Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในปัจจุบัน โซเชียลมีเดียต่างแทรกซึมเข้าไปในเกือบทุกอณูของชีวิตคนเรา ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงและติดต่อกับผู้อื่นได้เหนือสถานที่และกาลเวลา การรับรู้ข่าวสารประจำวัน และอื่น ๆ  จนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าจะเอาเวลาไปทำอะไร เมื่อต้องหยุดใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ อินสตาแกรม เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันหลายวัน 

 เมื่อเร็ว ๆ นี้มีกระแสข่าวมากมายที่กระทบต่อภาพลักษณ์ของเฟซบุ๊ก แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดแพลตฟอร์มหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีเคมบริดจ์ อนาไลติกา หรือ การแอบฟังผู้ใช้งานผ่านเฟสบุ๊กเมสเซนเจอร์ (Facebook messenger) ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าการใช้โซเชียลมีเดียส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากเพียงใด และจากกรณีต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดข้อเสนอว่าผู้คนควรยุติการใช้เฟซบุ๊กหรือใช้เวลากับเฟซบุ๊กให้น้อยลง 

จากการศึกษาผ่านนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวนกว่า 1,769 คน พบว่า ในกลุ่มนักศึกษาที่ทดลองหยุดใช้เฟซบุ๊กเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์นั้น จะได้รับข่าวสารน้อยลง มีสุขภาพที่ดีขึ้น และมีการประเมินมูลค่าของเฟซบุ๊กสูงขึ้นกว่าร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่ยังไม่ได้มีการหยุดใช้เฟซบุ๊ก 

บทความทางวิชาการที่ทำการศึกษาข้างต้นมีชื่อว่า  The economic effects of Facebook ซึ่งเพิ่งถูกเผยแพร่

ในวารสารเศรษฐศาสตร์เชิงทดลองระหว่างประเทศในในอาทิตย์นี้ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมีคณะผู้ศึกษาคือโรแบร์โต โมสเกรา จากมหาวิทยาแห่งอเมริกาของเอกวาดอร์ (Ecuador’s Universidad de las Americas) โมฟิโอลูวาซาเดมิ โอดูโนโว เทรนท์ แมกนามารา เสี่ยวเฟ่ย โกว และ เรแกน แพทรี จากมหาวิทยาลัยเทกซัส เอแอนด์เอ็ม โดยเป็นการมุ่งศึกษามูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการใช้เฟซบุ๊กสำหรับผู้ใช้งานและผลกระทบเกี่ยวกับการรับรู้ข่าวสาร สุขภาพ และกิจกรรมทั่วไป 

การศึกษาจะแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มนักศึกษาที่ต้องหยุดใช้เฟซบุ๊กเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มสามารถใช้งานเฟซบุ๊กได้ตามปกติ และหลังจากนั้นคณะวิจัยจะให้นักศึกษาในแต่ละกลุ่มประเมินมูลค่าของเฟซบุ๊กอีกครั้งหลังจากการทดลอง 

โดยปกติแล้วผู้กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาเล่นเฟซบุ๊กเฉลี่ย 1.9 ชั่วโมงต่อวัน โดยจะใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาทีในการติดตามข่าวสารต่าง ๆ บนเฟซบุ๊ก 

ผลจากการทดลองหยุดใช้เฟซบุ๊ก 

จากการศึกษา พบว่ากลุ่มนักศึกษาที่หยุดใช้เฟซบุ๊กเป็นการชั่วคราว มีการรับรู้ข่าวสารที่ลดน้อยลง และ

ไม่ได้ทดแทนการติดตามข่าวสารจากเฟซบุ๊ก ด้วยการติดตามข่าวสารจากช่องทางดั้งเดิม (Traditional Media) เช่น สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือ วิทยุ 

“โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มหยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวบริโภคข่าวสารได้น้อยลง โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 0.64 (ค่าความน่าจะเป็น <0.05) และผลการศึกษานี้ครอบคลุมไปถึงข่าวทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ข่าวกีฬา การเมือง หรือการรายงานสภาพอากาศ” 

นอกเหนือจากการได้รับข่าวสารน้อยลงแล้ว นักศึกษาในกลุ่มที่หยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราว ยังพบว่าตนเองมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือมีกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ไปรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง มีแรงจูงใจในการซื้อสิ่งต่าง ๆ น้อยลง และใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น อีกทั้งยังพบว่าการหยุดใช้เฟซบุ๊กยังทำให้มีความเครียด หรือ ความกดดันดันลดน้อยลงอีกด้วย

ผลการศึกษาของเราชี้ว่าการใช้เฟซบุ๊กทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ คณะผู้ศึกษายังกล่าวอีกว่า สาเหตุที่นักศึกษาที่หยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวมีความเครียดลดลงอาจเป็นเพราะพวกเขาได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น และอาจจะเป็นเพราะพวกเขาอ่านข่าวหรือรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ น้อยลง 

ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น ผู้ที่หยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวเป็นระยะเวลา  1 สัปดาห์ได้ประเมินคุณค่าของเฟซบุ๊กเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงก่อนที่ยังไม่ได้หยุดใช้ถึงร้อยละ 20 ซึ่งคณะผู้ศึกษาได้อธิบายผลการศึกษาดังกล่าวไว้ว่าเป็นเพราะ การใช้เฟซบุ๊กนั้นก่อให้เกิดการเสพติด (addiction) ทำให้เมื่อให้หยุดใช้นานเท่าไหร่ คนที่เข้าร่วมการศึกษาจะยิ่งประเมินมูลค่าของเฟซบุ๊กเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เพราะมีความอยากกลับไปใช้เพิ่มสูงขึ้น

หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น กลุ่มตัวอย่างต้องการค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นสำหรับการหยุดใช้เฟซบุ๊กอีกหนึ่งอาทิตย์ หรือ เหตุผลที่ว่าการมีอารมณ์ที่ดีขึ้นหรือการมีสุขภาพที่ดีขึ้นไม่สามารถทดแทนการเข้าถึงข่าวสารที่น้อยลงได้ 

ผลการศึกษาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ NYU ที่เพิ่งเผยแพร่ไปเมื้อต้นปีนี้ ที่ศึกษาพบว่าผู้ใช้ที่หยุดใช้เฟซบุ๊กมีสุขภาพที่ดีขึ้นและรับรู้ข่าวสารได้น้อยลง

การตระหนักรู้ในข่าวสาร  

นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการหยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวและการประเมินมูลค่าของเฟซบุ๊กแล้วนั้น คณะผู้ศึกษายังได้วัดการตระหนักรู้เกี่ยวกับข่าวของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีวิธีการศึกษาดังต่อไปนี้ 

ก่อนหน้าที่จะทำการสำรวจหนึ่งสัปดาห์ คณะผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมพาดหัวข่าวของข่าวหน้าหนึ่งของสำนักข่าวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของสหรัฐอเมริกาจำนวน 11 สำนักข่าว เช่น หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ หนังสือพิมพ์เดอะวอร์ชิงตันโพส และหนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ เป็นต้น และรวบรวมพาดหัวข่าวของ เบรตบาร์ตนิวส์ (Breitbart news) สำนักข่าวฝ่ายขวาสุดโต่งของสหรัฐอเมริกา เป็นตัวแทนของสำนักข่าวที่มีการพาดหัวข่าวแบบบิดเบือน โดยในช่วงนั้นที่ทำการรวบรวมนั้นไม่มีข่าวที่เป็นเหตุการณ์ไม่ปกติ อย่าง การกราดยิงครั้งใหญ่ หรือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

จากนั้นกลุ่มตัวอย่างจะได้อ่านพาดหัวข่าวของ 6 สำนักข่าวกระแสหลักที่ถูกเลือกมาโดยการสุ่ม และอีกหนึ่งพาดหัวข่าวจากสำนักข่าวที่มักจะบิดเบือนหัวข้อข่าวหรือเนื้อหาของข่าว หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมการศึกษาต้องทำแบบทดสอบโดยจะถูกถามว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจริง โดยพาดหัวข่าวของสำนักข่าวกระแสหลัก 2 ข่าวจะถูกเปลี่ยนเล็กน้อย แต่พาดหัวข่าวที่เหลือได้ปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ จริง 

ผลการศึกษาจากการแบบทดสอบเกี่ยวกับการตระหนักรู้ของข่าวของนักศึกษาที่หยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวพบว่า “การหยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวไม่มีผลกระทบกับการตระหนักรู้ของข่าวที่มาจากสำนักข่าวกระแสหลัก” กล่าวคือ เมื่อถามนักศึกษากลุ่มดังกล่าวว่า พาดหัวข่าวของสำนักข่าวกระแสหลักนั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่ การหยุดใช้เฟซบุ๊ก ไม่ได้ทำให้พวกเขาตอบถูกมากขึ้นหรือน้อยลง 

แต่ในกรณีของสำนักข่าวที่มักจะมีพาดหัวข่าวที่บิดเบือน เช่น เบรตบาร์ตนิวส์พบว่า “กลุ่มนักศึกษาที่หยุดใช้เฟซบุ๊กหนึ่งสัปดาห์ร้อยละ 22.1 มีแนวโน้มที่ไม่มั่นใจเกี่ยวกับพาดหัวข่าวของสำนักข่าวเบรตบาร์ต ทั้งข่าวปกติทั่วไป และข่าวการเมือง”

กล่าวในอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่หยุดใช้เฟซบุ๊กหนึ่งอาทิตย์มีความสามารถในการแยกแยะข่าวปลอมเท่ากับก่อนหน้าที่ไม่ได้หยุดใช้ แต่กลับมีความมั่นใจน้อยลงเกี่ยวกับพาดหัวข่าวหรือข่าวของสำนักข่าวที่บิดเบือนอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะตอบคำถามว่า “ไม่รู้” (ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่) มากกว่าให้คำตอบที่แน่ชัด

ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับคำถามที่ใช้ถามผู้เข้าร่วมการศึกษา สามารถเข้าไปอ่านได้ ที่นี่ 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า