Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สหภาพยุโรปจัดงานผนึกกำลังเยาวชนอาเซียน-ยุโรป สร้างแผนงานสร้างเมืองที่ยั่งยืนเพื่ออนาคต หวังต่อยอดความสัมพันธ์ระดับภูมิภาคอาเซียน-ยุโรป

31 มีนาคม – 1 เมษายน 2566 สหภาพยุโรปได้จัดงาน เวทีเยาวชน EU-ASEAN เพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน เป็นเวลา 2 วัน ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 31 มีนาคม และ 1 เมษายน เยาวชนและผู้เชี่ยวชาญจาก 2 ภูมิภาคเข้าร่วมเวทีพูดคุยและเวิร์กช้อปเพื่อร่วมกันนำนำเสนอหลากหลายวิธีการที่จะเปล่งเสียงถึงบทบาทของเยาวชนในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของเมืองต่างๆ ให้ได้ยิน amplify

แผนงานรณรงค์ขับเคลื่อน หรือ campaign roadmap ได้ถูกออกแบบร่วมกันในงานครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นแนวทางตั้งต้นสำหรับตัวแทนเยาวชนในการลงมือรณรงค์สร้างความตระหนักรู้กลับไปยังเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่ ผลที่ได้จากการทำงานของเยาวชนกลุ่มนี้จะได้รับการนำเสนอในกาประชุม ASEAN Mayors Forum ในเดือนสิงหาคม 2566 

เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ตัวแทนแกนนำเยาวชนที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและหลากหลายจากภูมิภาคยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยกันที่กรุงเทพเป็นเวลา 2 วัน ในประเด็นการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน การยืนหยัดที่จะลุกขึ้นสู้แม้จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน และการเปิดช่องทางให้ปัจเจกบุคคลและกลุ่มทุกกลุ่มเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมพลเมืองได้ วงสนทนาเฉพาะกิจครั้งนี้เริ่มต้นในวันที่ 31 มีนาคม ด้วยเวทีความร่วมมือสำหรับเยาวชนและคนทำงานจากภูมิภาคอียูและอาเซียนที่ได้รับการคัดเลือก โดยมีเป้าหมายที่จะเน้นย้ำถึงศักยภาพที่ยังไม่ได้นำมาใช้ของนักแก้ปัญหารุ่นใหม่ในการออกแบบเมืองของตนเองและมองหาวิธีการรูปแบบต่างๆ ที่จะเข้าไปอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อนเชิงนโยบายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในวันที่ 1 เมษายน ผู้เข้าร่วมได้เริ่มหันมาระดมความคิดร่วมกันในเวิร์กช้อปที่สนับสนุนโดยอียูซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์แผนงานรณรงค์ที่จะขยายเสียงของเยาวชนในประเด็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนเมืองของพวกเขาให้ดังก้อง เวิร์กช้อปดังกล่าวเป็นแพลตฟอร์มในการวิเคราะห์ทำความเข้าใจกรณีศึกษาที่เยาวชนในภูมิภาคอาเซียนได้พยายามผลักดันเรื่องการพัฒนาเมือง ซึ่งนำไปสู่การพูดคุยถกเถียงที่ทำให้เห็นถึงแนวทางสร้างสรรค์ที่ผ่านมาและแบ่งปันความท้าทายในการทำงานเหล่านั้น

ข้อมูลในการพัฒนาความเป็นเมืองที่ยังไม่ได้ถูกเปิดเผยบอกไว้ว่า ในขณะที่ประชากรโลก 60 เปอร์เซนต์มีแผนที่จะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ในปี พ.ศ. 2573 หรือ ค.ศ. 2030 (ข้อมูลจากคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN Department of Economic and Social Affairs) เยาวชนคนรุ่นใหม่ก็พยายามเข้าไปมีบทบาทท้าทายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในบริบทเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้กระนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาต้องการแรงสนับสนุนเพิ่มเพื่อยกระดับการแก้ปัญหาของเมืองที่มีหัวใจอยู่บนความยั่งยืน เปิดพื้นที่ให้คนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อิกอร์ ดรีสมานส์ เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำอาเซียนเน้นย้ำถึงความท้าทายบางประการของการขยายตัวของความเป็นเมือง (urbanization) ที่ทั้งสหภาพยุโรปและอาเซียนเผชิญร่วมกัน พร้อมเพิ่มเติมอีกด้วยว่า การรณรงค์ครั้งนี้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการงานเยาวชนของกระทรวงต่างประเทศสหภาพยุโรป ปี 2022-2027 (Youth Action Plan in EU external action for 2022-2027) มีเป้าหมายที่จะเอื้อให้เยาวชนเข้าไปมีบทบาทในระดับนโยบายและการตัดสินใจ ผนึกพลังของเยาวชนด้วยทักษะและองค์ความรู้ เชื่อมร้อยให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างเยาวชนด้วยกันในสองภูมิภาคเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 

“อาเซียนหมายถึงการตระหนักร่วมกันถึงศักยภาพเต็มสตรีมของพลเมือง และนั่นรวมถึงเยาวชนด้วย” คุณ Rodora T. Babaran ผู้อำนวยการด้านการพัฒนามนุษย์แห่งประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio Cultural Community – ASCC) ภายใต้สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) กล่าว “การรณรงค์ครั้งนี้ถือเป็นการจับมือกับสหภาพยุโรปเพื่อหนุนเสริมแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 (ASEAN Socio Cultural Community Blueprint 2025) โดยตรง และนำไปสู่การเปิดช่องให้คนทุกกลุ่มเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกันและสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาสังคมและปกป้องสิ่งแวดล้อม” 

เวทีแลกเปลี่ยน 2 วันนี้ ได้บรรลุเป้าหมายสูงสุดในการหลอมรวมความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างภูมิภาคและเจเนเรชั่น บนการทำงานจริงเพื่อสร้างแผนรณรงค์ของเยาวชน เยาวชนที่เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ได้รับการส่งเสริมให้รณรงค์ตามแผนงานในเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่ มุ่งเน้นไปที่การสร้างการตระหนักรู้และการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน ผลจากการรณรงค์ในครั้งนี้จะถูกนำเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่เชิงนโยบายหรือ policy maker ในการประชุมนายกเทศมนตรีอาเซียน (ASEAN Mayors Forum) ที่จะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมปีนี้ (2566) 

นาตาเลีย กัลลิโอ สมาชิกคณะกรรมการของสภาเยาวชนยุโรป (European Youth Forum) กล่าวว่า “คนรุ่นใหม่มักจะถูกมองเฉพาะในมิติของกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในชีวิตยามค่ำคืนหรือในมิติการศึกษา แต่พวกเราถูกมองข้ามในมิติอื่นๆ 

ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เกิดขึ้นได้จริง เราจำเป็นต้องได้รับการรับฟังเพื่อการตัดสินใจในทุกมิติของการใช้ชีวิตในเมือง การสร้างความร่วมมือและเรียนรู้ระหว่างเจเนอเรชั่นเป็นกุญแจแห่งการเปลี่ยนผ่านของเมืองต่างๆให้คนทุกกลุ่มได้เข้าถึงและสร้างเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน” 

เคียร่า ยูสรี (Qyira Yusri) ผู้ประสานงานรณรงค์และแอคทีวิสต์เยาวชนจากอาเซียนได้พูดกับเยาวชนในงานครั้งนี้ไว้ว่า “พวกเราอยากให้แคมเปญครั้งนี้เป็นของเยาวชนและสร้างโดยเยาวชนอย่างแท้จริง เรามาร่วมกันที่นี่เพื่อทำให้มันสำเร็จและพร้อมจะสนับสนุนพวกคุณตลอดเส้นทาง เราตื่นเต้นกับไอเดียและการเรียนรู้ที่ได้รับจากแคมเปญนี้ในการประชุม ASEAN Mayors Forum”

ตัวแทนเยาวชน 37 คนจากสหภาพยูโรและอาเซียนที่มาร่วมงานที่กรุงเทพเป็นผู้นำชุมชนที่มีบทบาทในการพัฒนาเมือง ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ องค์กรตัวแทนในครั้งนี้มีตั้งแต่ European Youth Capital (EYC), European Youth Forum (EYJ), ASEAN Youth Forum (AYF), ASEAN Youth Organization (AYO) และ Association of Young Environmental Journalists (AYEJ) รวมไปถึงรัฐบาลทองถิ่น นักวิชาการ และองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า