SHARE

คัดลอกแล้ว

explainer ถอดบทเรียนภูฏาน ฉีดวัคซีน 93% ใน 2 สัปดาห์ อาจฟังดูน่าเหลือเชื่อ แต่ประเทศอย่าง ‘ภูฏาน’ ที่ปัจจุบัน UN ยังจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่สุด (least developed countries) กลับเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จที่สุดในการฉีดวัคซีนโควิด-19

ภูฏานใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนให้กับประชากรผู้ใหญ่ 93% หรือเท่ากับ 62% ของประชากรทั้งประเทศเทียบเท่ากับอิสราเอล ภูฏานทำอย่างนี้ได้ ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรน้อย (ภูฏานมีประชากรประมาณ 7.71 แสนคน) แต่เกิดจากทั้งความพร้อมในระบบการกระจายวัคซีน ผู้นำมีความจริงใจและวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหา รวมถึงมีความโชคดีเล็กๆ จากสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศด้วย

เรื่องแรก ภูฏานให้ความสำคัญอย่างมาก กับการ ‘สร้างความเชื่อมั่น’ ในการฉีดวัคซีนให้ประชากรในประเทศ

ในฐานะที่เป็นเมืองพุทธ ประชากรของภูฏานกว่า 75% นับถือพุทธศาสนา ภูฏานใช้ประโยชน์จากความเชื่อนี้ โดยการเลือก ‘ฤกษ์’ ที่ดีในการเริ่มต้นแคมเปญฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วประเทศ
โดยภูฏานได้รับวัคซีนล็อตแรก 1.5 แสนโดสมาตั้งแต่เดือน ม.ค. แต่ภูฏานกลับยังไม่เริ่มฉีดวัคซีนทันที และรัฐบาลได้ไปปรึกษาคณะสงฆ์สูงสุดของประเทศ (Zhung Dratshang) และได้รับคำแนะนำกลับมาว่า ช่วงวันที่ 14 ก.พ. – 13 มี.ค. นั้นไม่ใช่ฤกษ์ที่ดีในการฉีดวัคซีน

คณะสงฆ์สูงสุดของภูฏานบอกว่าฤกษ์ที่ดีสำหรับการเริ่มฉีดวัคซีนคือวันที่ 27 มี.ค. และต้องฉีดให้กับผู้ที่เกิดในปีวอกเป็นคนแรก ดังนั้นในวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา เวลา 9 โมงครึ่งตรงตามเวลาของภูฏาน นางสาวนินดา เดม่า (Ninda Dema) ซึ่งเกิดในปีวอก ก็ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก โดยพยาบาลที่ฉีดวัคซีนให้เธอก็เกิดปีวอกเช่นกัน และในระหว่างการฉีดวัคซีนก็มีพระสงฆ์มาสวดมนต์พร้อมกันไปด้วย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อฤกษ์อันดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวพุทธในภูฏาน

หลังจากนั้น นพ.เลโท เชอร์ริ่ง (Lotay Tshering) นายกรัฐมนตรีของภูฏาน และครอบครัวก็ฉีดวัคซีนเป็นลำดับถัดมา สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศย้ำเข้าไปอีก
และเพียงในวันแรกที่เริ่มการฉีดวัคซีน ภูฏานก็สามารถฉีดวัคซีนโดสแรกให้กับประชาชนในประเทศกว่า 85,000 คน หรือคิดเป็นกว่า 11.14% ของประชากรทั่วประเทศ

แต่ฤกษ์ดีที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนเพียงอย่างเดียว ก็คงไม่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จในการฉีดวัคซีนแบบที่ภูฏานทำได้ โดยปัจจัยที่สองที่ทำให้ภูฏานประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ ก็เนื่องมาจากโครงสร้างและระบบการจัดส่งวัคซีนที่มีอยู่ก่อนแล้วในประเทศ โดยในช่วงปี 1990 ภูฏานเคยต้องระดมฉีดวัคซีนให้คนในประเทศมาแล้วครั้งหนึ่ง

ระบบการขนส่งสินค้าที่ต้องเก็บในที่เย็น (cold chain logistics) ที่ภูฏานมีอยู่แล้ว บวกกับความเชี่ยวชาญของบุคคลากรที่เคยผ่านประสบการณ์การทำแคมเปญฉีดวัคซีนทั่วประเทศมาแล้วครั้งหนึ่ง ทำให้การกระจายวัคซีนโควิด-19 อย่างรวดเร็วในครั้งนี้เป็นไปได้

แต่นอกเหนือจากระบบขนส่งที่ดีแล้ว ก็ยังต้องชื่นชมความเสียสละของบุคคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัครหลายพันคนที่ช่วยกันทำให้การฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างรวดเร็วเช่นนี้เกิดขึ้นได้ด้วย เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศที่อยู่บนภูเขา และหลายพื้นที่ก็ไม่มีถนนที่รถยนต์วิ่งถึง ในหลายพื้นที่หมอและพยาบาลกว่า 3,300 และอาสาสมัครอีกกว่า 4,400 คน ต้องใช้วิธีเดินเท้าหลายชั่วโมง เพื่อไปให้ถึงชุมชนห่างไกลที่อยู่บนภูเขาสูง
สำหรับในพื้นที่ที่การเดินเท้าเป็นไปได้ยากลำบาก เช่นอาจมีหิมะปกคลุมเยอะเกินกว่าจะเดินไปได้ ภูฏานก็จัดให้มีเฮลิคอปเตอร์บินนำวัคซีนโควิด-19 ไปส่งให้ถึงพื้นที่นั้นๆ เลย

ด้วยระบบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เลยทำให้ภูฏานสามารถฉีดวัคซีนได้ถึง 469,664 โดส หรือคิดเป็นกว่า 85% ของประชากรผู้ใหญ่ ได้สำเร็จภายใน 7 วันแรกเท่านั้น และตัวเลขนี้ในปัจจุบันอยู่ที่สูงกว่า 93%
แต่ความสำเร็จในการฉีดวัคซีนของภูฏาน ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากภูฏานไม่มีวัคซีนให้ฉีดตั้งแต่ต้น สำหรับเรื่องนี้ก็ต้องบอกว่าภูฏานโชคดี โดยถึงวันนี้ภูฏานได้รับวัคซีน Covishield (วัคซีนของ AstraZeneca แต่ผลิตในประเทศอินเดีย) จากประเทศอินเดียแล้วรวมกว่า 550,000 โดส (และอีก 5,900 โดสของ Pfizer ผ่านโครงการ COVAX)

ที่บอกว่าโชคดีก็เนื่องมาจากว่า ภูฏานมีชายแดนติดกับทั้งจีนและอินเดีย และการที่อินเดียมอบวัคซีนกว่า 5 แสนโดสดังกล่าวให้ภูฏานฟรีๆ นั้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อสู้กับอิทธิพลของจีนที่กำลังแข็งแกร่งขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้

ในประเด็นนี้ The Economist ได้วิเคราะห์เอาไว้ด้วยว่า การที่ภูฏานไม่เริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่ได้วัคซีนมาจากอินเดียก่อนล็อตแรกจำนวน 150,000 โดส แต่รอฉีดทีเดียวในช่วงปลายเดือน มี.ค. เมื่อมีวัคซีนครบ 550,000 โดสแล้ว ส่งผลดีต่อการจัดหาวัคซีนล็อตต่อไปของภูฏานด้วย โดยถือเป็นการกดดันให้อินเดียต้องรีบส่งวัคซีนล็อตต่อไปมาให้ เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ประชากรของภูฏานต้องได้รับการฉีดวัคซีนโดสที่สองในอีก 8-12 สัปดาห์หลังเข็มแรก

ดังนั้น การรอฤกษ์ฉีดวัคซีนของภูฏานที่กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น จึงส่งผลดีต่อการจัดหาวัคซีนล็อตต่อไปของภูฏานไปอย่างไม่ตั้งใจด้วย

และปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้ข้อที่ผ่านๆ มา ก็คือการที่ผู้นำทางการเมืองของภูฏานให้ความสำคัญอย่างแท้จริงกับการแก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 โดยถึงวันนี้ ภูฏานมีผู้ป่วยโควิด-19 สะสมแค่ 957 คนเท่านั้น และมีผู้เสียชีวิตเพียง 1 ราย

ทั้งนี้ ภูฏานเริ่มปิดประเทศอย่างจริงจังตั้งแต่พบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในเดือน มี.ค. 2020 และกำหนดให้ชาวภูฏานที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศต้องกักตัว 21 วันทุกคนไม่มีข้อยกเว้น แม้แต่ นพ.เลโท เชอร์ริ่ง นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางไปเยี่ยมประเทศบังคลาเทศอย่างเป็นทางการ เมื่อกลับมาภูฏานก็ต้องกักตัว 21 วันโดยไม่ได้รับการยกเว้น หรือกระทั่งกษัตริย์จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyel Wangchuk) เอง ก็ยังต้องทรงกักตัวพระองค์เอง 7 วัน หลังจากเสด็จกลับจากจังหวัดทางใต้ของประเทศ

และก็เหมือนอย่างที่ อลิซาเบธ แจ็คสัน (Elizabeth Jackson) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารซัพพลายเชน ได้เคยให้สัมภาษณ์สำนักข่าว abc ของออสเตรเลียไว้ว่า ในการมองความสำเร็จของภูฏานนั้น เรามักโฟกัสไปที่ด้านระบาดวิทยาของการกระจายวัคซีน “แต่มักลืมความสำคัญของการนำที่เข็มแข็ง การตัดสินใจอย่างเด็ดขาดและรวดเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นว่าเกิดขึ้นในภูฏาน”

ทั้งหมดนี้จึงทำให้เห็นว่า ความสำเร็จในการกระจายวัคซีนอย่างกว้างขวางของภูฏาน ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นเพราะต้นทุนความพร้อมของประเทศที่มีอยู่ก่อน บวกกับความมุ่งมั่นของผู้นำทางการเมือง รวมถึงการรู้จักใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ เมื่อสามารถนำปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้มาผนวกเข้าด้วยกัน ภูฏานจึงสามารถสร้างความสำเร็จให้ทั่วโลกได้เห็นเป็นประจักษ์ในเรื่องวัคซีนนี้ได้

ที่มา :
https://www.nytimes.com/…/asia/bhutan-vaccines-covid.html
https://www.npr.org/…/the-advantage-of-our-smallness…
https://apnews.com/…/asia-pacific-coronavirus-pandemic…
https://www.abc.net.au/…/bhutan-had-one-of…/100069540
https://www.telegraph.co.uk/…/bhutan-managed-vaccinate…/
https://www.economist.com/…/bhutan-vaccinated-almost…
https://www.washingtonpost.com/…/04/14/bhutan-vaccines/
https://unctad.org/topic/least-developed-countries/list

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า