงพลังและระดมสมองในงาน ‘ESG Symposium 2024’ เวทีระดับประเทศที่มุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ระดมความคิดเห็นและแนวทางการดำเนินงานด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากไทย อาเซียนและระดับโลก เพื่อหาแนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน 

 

[ มุมมองระดับโลกต่อการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียว : Global Perspective on Green Transition ]

‘Niamh Collier-Smith’  ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย 

การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกันในระดับโลก ต้องมีการปรับตัวชี้วัดคุณค่าคนในสังคมโลกใหม่ ประกอบด้วย 3 สิ่ง ได้แก่  

1. เครื่องมือในการวัดผล  (Measuring What Matters)    

ในปี 2020 มีการปรับปรุงดัชนีการพัฒนามนุษย์ โดยเพิ่มองค์ประกอบใหม่ 2 ประการ ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวประชากรและการใช้ทรัพยากรของแต่ละประเทศ ในอดีตการวัดความก้าวหน้ามักอิง GDP แต่ปัจจุบันเน้นดัชนีที่รวมอายุขัย การศึกษา และคุณภาพชีวิต โดยที่ผ่านมามีมากกว่า 50 ประเทศที่หลุดจากกลุ่มที่เรียกว่า ประเทศพัฒนามนุษย์ในระดับสูง เนื่องจากยังไม่มีประเทศใดที่สามารถพัฒนามนุษย์ โดยไม่สร้างภาระให้กับโลก มุมมองนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนามนุษย์ที่สูงขึ้น พร้อมกับผลกระทบต่อโลกที่ต่ำ สมาชิกสหประชาชาติได้ลงนามเพื่ออนาคต โดยตระหนักว่าต้องไม่ส่งต่อปัญหาปัจจุบันไปยังคนรุ่นหลัง

2. แรงจูงใจที่จะนำไปสู่การให้คำมั่นสัญญาในการแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Ambitious Climate Pledges)

การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศเป็นแกนหลักของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ มีโครงการริเริ่มอย่าง “Pact for the Future” และแผนปฏิบัติการของประเทศ (NDCs) ที่จะครบ 10 ปี ในปี 2025 ตามข้อตกลงปารีส ซึ่งมีเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยมีกลุ่มประเทศสมาชิกกว่า 128 ประเทศ ให้คำมั่นในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง

3. การสนับสนุนด้านการลงทุนจากภาคเอกชน (Aligning Private Finance) 

การรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านการลงทุนจากภาคเอกชน ผลการสำรวจจากตัวแทน UNDP ในปีที่ผ่านมาพบว่า 80% ของประชากรทั่วโลกต้องการ เพิ่มการขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

[ การแข่งขันในอนาคตของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน : Future Competitiveness of Energy Transition ]

Roberto Boccaกรรมการบริหารและประธานด้านพลังงานและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต สภาเศรษฐกิจโลก 

การเปลี่ยนผ่านพลังงานในไทยและภูมิภาคอาเซียน ความสำคัญอยู่ที่ความสมดุลทั้ง 3 ด้าน  ได้แก่ ‘ความเท่าเทียมด้านพลังงาน’ ‘ความมั่นคง’ และ ‘ความยั่งยืน’ โดยประเทศในอาเซียนกำลังเผชิญ 4 ความท้าทายหลัก ในเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน ประกอบด้วย 

1.การขาดแคลนเงินทุนในการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด

2.การขาดโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่

3.ความยากในการสร้างสมดุลระหว่าง ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น และ การลดการปล่อยคาร์บอน

4.การขาดกรอบนโยบายในการกำกับดูแลที่ชัดเจน

จากงาน ASEAN CEOs Forum พบว่ามี 3 สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ได้แก่

1.การปลดล็อกการลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

2.การส่งเสริมความร่วมมือระดับชาติและระดับภูมิภาค

3.การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงให้กับสังคม

ถึงแม้จะมีความท้าทายสูง แต่อาเซียนมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่มากมาย ซึ่งหากนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ไม่เพียงแต่ปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน แต่ยังทำให้ประเทศในอาเซียนสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ 

 

[ กรณีศึกษา หัวข้อ “Regenerative Case Sharing from China” การแบ่งปันกรณีฟื้นฟูในประเทศจีน ]

‘Dr. Cai Guan’ รองผู้จัดการทั่วไป บริษัท Wuhan Carbon Peaking & Carbon Neutrality Industry Development Service จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน 

ยกตัวอย่างเมืองสีเขียวอย่างอู่ฮั่นในประเทศจีนที่ให้ความสำคัญกับตลาดคาร์บอน โดยมีการกำหนดกฎระเบียบสำคัญ 2 ฉบับ เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสูงสุด (Carbon Peaking) และความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของประเทศ ความสำเร็จของตลาดคาร์บอนของจีนสะท้อนให้เห็นได้จากการซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศ (ETS) ในเดือนกรกฎาคม ปี 2021 โดยตลาดมีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นถึง 19% และราคาคาร์บอนเพิ่มสูงขึ้นถึง 87% นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการคาร์บอนเป็นศูนย์ของอู่ฮั่น (Wuhan Carbon Neutrality Integrated Service Platform) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถบันทึกกิจกรรมคาร์บอนต่ำและสะสมคะแนนเพื่อนำไปแลกซื้อสินค้าได้อีกด้วย

 

[ เสวนา หัวข้อ “Thailand ‘s Potential for Sustainable Transition” ศักยภาพการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนของประเทศไทย ]

[ Energy Transition การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ]

‘Dr. Eric Larson’ ศาสตราจารย์วิจัย มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา

เป้าหมายของประเทศไทย คือ การมองภาพรวมอย่างเข้าใจถึงทุนธรรมชาติ ทุนอุตสาหกรรม ทุนการเงิน ทุนสังคม และทุนมนุษย์ ที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) นอกจากนี้ ยังเน้นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ความยั่งยืนทางการเกษตร การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการเสริมสร้างความเสมอภาค เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของชาติในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนสีเขียวที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนของประเทศไทย 

 

[ Agriculture ภาคเกษตรกรรม ]

‘Dr. Nana Kuenkel’ ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร

ภาคการเกษตรต้องเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิสูง น้ำท่วม และภาวะแล้ง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิต นอกจากนี้ การกัดเซาะดินและศัตรูพืชที่เพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาสารเคมี ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในอนาคต การนำเทคนิคการเปลี่ยนแปลงระหว่างการปล่อยน้ำและการลดการปล่อยก๊าซมีเทน รวมถึงการใช้เทคนิคการปรับระดับดินด้วยเลเซอร์ เป็นการนำแนวทางการเกษตรที่มีความเหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศมาประยุกต์ใช้ ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตและลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร  

การนำแนวทางการเกษตรที่ยั่งยืนมาใช้เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจในความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาว ปรับปรุงความเป็นอยู่ของชุมชนชนบท และแก้ไขปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล ภาคเอกชน เกษตรกร และภาคประชาสังคม ต้องมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านนี้ ควรดำเนินการปฏิรูปโครงสร้าง ยอมรับนวัตกรรม ส่งเสริมการลงทุน และทำงานร่วมกันเพื่อทำให้การเกษตรอย่างยั่งยืนเป็นความจริง ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่ทั่วทั้งอาเซียนและโลก

 

[ Regenerative Waste Management  การจัดการขยะแบบฟื้นฟู ]

‘Belinda Knox’ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ-เอ็นไวรอนเมนท์ อินเวสเมนท์ จำกัด (IEI) บริษัทในเครืออีโตชู คอร์ปอเรชั่น จากสหราชอาณาจักร

การจัดการขยะเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับเมืองใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะเมื่อจำนวนประชากรและการบริโภคเพิ่มขึ้น โครงการ EFW (Energy from Waste) มุ่งเน้นการแปลงขยะให้เป็นพลังงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการขยะอย่างยั่งยืนในเมืองใหญ่ เช่น เบลเกรด ดูไบ และในสหราชอาณาจักร โดยการเผาขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ จะช่วยลดปริมาณขยะในหลุมฝังกลบและผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการเผาไหม้ ข้อดีของโครงการนี้รวมถึงการลดมลพิษ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างพลังงานทดแทน โดยมุ่งหวังที่จะทำให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการเหล่านี้จึงเป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะในเมืองใหญ่ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การจัดการขยะเชิงฟื้นฟู การนำแนวทางปฏิบัติที่ยกระดับนวัตกรรมมาปรับใช้จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาขยะและสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 

 

[ เสวนา หัวข้อ “The Key Driver for Inclusive Green Transition” ปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทย ]

1. Saraburi Sandbox :  โมเดลต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย สู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสู่ Net Zero เป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกในประเทศไทยและได้ดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง ประเด็นหลัก ๆ ที่เป็นกลไกสำคัญสู่ความสำเร็จของสระบุรีแซนด์บ็อกซ์  ได้แก่  

    • การผลักดันการใช้เทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 
    • การเพิ่มพื้นที่สีเขียว  เช่น ป่าชุมชน 38 แห่ง
    • เกษตรรักษ์โลก เช่น นาเปียกสลับแห่ง
    • การสร้างคุณค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ เช่น ตาลเดี่ยวโมเดล 
    • พืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์
    • การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด  เช่น Grid Modernization 

 ‘บัญชา เชาวรินทร์’ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี  กล่าวว่า ด้วยโครงสร้างที่ซับซ้อนของจังหวัดสระบุรี รวมถึงเป็นศูนย์กลางการก่อสร้างที่ใช้ปูนซีเมนต์จำนวนมาก ถือเป็นความท้าทายอย่างมาก ซึ่งมองว่าในการทำ Sandbox  ต้องใช้ความกล้าที่จะเปลี่ยน ต้องไม่ติดกับดักของข้อจำกัด ต้องมีความยืดหยุ่น การทำ Low Carbon City นั้น ต้องเข้าถึงได้ คุณภาพชีวิตของคนต้องดีขึ้น  

 

2. Circular Economy :  การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่าสูงสุด

การหารือเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางจนถึงการรีไซเคิล โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลักคือ 1) การจัดการขยะที่ต้นทาง  2) การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการคัดแยกขยะ  3) การพัฒนาระบบการจัดการขยะทั้งระบบ เช่น ระบบ EPR (Extended Producer Responsibility)

‘ปฏิญญา ศิลสุภดล’  ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การจัดลำดับเป็นสิ่งสำคัญ การทำ Road Map ไปควบคู่กับการผลักดันกฎหมายเพื่อให้สามารถดำเนินการจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ไปพร้อมกัน 

 

3. Just Transition :  การสนับสนุนทรัพยากรแก่ผู้ประกอบการในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน

การเปลี่ยนผ่านเป็นสิ่งที่ท้ายทาย แนวทางสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และให้คำปรึกษา โดยเฉพาะการสร้างแพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่าย เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและความรู้ในการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากสถาบันการเงิน ยังเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันหาทางออก 

‘แสงชัย ธีรกุลวาณิช’  ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า SCG นำต้นแบบ จาก Saraburi Sandbox ส่งผ่านไปยังผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่เผชิญอุปสรรคเรื่องมาตรฐาน ต้องทำอย่างไรให้เข้าถึงได้ง่าย ต้นทุนต่ำ สร้างองค์ความรู้ที่เข้าใจได้ง่าย ภาครัฐต้องช่วยให้เข้าถึงตลาดใหม่ ๆ 

 

4. Technology for Decarbonization : การพัฒนาเทคโนโลยีรองรับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เน้นที่การพัฒนานวัตกรรมการขนส่งสีเขียวการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมชีวพลังงานและเคมีชีวภาพ รวมถึงการสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) และการพัฒนาระบบ Grid เพื่อรองรับความต้องการพลังงานสะอาดในอนาคต

‘รศ. ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต’ ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการทำเทคโนโลยีมาใช้  แต่สิ่งสำคัญคือ เราต้องเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรทุกระดับ ต้องรู้ว่าเราปล่อยคาร์บอนอยู่ที่เท่าไหร่ รู้ว่าต้องใช้กลยุทธ์อะไรในการลดการปล่อยคาร์บอน 

 

5. Sustainable Packaging Value Chain :  การจัดการแพคเกจจิ้งทั้งระบบอย่างยั่งยืน

ให้ความสำคัญกับการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน (Sustainable Packaging Value Chain)  นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการคำนวณ Carbon Footprint of Product (CFP) และ Carbon Footprint of Organization (CFO) มาช่วยในการวางแผนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

‘สุชัย กอประเสริฐศรี’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย  กล่าวว่า การส่งมอบ Sustainability Packaging ให้กับลูกค้า ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการใช้วัสดุเศษกระดาษที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เพื่อลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต นำ Innovation  เข้ามาใช้ สำหรับความก้าวหน้าใน 1 ปีที่ผ่านมา คือ มีการแสดงรายละเอียดบน Packaging ว่า Product นั้นมีการปล่อยคาร์บอนอยู่ที่เท่าไหร่ และในขณะนี้กำลังให้ความสำคัญกับ carbon footprint ที่จะแสดงอยู่บนสินค้า รวมไปถึง นวัตกรรมการเลือกใช้เลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 

 

[ “Driving Inclusive Green Transition” ] 

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี  ได้สรุปเป็นแนวทางนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อเร่งผลักดัน ผ่าน 2 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1.) การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด  2.) การผลักดันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยใช้ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย เป็นพื้นที่ทดลองแก้ปัญหาข้อติดขัด ทั้งในเชิงนโยบาย ระบบอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ควบคู่กับการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยสรุปเป็น 4 ข้อเสนอต่อรัฐบาล ”เร่งเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ“  ดังนี้

1. ปลดล็อกกฎหมายเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Law & Regulations) 

2. ผลักดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว (Green Finance) 

3. พัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Technology & Green Infrastructure) 

4. สนับสนุน SMEs เสริมศักยภาพการแข่งขัน 

“โดย 4 ข้อเสนอนี้มีความสำคัญ จำเป็นต้องขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน เอสซีจีและพันธมิตรทุกภาคส่วนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนข้อเสนอข้างต้นไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง”  ธรรมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

[ การผลักดันศักยภาพประเทศไทย เพื่อเร่งเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน ] 

‘ประเสริฐ จันทรรวงทอง’ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า รัฐบาลตั้งเป้าหมาย การปล่อยคาร์บอน เพื่อไม่ให้โลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 และในปี 2065 ตั้งเป้าให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ รวมถึงเตรียมรับมือภัยพิบัติที่เพิ่มมากขึ้น” รัฐบาลตั้งเป้าประเด็นหลัก 6 เรื่องต่อไปนี้ 

1. การจัดการทรัพยากรน้ำ 

2. ความมั่นคงทางอาหาร

3. การท่องเที่ยว

4. การสาธารณสุข

5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 

6. การตั้งถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ 

“รัฐบาลจะรับสิ่งที่ภาคเอกชนเสนอ  การขับเคลื่อนนโยบาย ‘Green Economy’ เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องให้การสนับสนุนและประคับประคอง  รวมถึงการปรับ SME ให้ทันกับเหตุการณ์ โดยรัฐบาลได้ผลักดันร่างพรบ. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ตั้งกองทุนสภาพอากาศ เราทุกคนจะร่วมกันเปลี่ยนความท้าทาย แรงกดดัน และข้อจํากัด เป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน รัฐบาลจะเร่งขับเคลื่อนทุก ๆ นโยบายสําคัญเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่การเจริญเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”  ประเสริฐ กล่าวทิ้งท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า