SHARE

คัดลอกแล้ว

ร้านเครื่องดื่มสีส้มเด่นกว่า 19 สาขากับชื่อร้านจำง่าย “ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน” จากเบื้องหลังไอเดียของ ‘วิว – พันธ์ทิพย์ ดีเจริญ’ เจ้าของร้านคนรุ่นใหม่วัย 20 นิดๆ วิธีการคิด การสร้างแบรนด์ตลอด 2 ปี เธอทำอย่างไรถึงประสบความสำเร็จ และสร้างยอดขายถึง 1 ล้านแก้วไปเมื่อ 10 มีนาคมที่ผ่านมา

บทสัมภาษณ์นี้ TODAY Bizview จะพาไปรู้จักกับ วิว-พันธ์ทิพย์ และแบรนด์ชื่อเก๋แบรนด์นี้มากขึ้น จากเดย์ 1 ที่เริ่มธุรกิจคาเฟ่ จนถึงวันที่ตกตะกอนจากอินไซต์เกี่ยวกับพฤติกรรมคนไทยที่ชอบดื่ม ‘ชาเย็น’ ทุกๆ วันไม่ต่างกับกาแฟ และกลายมาเป็นธุรกิจน้องเล็กที่มียอดขายทะลุ 100 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อย

[ ทำธุรกิจต้องแตกต่าง มองหาโอกาสในตลาด Red Ocean ]

วิว-พันธ์ทิพย์ เล่าว่า จากเดิมก่อนที่จะมีร้านฉันจะกินชาเย็นทุกวัน เธอได้เปิดร้านคาเฟ่มาก่อน แต่พอมันเริ่มเป็น Red Ocean หนึ่งในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากในประเทศไทย เธอจึงเริ่มมองหาทางรอดอื่น

“ตอนนั้นเราเริ่มมองหาว่าจะเป็นโปรดักส์อะไรดี ที่ยังมีผู้เล่นน้อย แต่ยังมีดีมานด์อยู่ มันก็คือ ‘ชาเย็น’ นี่แหละ ซึ่งเราเองก็มีอยู่แล้วด้วย บวกกับอินไซต์ลูกค้าที่น่าสนใจก็คือ ลูกค้าทาน(ชาเย็น) ทุกวัน มีการ repeat ซื้อซ้ำทุกวัน”

“เรามองว่ามันเป็นพฤติกรรมของลูกค้าเลย เราก็เลยหยิบชาเย็นมาเป็นเหมือน big idea ที่จะขยายไปอย่างอื่นต่อ ไม่ใช่แค่เครื่องดื่มอย่างเดียว”

“หลักๆ คือเราต้องรู้ก่อนว่า เราจะขายใคร”

เธอเล่าว่า ด้วยความที่คนซื้อชาเย็นทุกวัน เลยหยิบมาเป็นชื่อร้าน “ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน” เพราะคิดว่าเป็นชื่อที่เหมาะ สื่อสารง่าย แม้ว่าชื่ออาจจะเหมือนขายเฉพาะเครื่องดื่ม แต่ความจริงไม่ใช่

‘ชาเย็น’ คำๆ นี้สำหรับ วิว-พันธ์ทิพย์ มันคือสี, กลิ่น, รสชาติ, น้ำ อะไรก็ได้ที่สามารถ transform ไปเมนูอื่นได้ ทั้วที่เป็นขนม เครื่องดื่ม หรือ non-foods ก็ด้วย

“เราเน้นทำแบรนด์ดิ้งชัดขึ้น ทำให้ชาเย็นเข้าถึงง่าย เรามองคำว่า ‘ครีเอทีฟ’ มันไม่มีวันสิ้นสุด มันมีความแปลกใหม่ไปเรื่อยๆ คือเราสามารถดิ้นได้ในทุกโอกาส”

“โจทย์หลักของการทำแบรนด์ดิ้งก็คือ ทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าจำได้ ลูกค้าต้องเข้าใจว่าเราขายอะไร พอรู้แล้วว่าจะขายให้ใคร ก็ต้องรู้ว่า ควรสื่อสารแบบไหน ใช้คำพูดแบบไหน  หรือใช้สีอย่างไร”

[ อยากยืนระยะนาน ธุรกิจต้องอยู่ในสายตาลูกค้าตลอด ]

ยอดทราฟฟิกต่อวันของร้านฉันจะกินชาเย็นทุกวัน (สาขาบรรทัดทอง) เฉลี่ยแล้วตกวันละประมาณ 1,000 แก้ว ซึ่งสาขาอื่นอีก 18 สาขาที่เหลือก็ลดหลั่นตามกันไปขึ้นอยู่กับโลเคชั่นและช่วงเวลา แต่โดยเฉลี่ยแล้วยอดขายต่อวันก็ไม่หนีกันมาก

ยิ่งไม่กี่สัปดาห์ก่อน ฉันจะกินชาเย็นทุกวันเพิ่งฉลองยอดขาย 1 ล้านแก้วในรอบ 2 ปีตั้งแต่ที่ทำธุรกิจมา ถือว่าเป็นแบรนด์น้องใหม่ในตลาดที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างเร็ว

ส่วน Basket Size ต่อคน อยู่ที่ประมาณ 150 บาท เพราะตอนนี้ธุรกิจไม่ได้มีเครื่องดื่ม แต่มีขนมด้วย

“เทรนด์ธุรกิจอาหารถือเป็นความท้าทายมากๆ เพราะมาเร็วก็ไปเร็ว สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เราต้อง stand อยู่ในโซเชียลให้ได้นานๆ ทำให้ลูกค้าเห็นเราอยู่เรื่อยๆ พยายามหาโปรดักส์ใหม่ ออกแคมเปญใหม่สม่ำเสมอ”

“อาจจะทำหลายๆ วิธี เช่น การไป collab กับแบรนด์อื่น, สร้าง Wow Moment ให้ลูกค้าได้เห็นเราอยู่สม่ำเสมอในโซเชียล”

ทั้งยังเล่าถึงแบรนด์แรกที่ทำ collab กันก็คือ ‘Haab’ ซึ่งเป็นขนมไส้ชาเย็น และได้ผลตอบรับค่อนข้างดี

เธอมองว่า การประเมินว่าเราไม่มีศักยภาพด้านไหนบ้าง แล้วร่วมมือกับแบรนด์อื่นที่ถนัดกว่า หรือใช้วิธี co-marketing ด้วยกัน อาจจะทำให้แบรนด์ถึงฝั่งฝันเร็วกว่าที่ลงมือทำเอง

“การทดลองการตลาดของเรามที่ผ่านมา มีทั้งเฟลและไม่เฟล แต่มันไม่ใช่เรื่องผิด เราแค่ต้องการให้ลูกค้ามี extension กับเรามากขึ้น พอมันเฟล เราก็แค่ปรับปรุงใหม่”

นอกจากนี้ วิว-พันธ์ทิพย์ ยังพูดถึงการบาลานซ์ระหว่าง ‘กำไร’ กับ ‘แบรนด์ดิ้ง’ ว่าบางครั้งมันต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการทำเพื่อสร้างการรับรู้บางทีก็ต้องยอมรับว่า สิ่งนั้นอาจจะไม่สร้างกำไรให้เราเลยก็ได้

อย่างไรก็ตาม หากสุดท้ายจะเฟลทั้ง 2 ด้าน ขาดทุนไม่พอ ยังกระตุ้นการรับรู้ไม่ได้อีก ก็คงต้องถือว่าเป็น ‘บทเรียน’ ที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตกตะกอนได้เอง

“สำหรับวิวคือ เราต้องเดาไปเรื่อยๆ เพราะว่าไลฟ์สไตล์กับพฤติกรรมลูกค้ามันคาดเดาไม่ได้เลย”

[ แพลนปี 2025 และในอนาคต ]

-ปี 2025 เป็นการขยายสาขาตาม ‘หัวเมืองใหญ่’ อย่างค่อยเป็นค่อยไป

-2025 ปีแห่งการพัฒนาเมนูใหม่

-ปีนี้จะมีการทำ collaboration เหมือนเดิม เพิ่มเติมอาจจะว๊าวกว่าเดิม

-เน้นการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น

-เป็นปีที่สินค้าของ ‘ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน’ วางขายบนแพลตฟอร์ม E-Marketplace เช่น Shoppe, LAZADA

-ในอนาคตอาจจะมีการทำธุรกิจแบบ B2B โดยฉันจะกินชาเย็นทุกวัน จะเป็นวัตถุดิบ (Raw Material) ให้กับแบรนด์อื่น

เจ้าของกิจการ ‘ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน’ ยังแชร์ด้วยว่า ในอนาคตลูกค้าจะมองหา comfort food มากขึ้น เป็นความเบสิคที่ไม่เบสิค ซึ่งสำหรับวิว-พันธ์ทิพย์ มองว่า การตีโจทย์และกลุ่มเป้าหมายชัดเจน จะทำให้เราโฟกัสทิศทางธุรกิจได้ง่าย

อย่างที่เธอเลือกที่จะ โฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีไปเลย ซึ่งเธอเปรียบเทียบว่า คล้ายกับการอ่านหนังสือคือ เลือกวิชาใดวิชาหนึ่งแล้วเรียนให้เก่งไปเลย ดีกว่าอ่านหนังสือเป็น 10ๆ วิชาเพื่อให้ตัวเองเก่ง ซึ่งเธอคงไม่ถนัดแบบนั้น

ก็น่าจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมเธอเลือกที่จะขยายแบรนด์ใหม่ชื่อว่า ‘เข้ม’ ซึ่งโฟกัสที่น้ำกาแฟโบราณ และโกโก้สำหรับคนที่ชอบความเข้มข้มตามชื่อร้าน โดยเป็นการสร้างบทบาทให้กับเครื่องดื่มประเภทนี้ในชื่อแบรนด์ใหม่ มากกว่าจะที่ add-on เมนูเข้ามาที่ร้านฉันจะกินชาเย็นทุกวัน เพราะมันอาจส่งผลเสียมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องแบรนด์ดิ้ง และกลุ่มลูกค้าที่ไม่ตรงจุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า