SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงเวลานี้คงหนีไม่พ้นกับสินค้าจีนทะลักเข้าสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะกับของใช้ในบ้านที่เปิดขายในแทบจะทุกแพลตฟอร์ม มาพร้อมราคาที่ถูก และได้จำนวนชิ้นที่ค่อนข้างมาก เห็นได้ชัดและฮอตฮิตที่สุดจนเป็นที่กล่าวขาน คือ ‘กระดาษทิชชู’ ที่หน้าห่อมีภาษาจีนติด หนาและได้เยอะ ราคาถูกฉ่ำจนคนไทยกดเข้าตะกร้าสั่งซื้อกันรัวๆ

หรือแม้กระทั่งการเข้ามาของแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนก็เช่นกัน เข้ามาหลากหลายแบรนด์ในราคาที่สามารถเอื้อมถึงได้ และไม่ได้แค่นำเข้า แน่นอนว่าระยะยาวค่ายรถจีนทยอยเตรียมตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอีกด้วย แน่นอนว่าจีนได้สร้างมาตรฐานการกำหนดราคารถยนต์ใหม่ในประเทศไทยให้ถูกลงกว่ารถญี่ปุ่นด้วย ตามต้นทุนที่ถูกลงจนผู้บริโภคที่ซื้อไว้ก่อนหน้าต้องเผชิญกับคำว่าติดดอย

ด้วยสถานการณ์กำลังซื้อและตลาดบริโภคในจีนกำลังกระทบ จีนไม่ได้หยุดผลิตสินค้า แต่ใช้วิธีระบายสินค้าที่ตัวเองผลิตส่งออกไปขายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก สถานการณ์สินค้าจีนทะลัก หรือทุ่มตลาด ไม่ได้เกิดแค่ในไทย แต่มีขึ้นทุกมุมโลก คำถามคือ แล้วประเทศอื่นเขาจัดการกับปัญหาสินค้าจีนทะลักอย่างไร? กำหนดกำแพงเรื่องภาษีสินค้าจากจีนไว้อย่างไรบ้าง TODAYBizview พาไปดูกัน

[ ส่องดูสหรัฐอเมริกาและยุโรป ]

มาตรการป้องกันสินค้าจีนทะลักจากแต่ละประเทศ แตกต่างกันไปตามนโยบายและข้อตกลงทางการค้าของแต่ละประเทศ และถ้าหากย่อยเป็นประเทศที่มีความชัดเจนสุดคือ ‘สหรัฐอเมริกา’ แบ่งออกเป็นหลักๆ 3 ข้อ

          1. สหรัฐฯ ได้กำหนดอัตราภาษีเพิ่มเติมสำหรับสินค้าบางรายการจากจีนภายใต้มาตรการ 301 ด้วยอัตราภาษีเพิ่มเติมสูงถึง 25%
          2. สหรัฐฯ เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการลงทุนจากจีน เพื่อป้องกันการเข้าซื้อกิจการที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
          3. สหรัฐฯ จำกัดการส่งออกเทคโนโลยีที่สำคัญไปยังจีน เพื่อรักษาความได้เปรียบทางเทคโนโลยี

ตามด้วย ‘สหภาพยุโรป’ ที่มีหลักๆ 4 ข้อ

          1. สหภาพยุโรป กำหนดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนตั้งแต่ 0-17% ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า
          2. สหภาพยุโรป กำหนดอัตราภาษีเพิ่มเติมสำหรับสินค้าบางรายการจากจีนที่ถูกพิจารณาว่ามีการทุ่มตลาดหรือได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลจีน
          3. สหภาพยุโรปเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการลงทุนจากจีน เพื่อป้องกันการเข้าซื้อกิจการที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
          4. สหภาพยุโรปกำหนดกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานที่เข้มงวด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากจีน

[ ประเทศอาเซียนรับมืออย่างไร ?]

ขณะเดียวกันกลุ่มประเทศอาเซียนที่รวมถึงประเทศไทยเองไม่ได้มีมาตรการในการป้องกันสินค้าจีนที่ทะลักอย่างชัดเจนเท่าไหร่นัก เพราะกลุ่มประเทศอาเซียนมีเรื่องของ ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าหลายรายการ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นประเทศสมาชิกยังสามารถใช้มาตรการปกป้อง (safeguard measures) ได้ในกรณีที่สินค้าจีนทะลักเข้ามาจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศได้

นอกจากนี้กลุ่มประเทศอาเซียนยังสามารถใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping) และการอุดหนุน (countervailing) ใช้เพื่อเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่ถูกขายในราคาต่ำกว่าราคาตลาด หรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลจีน เพื่อให้สินค้าเหล่านี้มีราคาที่แข่งขันได้กับสินค้าที่ผลิตในประเทศได้

จะเห็นได้ว่าในแง่ของมาตรการทางภาษีที่จะใช้ควบคุมสินค้าจีนทะลักของกลุ่มประเทศอาเซียนมีเพียงไม่กี่วิธีเท่านั้น ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นการกำหนดมาตรการแก้ไขสินค้าจีนทะลักของในแต่ละประเทศขึ้นเอง เช่น กำหนดคุณภาพสินค้า จำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้าจากจีน หรือส่งเสริมการลงทุนในประเทศ

แต่ก็ใช่ว่าจะทำสำเร็จ เพราะถ้าหากอ้างอิงจากสถานการณ์ปัจจุบันที่สินค้าจีนทะลักเข้าไทยรวมถึงการเข้ามาตั้งฐานการผลิตของนายทุนจีนแล้วละก็เราคงได้เห็นสินค้าจีนทะลักเข้าไทยมาอีกเรื่อยๆ หากจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ก็คงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่หนักแน่นและชัดเจนกว่านี้สักหน่อย..

ที่มา

          • https://crsreports.congress.gov/product/pdf/IF/IF11346
          • กรมการค้าระหว่างประเทศ
          • https://single-market-economy.ec.europa.eu/system/files/2024-01/EconomicBrief_4_ETBD_23_004ENN_V2.pdf

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า